บริหารธุรกิจอินเตอร์ ม.รังสิต

บริหารธุรกิจอินเตอร์ ม.รังสิต

บริหารธุรกิจอินเตอร์ ม.รังสิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่มา " การศึกษาวันนี้ " ผู้เขียน : ปิยะนุช zorau5818@yahoo.com ดูแลใกล้ชิด ผลิตบัณฑิตคุณภาพ อ.อุษณีย์ มะลิสุวรรณ ที่ผ่านมาแนะนำหลักสูตรน่าเรียนที่เป็นภาษาไทยมาก็มากแล้ว สัปดาห์นี้ขอแนะนำหลักสูตรนานาชาติกันบ้างดีกว่า หลักสูตรที่ว่านี้ก็คือ บริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต หลักสูตรนานาชาติที่กำลังได้รับความสนใจในอันดับต้น ๆ จากน้อง ๆ วัยทีนในปัจจุบัน อาจารย์อุษณีย์ มะลิสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ข้อมูลกับ การศึกษาวันนี้ ว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ในอนาคตจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับทุกคณะในมหาวิทยาลัยรังสิต ณ ปัจจุบัน วิทยาลัยนานาชาติมีสาขาวิชาที่ต้องดูแลและบริหารงานเองอยู่ 3 สาขาวิชา ได้แก่ บริหารธุรกิจ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และการจัดการการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้ในสาขาการจัดการการท่องเที่ยว ได้แยกออกไปอยู่กับหลักสูตรนานาชาติของ CHN University เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกสองสาขาวิชาอย่าง นิเทศศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ อยู่ภายใต้การดูแลของคณะนิเทศศาสตร์เอง แต่จะมีบางรายวิชาเท่านั้นที่ต้องมาเรียนที่วิทยาลัยนานาชาติ เช่น วิชาการสื่อสารทั่วไป และวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคภาษาอังกฤษ ก็อยู่ภายใต้การดูแลของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศเองเช่นกัน และจะมีบางรายวิชาที่ต้องมาเรียนกับวิทยาลัยนานาชาติเช่นกัน ส่วนในเรื่องของกิจกรรมต่าง ๆ นักศึกษาในหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษของทุกสาขาวิชา จะได้มาทำกิจกรรมร่วมกันที่วิทยาลัยนานาชาติของเรา

ศึกษาต่อ, เรียนต่อ

เมื่อทั้ง 5 สาขาวิชานี้แยกตัวออกไปอยู่กับคณะของตนเองเรียบร้อยเมื่อใด วิทยาลัยนานาชาติก็จะกลายเป็นเซ็นเตอร์ที่ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาในส่วนกลางที่ทุกคณะจะต้องเรียน แต่สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ ยังไม่มีคณะรองรับอย่างชัดเจน เนื่องจากสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศในคณะบริหารธุรกิจยังไม่เปิดสอนในปัจจุบัน ดังนั้นหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ จึงยังไม่สามารถถ่ายโอนไปยังคณะบริหารธุรกิจได้ ณ ปัจจุบันยังต้องขึ้นกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อถามถึงจุดเด่นของหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต ความโดดเด่นคงจะอยู่ที่เรื่องของความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลในการศึกษาต่อแบบครบวงจร ด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง และจากความใกล้ชิดระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเช่นนี้ ทำให้นักศึกษามั่นใจได้ว่าตนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ และเมื่อนักศึกษาเกิดปัญหาขึ้นมา ทางหลักสูตรสามารถช่วยเหลือหรือช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ที่ผ่านมาผู้ปกครองและนักศึกษาพอใจกับการเรียนการสอนและการให้บริการของเรามาก จนเกิดการบอกต่อ ทำให้มีผู้สนใจสมัครเข้ามาเรียนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยรังสิตมากขึ้นเรื่อย ๆ

ศึกษาต่อ, เรียนต่อ

เพราะถ้าจะพูดไปแล้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ ของแต่ละมหาวิทยาลัยแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ดังนั้นข้อได้เปรียบในปัจจุบันน่าจะขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาของทางหลักสูตรเป็นสำคัญ ที่นี่ถ้านักศึกษามีปัญหาในเรื่องของเวลาเรียนไม่ลงตัว ทางหลักสูตรจะช่วยเหลือนักศึกษาอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นจะต้องไม่กระทบต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปด้วย การที่หลักสูตรจะช่วยเหลือนักศึกษานั้น จะเป็นในเรื่องของการยืดหยุ่นเวลาเรียนหรือจัดตารางเรียนให้เหมาะสมกับนักศึกษาคนนั้น แต่ไม่ใช่ว่าทางหลักสูตรจะทำอย่างนี้ให้กับนักศึกษาทุกคน เราจะดูจากความจำเป็นและเหตุผลของนักศึกษาเป็นกรณีไป

ม.รังสิต

สำหรับคนที่สนใจจะมาเรียนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต จะต้องนำผลคะแนน IELTS 6 มายื่นให้ทางหลักสูตร หรือถ้าใครที่ยังไม่มีผลคะแนนดังกล่าว ก็สามารถมาสอบกับทางสถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ หลังจากที่สมัครเรียนเรียบร้อยแล้ว ผู้สมัครจะต้องผ่านด่านการสอบข้อเขียน สอบเขียน essay (2 ชั่วโมง) และสอบสัมภาษณ์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จภายใน 1 วัน เด็ก ๆ สามารถรู้ผลในวันนั้นได้เลยว่าตนเองสอบผ่านหรือไม่ ใน 1 ปีทางหลักสูตรจะเปิดการเรียนการสอนในระบบไตรภาค คือ ใน 1 ปี จะมี 3 เทอม เทอมแรกจะเปิดเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม ส่วนเทอมที่ 2 จะเปิดเรียนในช่วงเดือนกันยายน และเทอมที่ 3 เทอมสุดท้าย จะเปิดเรียนในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งในแต่ละเทอมทางหลักสูตรสามารถรับนักศึกษาได้เทอมละประมาณ 100 คน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต โทร.0-2997-2200 ต่อ 3317
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook