วัตถุล่องหน เเละ ขนมผสมกาแฟอีน
นักวิทยาศาสตร์ทำวัตถุล่องหน
เมื่อปีที่ผ่านมา นักฟิสิกส์อังกฤษได้พยายามสร้างรูปแบบสมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนสำหรับการสร้างวัสดุให้ล่องหนได้โดยการหักเหแสงรอบ ๆ วัตถุให้เดินทางอ้อมวัตถุแทนที่จะสะท้อนแสงกลับเข้าสู่ตาเราและปีนี้ทีมวิศวกรจาก มหาวิทยาลัยเปอร์ดัว (Purdue University) ในอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ก็ได้อาศัยการคำนวณเหล่านั้นประดิษฐ์อุปกรณ์พื้นฐานที่อาจจะนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องบินที่ล่องหนได้เช่นกัน
วลาดิเมียร์ ชาเลฟ (Vladimir Shalaev) หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ของ มหาวิทยาลัยเปอร์ดัว อธิบายว่า วัสดุที่ออกแบบนั้นจะทำให้วัตถุที่ถูกคลุมล่องหนที่ความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร ซึ่งตรงกับช่วงคลื่นของสีแดง และการออกแบบโดยอาศัยการคำนวณเดียวกันนี้ สามารถใช้ได้กับความยาวคลื่นอื่นในช่วงคลื่นของแสงที่ตามองเห็นได้ แต่การที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ทำงานได้พรอ้มกันหลายช่วงคลื่นนั้น ถือเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ทางด้านเทคนิค
อย่างไรก็ตาม ต้นแบบที่ยังเป็นเพียงทฤษฎีและจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เนเจอร์ โฟโตนิกส์ (Nature Photonics) ซึ่งชาเลฟก็ต้องการทุนวิจัยที่มั่นคงสำหรับพัฒนาวัตถุลองหนต่อไป โดยเขาคาดว่าจะใช้เวลาอีก 2-3 ปี ก็จะสามารถผลิตต้นแบบของจริงออกมาได้
ในส่วนของต้นแบบที่ทำใหปได้เพียงความยาวคลื่นเดียวนั้น แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้ ผ้าคลุมล่องหน เป็นจริงได้ แต่ในทรรศนะของชาเลฟ แล้วเชื่อว่ายังมีประโยชน์ที่จะประยุกต์ใช้งานได้ โดยวัตถุล่องหนภายใต้ความยาวคลื่นเดียวนั้นนำไปใช้ปกป้องทหารให้รอดพ้นจากแว่นตาที่มองเห็นในความมืดได้ เพราะแว่นดังกล่าวช่วยให้มองเห็นได้จากความยาวคลื่นเดียว หรือช่วยพรางวัตถุจากอุปกรณ์ชี้เป้าด้วยเลเซอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทหาร
ขนมผสมกาแฟอีนแทน "กาแฟ"
โรเบิร์ต โบฮานนอน (Robert Bohannon) นักชีวโมเลกุล ประธาน บริษัทออนาสโก (Onasco, lnc., North Carolina สร้างขนมผสมกาเฟอีนได้สำเร็จ โดยจำหน่ายผ่านแบรนด์ บัซโดนัท และ บัซเบเกิล (Buzz Donut, Buzzed Bagel) ของโบฮานนอนเอง และเมื่อผลิตโดนัทกาเฟอีนออกมาแล้ว ในแต่ละชิ้นจะมีปริมาณกาเฟอีนเทียบเท่ากับกาแฟ ประมาณ 1-2 ถ้วยที่ดื่มกันทั่วไป
ความคิดริเริ่มนี้โบฮานนอนเผยว่า เพราะต้องการเอาชนะ ความขม จากเมล็ดกาแฟ โดยได้ทดลองหลากหลายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบครีมหรือน้ำตาล แต่เพราะความขมของกาเฟอีนและตัวผงที่ละลายยาก จึงทำให้สนใจหันมาลองนำไปใส่กับขนมอบดู และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการใส่กาเฟอีนปริมาณเท่ากับกาแฟ 1-2 ถ้วยได้
กาเฟอีนโดนัท นอกจากจะใส่กาเฟอีนแล้วส่วนผสมอื่น ๆ ก็เหมือนกับขนมอบทั่ว ๆ ไปที่เต็มไปด้วยไขมันซึ่งส่วนใหญ่เป็นี่มีความเข้มข้นมาก หรือ ทรานส์ แฟตส์ (trans fats) และน้ำตาล
ทรานส์แฟตส์ หรือ Trans Fatty Acid เป็นไขมันที่อันตรายกับร่างกายที่สุด เพราะเกิดจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำจากไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fats) ให้เป็นไขมันคงตัว โดยดึงเอาไขมันที่ร่างกายต้องการออกไปหมดแล้วอัดด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจน (Hydrogenation) ให้แข็งตัวเป็นก้อน กลายเป็นไขมันอิ่มตัวที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ จัดเป็นไขมันชั้นเลว ที่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ทว่า โดนัท เป็นผลิตภัณฑ์อันดับต้น ๆ ที่มีทรานส์แฟตส์อยู่มาก เฉพาะโดนัทกาเฟอีนที่ผลิตออกมาแต่ละชิ้นมีพลังงาน 200 แคลอรี ไขมันทั้งหมด 200 กรัม เป็นทรานส์แฟตส์ 4 กรัม และโปรตีน 2 กรัม แต่โบฮานนอนก็สามารถขอจดสิทธิบัตรแนวคิดนี้ได้สำเร็จ เพราะวิธีการนี้เชื่อว่าจะลดจำนวนผู้ที่ต้องการกาเฟอีนโดยฉีดเข้าร่างกายได้