ท่อง เมลเบิร์น เยี่ยม...โรงเรียน-มหา"ลัย ตามติดชีวิตนักเรียนไทย

ท่อง เมลเบิร์น เยี่ยม...โรงเรียน-มหา"ลัย ตามติดชีวิตนักเรียนไทย

ท่อง เมลเบิร์น เยี่ยม...โรงเรียน-มหา"ลัย ตามติดชีวิตนักเรียนไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
"ออสเตรเลีย" ขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักเรียน-นักศึกษาต่างชาติ เพราะในปีหนึ่งๆ มีนักเรียน-นักศึกษาหลากหลายชาติเข้ามาเรียนระดับมัธยมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยหลายแสนคนในจำนวนนี้มีคนไทยเข้าไปศึกษาต่อปีละหลายหมื่นคน เมืองเมลเบิร์นในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา กระทรวงศึกษา รัฐวิกตอเรีย ได้เชิญสื่อมวลชนไทยเข้าเยี่ยมชมการจัดการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย และสถาบันโพลีเทคนิคที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ของเมืองเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ซึ่งเมืองนี้มีระบบการศึกษาที่มีประวัติอันยาวนานและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และที่สำคัญเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีความปลอดภัยสูงแห่งหนึ่งของโลก สิ่งเหล่านี้ทำให้สามารถดึงดูดนักเรียนจากต่างชาติเข้ามาเรียนได้จำนวนมากประมาณปีละ 90,000 กว่าคน เฉพาะคนไทยเข้ามาเรียนปีละ 4,000 กว่าคน โดยประเทศที่เข้ามาเรียนมากสุดคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน และอินเดีย นางซู คริสโตเฟอร์ ผู้อำนวยการอาวุโส Department of Education and Training เล่าว่า แม้รัฐวิกตอเรียจะเป็นรัฐที่เล็กที่สุดในประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีประชากรมากถึง 3.6 ล้านคน หรือหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดของประเทศ โดยประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมลเบิร์นและส่วนหนึ่งอาศัยตามเขตนอกเมือง แถวชายหาด ซึ่งระบบการศึกษาของรัฐนี้กำหนดให้ทุกคนต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับระหว่างอายุ 6-15 ปี ตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 1-9 (Years 1-9 )เทียบเท่ากับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามระบบการศึกษาของไทย ในปัจจุบันรัฐแห่งนี้มีโรงเรียนในสังกัดรัฐบาล 160 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง และสถาบันการศึกษาเฉพาะทางและการศึกษาต่อเนื่อง อาทิ สถาบันอาชีวศึกษา และมีนักเรียน นักศึกษารวมกันทุกระดับประมาณ 8.5 แสนคน "รัฐบาลวิกตอเรียให้ความสำคัญกับการศึกษามาก และถือเป็นนโยบายเรื่องเร่งด่วนอันดับแรกๆ จนทำให้ รัฐวิกตอเรียมีอัตราส่วนนักเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มากที่สุดของประเทศ นอกจากเด็กท้องถิ่นที่เรียนในโรงเรียนรัฐบาลแล้ว ยังมีนักเรียนต่างชาติกว่า 3,000 คนเข้ามาเรียน ส่วนใหญ่เป็นเด็กจากประเทศในเอเชียที่เลือกมาเรียนกันมาก ซึ่งนอกจากระบบการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับแล้ว รัฐวิกตอเรียได้เปรียบในเรื่องของการเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีประชากรหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกันทำให้เด็กต่างชาติที่เข้ามาเรียนปรับตัวได้ไม่ยาก"

Brighton Secondary College

"Brighton Secondary College" เป็นจุดหมายแรกในการเยี่ยมชมครั้งนี้ โรงเรียนรัฐบาลแห่งนี้ก่อตั้งมาแล้ว 53 ปี อยู่นอกเมืองเมลเบิร์น 10 กิโลเมตร ในปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 1,200 คน เป็นนักเรียนต่างชาติ 85 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กไทย 7 คน โรงเรียนแห่งนี้มีอัตราการเรียนจบของเด็ก 97% เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย 63% และเรียนต่อด้านสถาบันอาชีวศึกษา (TAFE) ความโดดเด่นของการจัดการศึกษาจะมีหลักสูตรที่เอื้อให้เด็กต่างชาติที่เข้ามาเรียน มีวิชาให้เลือกเรียนหลายสาขาได้แก่ เทคโนโลยี ศิลปการแสดง ครีเอทีฟ การกีฬาและโปรแกรมพิเศษ นักเรียนไทย 7 คน ที่มาเรียนที่นี่มีความเห็นตรงกันว่า ระบบการเรียนการสอนโรงเรียนแห่งนี้แตกต่างจากการศึกษาไทยตรงที่ครูจะให้อิสระทางความคิดแก่นักเรียน และที่สำคัญจะเน้นให้ทุกคนเป็นเจ้าของธุรกิจ น้อง "โจ้" หรือนายสัณฐนัฐ กระวรนาค อายุ 16 ปี บอกว่า เพิ่งมาเรียนชั้นปีที่ 10 หรือ ม.4 ได้ไม่กี่เดือนหลังจากจบชั้น ม.3 จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ตอนนี้ทางโรงเรียนจะเน้นให้เรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยเรียนรวมกับนักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ ที่เพิ่งเข้ามา จากนั้นจะได้เข้าไปเรียนในชั้นเรียนกับเพื่อนปกติ ส่วนตัวชอบระบบการเรียนการสอนของที่นี่ เพราะจะไม่เน้นการสอนหนักมากเหมือนโรงเรียนไทย ที่สอนวันหนึ่ง 7-8 ชั่วโมง และที่สำคัญวิชาเรียนจะไม่มากในระดับ ม.ปลายใครอยากจะเรียนต่อด้านไหนในระดับมหาวิทยาลัย ก็จะมีวิชาหลักให้เรียนเพื่อใช้เป็นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัยจึงทำให้มีวิชาจะเรียนไม่มาก ซึ่งตนวางแผนว่าจะเข้าเรียนต่อทางด้านการบิน "การเข้ามาเรียนก็จะมีแค่ปัญหาในเรื่องของภาษาที่จะต้องใช้เวลาฝึกฝนและปรับตัวในช่วงแรกๆ เท่านั้นพออยู่ไปสักพักก็จะลงตัวเอง ส่วนเรื่องความเหงาคิดถึงบ้านนั้นเป็นเรื่องปกติ เลยแรกๆ จะเป็นมาก พอได้ไปเจอเพื่อนักเรียนไทยด้วยกัน เริ่มมีเพื่อนนักเรียนชาติอื่นและได้ไปใช้ชีวิตอยู่กับโฮมสเตย์แล้วก็เริ่มจะไม่เหงา เพราะผมจะมีเพื่อนคุย หรือชวนกันไปเล่นกีฬา" โรงเรียนBox hillส่วน "ปูเป้" น.ส.ณัชอมรารักษ์ บงกชเกตุสกุล อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 12 เห็นว่าเคยชินกับการเรียนในโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยมาก่อน พอมาเรียนที่นี่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมาก เพียงแต่ต้องขยันเรียน อ่านหนังสือมากๆ เพราะต้องเรียนให้ได้คะแนนดี เพื่อจะได้เข้ามหาวิทยาลัยดังๆ ได้ ส่วนเรื่องการสอนของครูจะมีก็ความประทับใจครูมาก เพราะเขาจะดูแลนักเรียนทุกคนดี เวลาไม่เข้าใจตรงจุดไหนก็สามารถที่จะไปสอบถามได้ ทำให้รู้สึกถึงความเป็นกันเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ครูจะปลูกฝังหรือสอนให้นักเรียนทุกคนคิดถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองมากกว่าจะไปเป็นลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่เลือกจะมาเรียนที่เมลเบิร์นเพราะว่ามีพี่สาวเรียนอยู่แล้ว จุดหมายที่สอง "Box Hill High School" โรงเรียนรัฐบาลก่อตั้งมาแล้ว 78 ปี และมีมาตรฐานทางวิชาการที่สูง นักเรียนที่จบจากที่นี่ 81% จะสามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ และที่เหลือจะเรียนต่อในสถาบันอาชีวศึกษาและอื่นๆ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะมีโปรแกรมพิเศษให้ได้เลือกเรียนตามความถนัดและความชอบ อาทิ ดนตรี การเตรียมตัวเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย การเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หลักสูตรการท่องเที่ยว การจัดนิทรรศการศิลปะ ซึ่งเด็กต่างชาติที่มาเรียนที่นี่จะมีความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน หรืออาศัยอยู่กับโฮมสเตย์ไม่ไกลและสามารถเดินมาเรียนหนังสือได้ โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กไทยเรียนอยู่ประมาณ 3-4 คน "มีน" นายชัชชัน เลพล อายุ 20 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 12 ดาวเด่นของโรงเรียนด้วยความสามารถพิเศษทางดนตรีและการแสดง จนได้รับคัดเลือกให้เป็นนักแสดงนำของละครเวทีเรื่องดัง ได้เล่าให้ฟังว่า มาเรียนเมลเบิร์นหลายปีแล้ว โดยตั้งใจจะมาเรียนทางด้านการโรงแรม เพื่อต้องการไปต่อยอดดูแลธุรกิจโรงแรมของครอบครัวที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งตอนแรกที่รู้ว่าจะต้องมาเรียนที่นี่ก็มีความกลัวไปต่างๆ นานา กลัวว่าจะเจอสังคมใหม่ๆ กลัวว่าจะอยู่ไม่ได้ และสุดท้ายก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย แม้จะมีความแตกต่างอย่างมากกับประเทศไทย ทั้งภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ทั้งนี้โดยส่วนตัวเห็นว่าการได้มาเรียนเมืองนอกสิ่งสำคัญที่ได้รับคือ การได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างมากขึ้น หลายๆอย่างทำให้เราโตเป็นผู้ใหญ่มีความคิดความอ่านมากกว่าเดิม แม้การมาอยู่ช่วงแรกจะไม่ได้ราบรื่นทุกอย่างเพราะต้องดูแลและช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางมาโรงเรียน การแบ่งเวลาเรียนให้ดีเพราะการอาศัยอยู่ที่นี่มีความอิสระสูง จุดหมายถัดไปคือ การเยี่ยมชมสถาบันอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยที่มีเชื่อเสียงหลายแห่งของเมลเบิร์น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook