ประเทศสหรัฐอเมริกา
ข้อมูลทั่วไป United states of amarica (สหรัฐอเมริกา) เป็นแหล่งศูนย์รวมของวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลาย จากประชากรประเทศต่างๆทั่วโลก ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนัก ทำให้สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศหนึ่งที่ใครหลายคนอยากมาสัมผัส ซึ่งลักษณะทั่วไปของประเทศมี ดังนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,787,319 ตารางไมล์ หรือประมาณ 18 เท่า ของขนาดพื้นที่ประเทศไทย ประกอบด้วยพื้นที่ต่างๆ 50 รัฐ และ 1 เขตการปกครอง คือ Washington D.C . และมีประชากรโดยรวมประมาณ 292 ล้านคน
ภูมิประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในเรื่องของภูมิประเทศ คือ มีทั้งป่าไม้ ทะเลทราย ภูเขา ที่ราบสูงและที่ลุ่ม มีผืนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐที่ติดต่อกันรวม 48 รัฐ และ Washington D.C . โดยมีรัฐ Alaska ซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศแคนาดา และรัฐ Hawaii ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค
ประเทศสหรัฐอเมริกามีการแบ่งภูมิภาคต่างๆตามลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้
ภูมิอากาศ ในสหรัฐอเมริกาสามารถพบอากาศได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่บรรยากาศแบบแถบขั้วโลกซึ่งหนาวติดลบ 40 องศา จนถึงบรรยากาศที่ร้อนเหมือนทะเลทราย 45 องศา ช่วงอากาศหนาวที่สุด คือเดือนมกราคม และร้อนที่สุดช่วงเดือนกรกฎาคม
ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน สิงหาคม
ฤดูใบไม้ร่วง อยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน
ฤดูหนาว อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์
ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม พฤษภาคม
เวลา เนื่องจากประเทศมีขนาดใหญ่มาก จึงมีการจัดแบ่งการใช้เวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้
ส่วนภาคตะวันออก หรือ Eastern Time Zone (EST) : จะมีเวลาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเท่ากับ 12 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน จะมีการปรับเลื่อนเวลาในช่วงฤดูร้อนอีก 1 ชั่วโมง หรือ Daylight Saving Time ทำให้เวลาช้ากว่าประเทศไทยเป็น 13 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขต EST คือ Boston, New York, Washington D.C., Miami และ Cleveland
ส่วนตอนกลางของประเทศ หรือ Central Time Zone จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 13 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน มีการปรับ Daylight Saving Time ซึ่งจะมีผลทำให้เวลาของอเมริกาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเป็น 14 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขตนี้คือ Chicago และ New Orleans
ส่วนพื้นที่ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค หรือ Pacific Time Zone จะมีเวลาช้ากว่าเวลาในประเทศไทย เท่ากับ 15 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน มีการปรับ Daylight Saving Time ซึ่งจะมีผลทำให้เวลาช้ากว่าในประเทศไทยเป็น 16 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขตนี้คือ San Francisco , Seattle และ Hawaii
Daylight Saving คือ การปรับเวลาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะมีการหมุนเข็มนาฬิกาให้เวลาเดินหน้าเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง โดยจะปรับเวลาในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม และเมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิ ก็จะหมุนเข็มนาฬิกาให้ถอยหลัง 1 ชั่วโมง โดยจะเริ่มปรับเวลาในวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน ประชากร สหรัฐอเมริกามีประชากรเป็นชาวผิวขาวประมาณ 75.1 % ส่วนพวกคนผิวดำประมาณ 12.3% พวกเชื้อสายสเปน ประมาณ 13% ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกจากนี้เป็นชาวเอเชียประมาณ 3.7%
การเมืองการปกครอง มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยในรูปแบบของสหพันธรัฐ ประกอบไปด้วย 50 รัฐ และ 1 เขตการปกครอง คือ Washington D.C. ซึ่งเป็นเมืองและศูนย์กลางการปกครอง โครงสร้างของรัฐบาลแห่งชาติและกิจกรรมของรัฐบาลจะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในส่วนของกิจกรรมที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดอาทิเช่น อำนาจการจัดการด้านการศึกษาหรือนโยบายการบำรุงรักษาถนน รวมถึงการดำเนินงานด้านตำรวจ จะเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตนเอง
ระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี ชาวอเมริกันส่วนมากเป็นประชาชนที่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลาง จำนวนประชากรที่รวยมากหรือจนมากจะมีน้อย ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความเจริญ และเป็นผู้นำในธุรกิจต่างๆมากมาย สังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากความหลากหลายของประชากร จึงทำให้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม คนกลุ่มต่างๆ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมของตนเอาไว้ เช่น China Town หรือ Little Italy ชาวอเมริกันเป็นคนที่ไวต่อการเรียนรู้ และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ จึงมีอิสระด้านความคิดมากๆ นอกจากนี้คนอเมริกันรุ่นใหม่จะมีความสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าแค่การเรียน การศึกษาหรือการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่น ซึ่งจะมีความสนใจในการร่วมกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับมีส่วนร่วมในองค์กรต่างๆสำหรับเยาวชน และมักหางานนอกเวลาทำกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อหารายได้มาทำกิจกรรมต่างๆที่ตนเองต้องการ
ศาสนา มีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ได้ ศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด คือ ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์
ประเภทของสถาบันการศึกษา ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีระบบการศึกษาหรือหลักสูตรการศึกษาในระดับประเทศ ในแต่ละรัฐ จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คล้ายกับกระทรวงศึกษาธิการของตนเอง การศึกษาภาคบังคับ ของประเทศสหรัฐอเมริกาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Grade 12)
โรงเรียนประถมศึกษา / มัธยมศึกษา ( Elementary Schools) เป็นการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้น Grade 1 Grade 6 หรืออายุ 1 6 ขวบ
โรงเรียนมัธยมศึกษา (Secondary school) เป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กอายุ 12 18 ปี หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ Grade 7 และ Grade 8 เท่ากับช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High Schools) และ Grade 9 ถึง Grade 12 เท่ากับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior High Schools) นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะเข้าเรียนกับโรงเรียนประจำของเอกชน (Broading school) เพราะโรงเรียนรัฐบาลไม่สามารถจัดหาที่พักให้ได้
วิทยาลัยอาชีวศึกษา (Technical and Vocational Schools) สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาชีพสาขาต่างๆ โดยผู้ที่จะศึกษาต่อด้านนี้จะต้องจบมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว หน่วยกิตที่เรียนจากสถาบันประเภทนี้จะโอนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสถาบัน
วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University) เปิดสอนในระดับปริญญา แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ Associates Degree หรือ อนุปริญญา Bachelors Degree หรือ ปริญญาตรี ใช้เวลาในการศึกษารวม 4 ปี Masters Degree หรือ ปริญญาโท ใช้เวลาในการศึกษา 1.5 2 ปี (หลักสูตรด้านกฎหมาย 1 ปี) Doctorate Degree หรือ ปริญญาเอก ใช้เวลาในการเรียน 3 4 ปี ซึ่งนอกจากนี้ยังมีระดับ Postdoctoralซึ่งเน้นด้านการวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกแล้วด้วย
สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) เปิดสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไปเหมือนมหาวิทยาลัย แต่จะเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า
สถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูง (Professional School)เป็นการศึกษาในลักษณะพิเศษ ในบางสาขาอาชีพเท่านั้น ซึ่งระบบค่อนข้างซับซ้อนสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. การศึกษาระดับ First Professional Degree ด้านแพทย์ศาสตร์ ทันตกรรม และสัตวบาล การสมัครเข้าศึกษาต่อ ด้านแพทย์ศาสตร์ ทันตกรรม และสัตวบาล มีการแข่งขันที่สูงมาก และโอกาสที่จะรับการตอบรับก็ยากสำหรับนักศึกษาต่างชาติเพราะ การศึกษาในด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐ ซึ่งทางสถาบันจะเปิดรับนักศึกษาในรัฐเท่านั้น ไม่สำรองไว้ให้นักศึกษาต่างชาติถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติครบก็ตาม
พยาบาล นักศึกษาที่เรียนด้านพยาบาล จะต้องได้รับการอนุญาตให้สามารถทำงานนั้นๆ โดยที่แต่ละรัฐจะมีคณะกรรมการด้านพยาบาลเป็นผู้ออกใบอนุญาตของแต่ละรัฐ จึงจะสามารถจดทะเบียนประกอบวิชาชีพพยาบาล (Registered Nurses RN)
กฎหมาย หลักสูตรด้านกฎหมายที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมสำหรับนักศึกษาต่างชาติ คือ หลักสูตร Master of Laws (LL.M.), Master of Comparative Laws (M.C.L.) และ Master of Comparatives Jurisprudence (M.C.J.) ซึ่งเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับสถาบันด้านกฎหมายของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
2. สถาบันสอนภาษา (Language Schools) ประเทศสหรัฐอเมริกามีสถาบันสอนภาษามากมายหลายร้อยแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตร Intensive ซึ่งเปิดสอนสำหรับนักศึกษาที่ต้องการพัฒนาความสามารถด้านภาษาก่อนเข้าเรียนหลักสูตรวิชาการ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรอื่นๆ เช่น TOEFL Business English เป็นต้น รวมถึงการจัดทัศนศึกษา ซึ่งในการเลือกสถาบันควรพิจารณาปัจจัยหลายประการประกอบกัน
เงื่อนไขการรับเข้าเรียน มัธยมศึกษา นักเรียนจากประเทศไทยสามารถศึกษาต่อในระดับมัธยม ในโรงเรียนของเอกชนเท่านั้น ไม่สามารถเข้าเรียนในสถาบันของรัฐบาลได้ เงื่อนไขอื่นๆ เช่นเกรดเฉลี่ยและคะแนน TOEFL แตกต่างออกไปตามสถาบัน
วิทยาลัย วิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.0 ขึ้นไป และคะแนน TOEFL 450-500 ขึ้นไป
มหาวิทยาลัย สำหรับปริญญาตรี สถาบันส่วนใหญ่ต้องการนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป และ TOEFL 500 ขึ้นไป ปริญญาโท และเอก เกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป และคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 นักศึกษาที่จะสมัครในโปรแกรม MBA ส่วนใหญ่จะต้องใช้คะแนน GMAT ซึ่งจะนำมาคำนวณกับเกรดเฉลี่ยปริญญาตรี ส่วนนักศึกษาที่สมัครปริญญาโทและเอกในสาขาอื่นๆ ส่วนใหญ่จะต้องสอบ GRE (Graduate Record Examination)
ปีการศึกษา ปีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา (Academic Year) จะเริ่ม ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤษภาคม ซึ่งมีกำหนดภาคเรียนแตกต่างกันออกไปดังนี้
ระบบ Semester เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ในระยะเวลาหนึ่งปีจะประกอบด้วย 2 Semesters และ 1-2 Summer Sessions แต่ละ Semester ยาวประมาณ 16 สัปดาห์ ดังนี้ Fall Semester เปิดประมาณปลายสิงหาคม กลางธันวาคม
Spring Semester เปิดประมาณต้นมกราคม - เมษายน ( บางครั้ง Summer Session จะแบ่งครึ่งเป็น 2 ช่วงสั้น )
Summer Session เปิดประมาณกลางพฤษภาคม สิงหาคม
ระบบ Quarterในหนึ่งปีแบ่งออกเป็น 4 Quarter แต่ละ Quarter ใช้เวลาเรียนประมาณ 10 สัปดาห์ ดังนี้
Fall Quarter เปิดประมาณกลางกันยายน ธันวาคม
Winter Quarter เปิดประมาณมกราคม กลางมีนาคม
Spring Quarter เปิดประมาณต้นเมษายน กลางมิถุนายน
Summer Quarter เปิดประมาณกลางมิถุนายน- สิงหาคม
ระบบ Trimesterใน 1 ปี แบ่งภาคการศึกษาดังนี้
First Trimester เปิดประมาณกันยายน ธันวาคม
Second Trimester เปิดประมาณมกราคม เมษายน
Third Trimester เปิดประมาณพฤษภาคม สิงหาคม
ระบบ 4-1-4เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในสถานศึกษาราว 8% ในสหรัฐอเมริกาแบ่งปีการศึกษาออกเป็น 2 ภาคใหญ่ คั่นด้วยภาคเรียนสั้นๆ ที่เรียกว่า Interim เพื่อให้นักศึกษาไปทำการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือออก Field Trip แบ่งภาคเรียน ดังนี้
Fall Semester เปิดประมาณปลายสิงหาคม ธันวาคม
Interim เปิดประมาณเดือนมกราคม (1 เดือน)
Spring Semester เปิดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม
ค่าเล่าเรียน 200,000 - 500,000 บาท/ปี (ขึ้นอยู่กับสถาบัน)
ค่าครองชีพ 500,000 บาท/ปี (เป็นอย่างต่ำ)
ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาในสหรัฐอเมริกา อัตราค่าใช้จ่ายสำหรับการไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา อาจจัดอยู่ในระดับ ที่ค่อนข้างสูงหรือปานกลาง ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษา เมืองและรัฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา รูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว สถาบันการศึกษา ที่มีชื่อเสียงมากกว่า มักมีอัตราค่าเล่าเรียนที่สูงกว่า และเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า มักมีอัตราค่าครองชีพที่สูงกว่าเช่นกัน
เงินตรา หน่วยเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาคือ ดอลล่าร์ (US$) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 100 เซ็นต์ ธนบัตรของประเทศอเมริกาทุกมูลค่า จะมีสีเขียวเหมือนกันหมดและมีขนาดเท่ากันหมด หน่วยเงินที่ใช้โดยทั่วไปคือ $ 1, $ 5, $ 10, $ 20, $ 50 และ $ 100 สำหรับเงินเหรียญ จะมีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่เหรียญ 1 เซ็นต์ (penny), เหรียญ 5 เซ็นต์ (nickel), เหรียญ 10 เซ็นต์ (dime), และเหรียญ 25 เซ็นต์ (quarter)
ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ 115 V, 600 Cycles ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ไม่แนะนำให้นักศึกษานำเครื่องไฟฟ้าจากประเทศไทยติดตัวไป
ที่พัก ก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิตการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา การหาที่พักเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดอย่างหนึ่ง และมีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาทั้งในเรื่องส่วนตัว และทางวิชาการ ที่พักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการเอื้ออำนวยต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ถ้านักศึกษามีที่พักที่ดีและมีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆ จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม ถ้านักศึกษามีความไม่สบายใจเกี่ยวกับที่พัก โอกาสในการเรียนรู้รวมถึงกำลังใจในการต่อสู้ก็จะลดน้อยลงตามลำดับ คนทุกคนย่อมมีความสุขและมีความสามารถมากที่สุด ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกสะดวกสบาย สำหรับนักศึกษาที่มีญาติหรือคนรู้จักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจเลือกเข้าศึกษาต่อในบริเวณใกล้เคียงกับที่พักของญาติ เพื่อถือโอกาสพักร่วมกับเขา แต่สำหรับนักศึกษาที่ไม่รู้จักใครเลย ส่วนใหญ่จะใช้บริการของสถาบันการศึกษาในการจัดหาที่พักให้ โดยทั่วไป สถาบันการศึกษาสามารถให้ความช่วยเหลือได้ในการหาที่พัก บางแห่งยังมีบริการไปรัที่สนามบินเพื่อพานักศึกษาไปส่งยังที่พักด้วย
ที่พักชั่วคราว หากนักศึกษาเดินทางมาถึงวิทยาเขตก่อนวันที่จะสามารถย้ายเข้าไปยังที่พักถาวรได้ หรือต้องใช้เวลาในการหาที่พักถาวร นักศึกษามีทางเลือกมากมายเกี่ยวกับที่พักชั่วคราว ที่ราคาสูงที่สุดคือโรงแรม แต่ก็มีโรงแรมในราคาประหยัดให้เลือกด้วย รวมถึง YMCA หรือ YWCA ในเขตท้องถิ่นนั้นๆ นักศึกษาควรสอบถามข้อมูลล่วงหน้าจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันเกี่ยวกับทางเลือกของที่พักชั่วคราว
หอพักของสถาบัน เป็นรูปแบบของที่พัก ที่นักศึกษาต่างชาตินิยมมากที่สุด สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งไปถึง อย่างไรก็ดี ไม่ใช้ว่าทุกสถาบันจะมีหอพักไว้เพื่อให้บริการนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Community College มักจะไม่มีหอพักให้กับนักศึกษา รวมถึงสถาบันการศึกษาที่อยู่ในเขตใจกลางเมืองหลายแห่ง ก็ไม่มีหอพักสำหรับนักศึกษา แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีบริการด้านที่พักสำหรับนักศึกษา หรือหอพักนั่นเอง โดยทั่วไปจะเป็นห้องพักสำหรับนักศึกษาโสด และอยู่ภายในหรือใกล้เคียงกับวิทยาเขต หอพักเป็นสถานที่ที่นักศึกษาต่างชาติ จะได้มีโอกาสในการพบปะและสังสรรค์กับนักศึกษาชางอเมริกันเป็นอย่างดี หอพักส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์เครื่องใช้ขั้นพื้นฐานทั่วไปครบ รวมถึงโต๊ะ ตู้เสื้อผ้า และเตียง หอพักส่วนใหญ่จะมีโรงอาหาร และบางแห่งอาจมีห้องครัวเล็กสำหรับนักศึกษาด้วย พร้อมมีห้องนั่งเล่นรวม โทรทัศน์ ห้องเล่นเกมส์ ห้องซัก/รีดผ้า หอพักส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่มีห้องน้ำส่วนตัว แต่จะเป็นห้องน้ำรวมซึ่งแยกหญิง-ชายมากกว่า นอกจากนี้ มักมีผู้คุมหอพักซึ่งพักอาศัยอยู่ในหอพักด้วย เพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วไป ห้องพักในหอพักของสถาบันอาจมีไม่มากนัก ดังนั้นนักศึกษาควรทำเรื่องขอจองที่พักเสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจต้องเสียค่ามัดจำที่พักในบางส่วนด้วย นอกจากนี้ หอพักบางแห่งอาจปิดให้บริการในช่วงปิดภาคการศึกษา หรือวันหยุดระหว่างภาค แต่บางแห่งก็เปิดให้บริการตลอดปี ดังนั้นนักศึกษาควรตรวจสอบเจ้าหน้าที่ด้านที่พักของสถาบันเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย การพักอาศัยอยู่ในหอพัก มักมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับส่วนกลางซึ่งนักศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขและราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับระดับเสียง ความสะอาด ผู้เยี่ยม ฯลฯ หอพักแต่ละแห่งย่อมมีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นนักศึกษาจึงควรศึกษาข้อมูลทางด้านนี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อลดปัญหาความไม่สะดวกสบาย หรือความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลัง ข้อคิดของนักศึกษาที่ต้องการพักหอพักคือ นักศึกษาต้องเตรียมปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นด้วย เพราะเป็นการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก เรื่องของเพื่อนร่วมห้องก็เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ ห้องพักส่วนใหญ่ในหอพักของสถาบันการศึกษาจะเป็นห้องพักรวม 2-3 คน ซึ่งนักศึกษาอาจจะไม่รู้จักกันมาก่อน โดยทั่วไป สถาบันมักจัดให้นักศึกษาต่างชาติพักร่วมกับนักศึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าต่างคนต่างมีความคิดเห็นและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักศึกษาต้องเคารพในสิทธิของผู้อื่น และเพื่อนร่วมห้องของเราก็ต้องเคารพในสิทธิอันชอบควรของเราด้วย ในกรณีที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านใดก็ตาม นักศึกษาต้องบอกเจ้าหน้าที่สำนักงานนักศึกษาต่างชาติหรือผู้ดูแลหอพักทันที หอพักจะมีหลายประเภท รวมถึง หอพักรวมชาย-หญิง ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ร่วมอาคารเดียวกันแต่แยกชั้น หอพักชายล้วน หอพักหญิงล้วน อพาร์ทเมนท์ บ้านเช่าของสถาบัน และอพาร์ทเมนท์สำหรับนักศึกษาที่มีครอบครัว เป็นต้น
ที่พักนอกวิทยาเขต เป็นที่พักที่อยู่นอกบริเวณวิทยาเขตของสถาบัน มีทั้งในรูปแบบของบ้านและอพาร์ทเมนท์ ที่ตกแต่งแล้ว ตกแต่งบางส่วน หรือยังไม่ได้ตกแต่ง สำหรับการหาที่พักนอกวิทยาเขต นักศึกษาอาจติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านที่พักของสถาบัน หาจากหนังสือพิมพ์ หรือติดตามดูประกาศตามบอร์ดกับการหาที่พักร่วมของสถาบัน หากนักศึกษาไม่มีรถยนต์ สถานที่ตั้งของที่พักจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าไม่อยู่ในระยะทางที่สามารถเดินไปสถาบันได้ หรือไม่ได้อยู่ในเส้นทางของการคมนาคมสาธารณะ ที่พักนั้นๆ อาจจะไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ค่าเช่าโดยทั่วไปจะไม่ได้รวมถึงค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ (รวมโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง US $75 US $200 หรือมากกว่า ต่อเดือน) ส่วนค่าน้ำและค่าบริการจัดเก็บขยะ มักรวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว สำหรับการเช่าที่พักในรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาจะต้องเซ็นสัญญาเช่า ซึ่งเป็นเอกสารที่มีผลทางกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่พัก ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นนักศึกษาควรถามตัวเองก่อนว่าจะสามารถเช่าที่พักนั้นๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่าหรือไม่ โดยทั่วไปนักศึกษาอาจต้องจ่ายค่าเช่าเดือนแรก และเดือนสุดท้ายล่วงหน้า ซึ่งเป็นการรับประกันว่าผู้เช่าจะแจ้งการย้ายออกอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า นอกจากนี้ อาจต้องจ่ายค่ามัดจำความเสียหายอีก 1 เดือน ซึ่งผู้เช่าจะได้รับคืนเมื่อย้ายออก และไม่ได้ทำความเสียหายอะไรให้กับสถานที่ที่เช่า นักศึกษาควรตกลงทำสัญญาเกี่ยวกับการเช่าที่พักด้วยเอกสาร ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น นักศึกษาต้องมั่นใจว่าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญานั้นๆ แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนการเซ็นสัญญา
หอพักนอกวิทยาเขต หมายถึง หอพักของเอกชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาเขตของสถาบัน รายละเอียดทุกอย่างจะใกล้เคียงกับหอพักของสถาบันการศึกษา เพียงแต่มีเอกชนเป็นเจ้าของ โดยทั่วไปอัตราค่าเช่าจะใกล้เคียงกับหอพักของสถาบันภายในวิทยาเขต
ที่พักแบบ Co-Ops หรือ Cooperative Residence Halls โดยทั่วไปจะหมายถึงบ้านขนาดใหญ่ ที่นักศึกษากลุ่มหนึ่งพักอาศัยร่วมกัน และร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและงานในบ้าน รวมถึงการทำอาหาร งานทำความสะอาดบ้าน และงานอื่นๆ นอกบ้าน และเนื่องจากราคาของที่พักประเภทนี้จะค่อยข้างถูก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการที่จะหาที่พักแบบนี้ได้
บ้านให้เช่าห้องพัก หมายถึงที่พักอาศัยที่ปล่อยห้องให้บุคคลอื่นเช่า และส่วนใหญ่ จะเป็นการแบ่งให้ผู้เช่า 2 คน มักมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำอาหารพร้อม ที่พักประเภทนี้ น่าจะเป็นที่พักที่มีค่าเช่าถูกที่สุด แต่บางครั้ง อาจเกิดปัญหาเกี่ยวการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อาทิ เรื่องของการใช้ห้องน้ำหรือห้องครัวร่วมกัน หากต้องการที่พักประเภทนี้ ควรเลือกผู้ร่วมเช่าให้ดี และซักถามคำถามให้มากที่สุด
การพักร่วมกับครอบครัวชาวอเมริกัน เจ้าหน้าที่นักศึกษาต่างชาติ มักมีรายชื่อของครอบครัวในชุมชนแถบนั้น ที่ต้องการให้มีนักศึกษาต่างชาติมาพักอาศัยในครอบครัวด้วย โดยทั่วไปมักเป็นห้องเดี่ยวส่วนตัวพร้อมอาหารเช้าและอาหารเย็นสำหรับวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และอาหาร 3 มื้อ สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์ บางครั้งครอบครัวนั้นๆ อาจคาดหวังให้นักศึกษาทำงานบางอย่าง อาทิ การดูแลเด็กเล็ก หรือการช่วยทำงานบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการลดราคาค่าเช่าบ้าน การพักร่วมกับครอบครัวชาวอเมริกัน อาจเป็นประสบการณ์ที่อบอุ่นและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ควรพิจารณาครอบครัวนั้นๆ และเงื่อนไขต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาเข้าใจดี รวมถึงรับรู้ในสิ่งที่เขาคาดหวังจากตัวนักศึกษาด้วย
ข้อดี นักศึกษาส่วนใหญ่ จะพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วค่าใช้จ่ายส่วนมากจะถูกกว่า ครอบครัวที่สถาบันจัดหาให้หลายแห่ง สามารถไปรับ - ส่งที่สถาบันได้ สามารถใช้บริการได้ตลอดปีและนักศึกษาจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัวชาวอเมริกันอย่างแท้จริง
ข้อเสีย อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางไป - กลับ นักศึกษามีอิสรภาพน้อยกว่าการพักหอพักเนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎของแต่ละครอบครัว และมีทางเลือกด้านอาหารน้อยกว่า นอกจากนี้ การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของทางวิทยาเขตอาจจะจำกัด เนื่องจากนักศึกษาอาจต้องรีบเดินทางกลับบ้านเมื่อเลิกเรียน ข้อคิดเราต้องเตรียมตัวและเตรียมใจในการเข้าพักร่วมในบ้านของผู้อื่น ซึ่งมีพื้นฐานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และแนวคิดที่แตกต่างจากบ้านเรา การปรับตัวทั้งในเรื่องของอาหารกินและวิถีการดำรงชีวิต เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด สำหรับนักศึกษาที่ต้องการที่พักประเภทนี้
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) Educational Affairs, Royal Thai Embassy Address: 1906-23rd Street, N.W., Washington D.C. 20008 USA Tel: (1-202) 667 8010, 667 6084, 667 6063 Fax: (1-202) 265 7239 E-mail: oea@oeadc.org Website: www.oeadc.org
สามารถหาข้อมูลของรัฐต่าง ๆ เพิ่มเติมจากเวบไซค์ต่าง ๆ New York - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.iloveny.com - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.state.ny.us California - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.gocalif.ca.gov - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.state.ca.us
Colorado - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.colorado.com - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.colordo.gov
Florida - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.flausa.com - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.myflorida.com
Lllinois - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.enjoyillinois.com - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.illinois.gov
Indiana - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.in.gov/enjoyindiana - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.ai.org
Massachusetts - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.massvacation.com - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.mass.gov
Washington - Website หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ www.tourism.wa.gov - Website ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐ www.access.wa.gov
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการขอวีซ่า การเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างถูกกฎหมายผู้เดินทางจะต้องมีวิซ่าเข้าประเทศ ตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศในครั้งนั้น ๆ นอกจากนี้ การมีวีซ่าไม่ใช่การรับประกันว่าผู้เดินทางจะเข้าประเทศได้ จุดที่ตัดสินว่าผู้เดินทางสามารถเข้าประเทศได้หรือไม่ คือเจ้าหน้าทีกองตรวจคนเข้าเมือง ที่ทำหน้าที่ตรวจประทับตราเข้าเมืองที่สนามบินแรกที่เราเดินทางเข้าไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการขอวีซ่าเพื่อไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาสามารถสรุปพอเป็นสังเขปได้ดังนี้
1. SEVIS (ซี-วิส) I-20 แบบฟอร์ม I-20 เป็นเอกสารการตอบรับเข้าศึกษาที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้ออกให้ เพื่อแสดงถึงการตอบรับนักศึกษาที่มีชื่อตามใน I-20 เข้าศึกษาที่สถาบัน โดยจะมีรายละเอียดทั้งหมดของนักศึกษา I-20 เป็นเอกสารสำคัญที่ยืนยันการตอบรับเข้าศึกษาที่สถาบันนั้น ๆ จึงเป็นเอกสารที่นักศึกษาจำเป็นต้องใช้ สำหรับการยื่นขอวีซ่านักเรียนแบบ F-1
2. ค่าธรรมเนียม SEVIS FEE คืออะไร? ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2004 เป็นต้นมา US Department of Homeland Security (DHS) ได้ออกกฎหมายข้อบังคับใหม่ขึ้นซึ่งเป็นข้อกำหนดให้ผู้สมัครวีซ่าประเภท F-1 และ J-1 ชำระค่าธรรมเนียม SEVIS Fee จำนวน US $ 100 ซึงเป็นการชำระเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ครอบคลุมถึงบริการในส่วนนี้จะแตกต่างหากจากค่าธรรมเนียม ในการยื่นของวีซ่า อย่างไรก็ดี ข้อบังคับใหม่นี้จะไม่รวมถึงผู้ที่อยุ่ในสหรัฐอเมริกาแล้วด้วยวีซ่า F-1 หรือ J-1
++ จ่ายค่าธรรมเนียม SEVIS FEE ผ่านเว็บไซต์ ( จ่ายก่อนไปสัมภาษณ์ และพิมพ์หลักฐานการจ่ายไปแสดงด้วย)
++ ขั้นตอนวิธีการค่าธรรมเนียมจ่าย
ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ สามารถชำระได้ทางไปรษณีย์หรือผ่านทาง Internet เท่านั้น ผู้ที่สามารถชำระค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ได้คือนักศึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่นเพื่อน ญาติ บริษัทตัวแทน หรือสถาบันการศึกษา แผนกวีซ่าจะไม่ดำเนินการนัดสัมภาษณ์ให้กับผู้ที่ยื่นขอวีซ่า จนกว่าจะได้ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ และ DHS ได้รับค่าธรรมเนียมในส่วนนี้แล้ว
3. แบบฟอร์ม DS-2019 เป็นเอกสารการตอบรับเข้าศึกษาที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้ออกเหมือนกับ I-20 แต่ DS-2019 เป็นเอกสารตอบรับนักศึกษาที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ซึ่งรวมนักเรียนทุน และผู้ที่ไปศึกษาดูงานหรือฝึกอบรม ตามคำเชิญของหน่วยงาน ในประเทศอเมริกา และถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่า นักเรียน ประเภท J-1
4. แบบฟอร์ม DS-156 / DS-157 / DS-158 ในปัจจุบัน ผู้ที่ต้องการยื่นขอวีซ่านักเรียนไปสหรัฐอเมริกา ต้องกรอกใบคำร้องหรือ
แบบฟอร์ม DS-156 https://evisaforms.state.gov/ds156.asp ( กรอกแบบฟอร์ม DS-156 ผ่านหน้าเว็บไซต์เท่านั้น ให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด จะใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ก็ใหญ่ทั้งหมด หรือพิมพ์ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก ถ้าพิมพ์ใหญ่-เล็ก ปนกันจะพิมพ์เอกสารออกมาไม่ได้ * ห้ามเขียนเองเด็ดขาด ยกเว้นช่องที่ให้เซ็นต์ชื่อ เซ็นต์ให้เหมือนกับพาสปอร์ตนะคะ * กรอกแบบฟอร์มโดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader เมื่อกรอกเสร็จแล้ว คลิก Continue แล้วจึงพิมพ์ออกมา) * ช่องไหนไม่มีข้อมูลให้กรอก ให้พิมพ์ NONE ห้ามพิมพ์อักษร , / ให้เว้นไว้ เพื่อพิมพ์ออกมา ให้ใช้ปากกาดำเติมได้
ดูวิธีการกรอกคำอธิบายเป็นษาไทยได้ที่นี่
แบบฟอร์ม DS-157 http://www.state.gov/documents/organization/79964.pdf จะกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ หรือพิมพ์แบบฟอร์มออกมาเขียนเองก็ได้ค่ะ แนะนำว่าให้ใช้ปากกาสีดำจะดีกว่าค่ะ ดูวิธีการกรอกคำอธิบายเป็นภาษาไทยได้ที่นี่
แบบฟอร์ม DS-158 http://www.state.gov/documents/organization/79965.pdf จะกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ หรือพิมพ์แบบฟอร์มออกมาเขียนเองก็ได้ค่ะ แนะนำว่าให้ใช้ปากกาสีดำจะดีกว่าค่ะ ดูวิธีการกรอกคำอธิบายเป็นภาษาไทยได้ที่นี่
5. แบบฟอร์ม I-94 หรือเอกสารบันทึก
การเข้า-ออกประเทศ เป็นเอกสารที่ได้รับบนเครื่องบินเพื่อให้ทุกคนกรอกและยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ กองตรวจคนเข้าเมือง เมื่อเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาเจ้าหน้าที่กองตรวจ คนเข้าเมืองจะพิจารณาเอกสาร ทุกอย่างและกรอกข้อมูลระยะเวลาที่อนุญาตให้ อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้น ๆ จากนั้นจะแนบเอกสาร I-94 ไว้กับหนังสือเดินทาง จะมีตัวเลข 11 หลัก ซึ่งเป็นตัวเลขที่กองตรวจคนเข้าเมืองใช้ตรวจสอบการเข้า-ออกประเทศแต่ละครั้งของผู้เดินทาง สำหรับผู้ที่ถือวีซ่า F-1 สามารถพำนักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ตามระยะเวลาที่จำเป็นต่อการศึกษาในหลักสูตร ตราบใดที่หนังสือเดินทาง ยังมีอายูอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้บันทึก D/S ยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงการอนุญาตในการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา ถ้านักเรียนต้องการ อยู่ในประเทศต่อเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรอื่น ๆ เช่น การศึกษาปริญญาโท หลังจากสำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี นักศึกษาต้องยื่นเอกสาร เพื่อขอต่ออายุอย่างน้อย 60 วัน ก่อนสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรแรก
สำหรับผู้ที่ถือว่าวีซ่า J