ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง สมาพันธรัฐสวิสหรือสวิตเซอร์แลนด์ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเทือกเขาแอลป์ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ทิศเหนือจรดสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทิศตะวันออกจรดออสเตรียและลิคเตนสไตน์ ทิศใต้จรดอิตาลี ทิศตะวันตกจรดฝรั่งเศส พื้นที่ 41,290 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าประเทศไทย 12 เท่า โดยพื้นที่ 2 ใน3 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อยู่บนเทือกเขาแอลป์ ซึ่งทอดยาวจากทิศตะวันตก ประชากร 7,400,000 คน (ปีพ.ศ.2548) เมืองหลวง เบิร์น
ภูมิประเทศ-ภูมิอากาศ สวิตเซอร์แลนด์ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป มีพื้นที่ 41,284 ตารางกิโลเมตร เหนือจรดใต้ยาวเพียง 220.1 กิโลเมตร และตะวันออกจรดตะวันตกกว่างเพียง 348.4 กิโลเมตร อาณาเขตติดชายแดน 5 ประเทศ ได้แก่อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรียและ ลิคเคนไสตน์ สวิสเป็นกลางและอิสระดังนั้นการรวมตัวของพลเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 700 ปีที่แล้วนั้นทำให้สวิสต้องใช้ภาษาทางราชการ 4 ภาษา ได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาเลียน และ อังกฤษ และมีภาษาท้องถิ่นอีก 1 ภาษา พื้นที่ของประเทศตั้งอยู่บนภูเขาและที่ราบสูง มีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 1/4ของประเทศ และเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตเศรษฐกิจของพลเมืองในประเทศ มีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก การเดินทางในประเทศส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถไฟ และรถสาธารณะ มากกว่าการมีรถส่วนตัว นอกจากการคมนาคมสะดวกมากและตรงเวลาแล้วที่จอดรถมีน้อยและค่าเช่าที่จอดรถแพง อากาศในสวิสมีความแตกต่างกันในหน้าร้อนและหน้าหนาว ระหว่างบนพื้นที่ราบ และบนภูเขาสูง บนพื้นที่ราบอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 40-80 F และบนภูเขาอยู่ระหว่าง 25-60 F กิจกรรมยามว่างของชาวสวิสส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมบนเขา เช่น หน้าร้อน เดินเขา ขี่จักรยาน หน้าหนาวเล่นสกี เป็นต้น ระบบการปกครอง ปกครองแบบประชาธิปไตย ในรูปของสมาพันธรัฐ (confederation) ประกอบด้วยมณฑล (Canton) 23 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 มณฑลถูกแบ่งออกเป็นกึ่งมณฑล (haft-canton) 6 แห่ง จึงเสมือนประกอบด้วยมณฑลทั้งสิ้น 26 แห่ง ซึ่งมีอำนาจบริหารภายในของแต่ละมณฑล ส่วนอำนาจบริหารส่วนกลางจะอยู่ที่คณะมนตรีแห่งสมาพันธ์ (Federal Council) ซึ่งเปรียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่า มนตรีแห่งสมาพันธ์(Federal Councillor) 7 คน มีวาระในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และใน 7 คน จะผลัดกันเป็นประธานาธิบดีคนละ 1 ปี ระบบเศรษฐกิจ การที่ชาวสวิสไม่มีทรัพยากรมาก ทำให้ชาวสวิสยึดการเป็นนักประดิษฐ์และสิ่งใดที่ทำเองไม่ได้จะเลือกที่จะตามคนอื่น นำเข้าวัตถุดิบผลิตเป็นสินค้าออกที่สำคัญเป็นผลิตผลที่ได้จากการประดิษฐ์คิดค้น ความเที่ยงตรงและคุณภาพที่สม่ำเสมอจับใจคน อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อิเลคโทรนิค เคมี ยา นาฬิกา รวมถึงกิจการที่เป็นลักษณะของการบริการ การวางแผน การบริการและเทคโนโลยี รวมถึงงานกิจการด้านการโรงแรมและโรงนาที่พัก การท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นประเทศศูนย์กลางของยุโรป ที่นักเดินทางต้องตัดผ่านจากเหนือไปใต้และตะวันออกไปตะวันตกการศึกษาต่อในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ระบบการศึกษา การศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่างจากระบบการศึกษาในประเทศไทยเล็กน้อย คือ ระบบของสวิสนั้นการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมต้น ถึงจบมัธยมปลาย ใช้เวลา 13 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี 3 5 ปี ขึ้นอยู่กับวิชาที่เรียน และสำหรับสาขาแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6-7 ปี วุฒิบัตรทางการศึกษาของสวิส เรียกด้วยศัพท์ที่ใช้ในประเทศของเขาเอามาแปลเป็นไทยได้ดังนี้ ระดับมัธยมปลาย (School leaving Certificate) เรียก คนที่จะผ่านเข้าศึกษาระดับ ม.ปลายต้องผ่านการคัดเลือกมาแล้วตั้งแต่ ม.ต้นว่าเก่งมาก มีจำนวนเพียง 25% ของคนที่จบ ม.ต้นมา ที่เหลือ10% เข้าโรงเรียนเทคนิคและ 60% เรียน ปวช. ปวส เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ปริญญาตรี (Bachelor Degree) ปริญญาโท (Diploma หรือ Post Graduate) และปริญญาเอก (Doctoral Degree) ชาวสวิสไม่มีคำว่า Master Degree ที่แปลว่า ปริญญาโท ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษ แบบที่เราคุ้นเคย และในบางประเทศความหมายของคำว่า Diploma เป็นการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง มีหลายคนงงกับคำว่า Diploma คำว่า Diploma ในสวิตเซอร์แลนด์เองก็มีการใช้หลายแบบ เช่น ใช้กับบุคคลที่ผ่านการสอบและฝึกหัดเทคนิคเฉพาะทางในหลักสูตรพิเศษ เช่น วิศวกร เภสัชกร หรือใช้กับการศึกษาในสายอาชีพ ที่มีภาคปฏิบัติเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ขณะนี้สวิตเซอร์แลนด์ก็เช่นเดียวกับยุโรปอื่นกำลังปรับระบบการศึกษาในประเทศของตนให้เป็นสากลมากขึ้น แล้วควรจะเรียนต่ออย่างไรดี? โดยทั่วไปควรเรียนปริญญาตรี หรือ ปริญญาเอก เลย เนื่องจากไม่มีการเทียบวุฒิการศึกษาอย่างเป็นทางการ การเรียนต่อระดับปริญญาโทค่อนข้างยุ่งยากกว่า แต่มีหลักสูตรปริญญาโทบางหลักสูตร ที่เปิดร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ มักสอนเป็นภาษาอังกฤษ เช่นหลักสูตรวิชาการบริหาร การจัดการ และการท่องเที่ยว การโรงแรม ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง
าต้องเข้าใจว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มาตรฐานการครองชีพของพลเมืองดีมาก ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมื่อเทียบกับของไทยจึงดูเหมือนกับว่าค่อนข้างสูง การหางานพิเศษทำมีโอกาสน้อยกว่าที่อื่น ยกเว้นการทำงานในลักษณะการฝึกงานที่ใช้กับสาขาวิชาการโรงแรมที่บังคับให้มีการฝึกงานและได้รับเงินเดือน อย่างไรก็ดีการเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ก็ไม่ได้แพงกว่าที่อื่นๆ เมื่อเทียบกันแล้ว โรงเรียนที่มีมาตรฐานเดียวกันก็มีค่าเล่าเรียนที่ใกล้กันทั่วโลก ต่างกันก็ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น การเรียนในสถาบันของรัฐ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน เสียเพียงค่าสมัคร ค่ารักษาสถานภาพของนักเรียน แต่ละมหาวิทยาลัยก็แตกต่างกัน (ระหว่าง 800-1500 ฟรังค์สวิส ต่อปี) ค่าสอบ ค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ดังนั้นกฏเกณฑ์การรับเข้าจึงยากกว่าการเข้าเรียนในวิทยาลัยเอกชน ซึ่งต้องเสียค่าเล่าเรียนเป็นเทอมเช่นเดียวกับในอังกฤษ อเมริกาหรือออสเตรเลีย และค่าประกันสุขภาพและอุบัติเหตุที่นักเรียนทุกคนต้องทำ อัตราค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับบริษัท อายุของผู้ทำประกัน และระยะเวลา (ระหว่าง 90 - 220 .-ฟรังค์ต่อเดือน) ค่าใช้จ่ายเช่นค่าเล่าเรียน อาหาร ที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัว ที่ต้องมีให้พอเพียง สำหรับการเรียนในสถาบันของรัฐโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 15,000.- 20,000.- ฟรังค์สวิส * การเรียนในสถาบันเอกชนแตกต่างกันไประหว่างปีละ 30,000 65,000.- ฟรังค์สวิส* ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตรที่เรียน ซึ่งรวม ค่าเล่าเรียน อาหาร ที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่เป็นตัวแปรหลักของค่าใช้จ่ายรวม (* อัตราแลกเปลี่ยนตามสถานการณ์โลก ในปี 2003 อยู่ระหว่าง 31 36 บาท ต่อ 1 ฟรังค์สวิส)
การธนาคารและประกันภัย ชาวสวิสนับเป็นพลเมืองที่มีรายได้ประชาชาติสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อาชีพพิเศษได้แก่ การเป็นทหารรับจ้าง ชายชาวสวิสอายุ 20 ขึ้นไป ทุกคนต้องได้รับการฝึกเป็นทหารและต้องซ้อมฝึกทุก 2 ปีจนกว่าจะอายุ 50 ที่พัก สถานศึกษาของรัฐไม่มีการบริการในเรื่องการจัดหาสถานที่พักให้ แต่ในทุกมหาวิทยาลัยมีสำนักเลขานุการสำหรับดูแลนักเรียนต่างชาติ ซึ่งมีการจัดหาข้อมูลเรื่องที่พักไว้บริการ แต่ไม่รับติดต่อให้ นักเรียนต้องติดต่อเอง สถาบันเอกชนมีบริการครบรูปแบบ ตั้งแต่จัดหาสถานที่พักทุกชนิด ตั้งแต่ Family ,Studio, Apartment มีบริการอาหาร หรือหาเอง บางแห่งก็สามารถพักได้ในสถาบัน บริการรถรับส่งที่สนามบิน หรือสถานีรถไฟ ค่าบริการก็แตกต่างกันไป ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของข้อมูลสถาบันต่างๆ และการศึกษาต่อในสวิตเซอร์แลนด์ในประเทศไทยได้แก่ฝ่ายวัฒนธรรมและการศึกษาสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ และองค์กรที่เป็นตัวแทนของสถาบันในประเทศไทย ในสวิตเซอร์แลนด์นักเรียนไทยควรรายงานตัวกับสถานทูตไทย ณ กรุง Bern เงินตราและบัตรเครดิต เงินตราของสวิตเซอร์แลนด์เรียกว่า "ฟรังก์สวิส" โดย 1 ฟรังก์สวิส เท่ากับประมาณ 35 บาท (อัตราเดือนตุลาคม 2548) สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้ตามธนาคารทุกแห่ง ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟตามเมืองใหญ่ และโรงแรมทั่วไป ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารจะได้อัตราดีที่สุด บัตรเครดิตที่สามารถใช้จ่ายได้จะต้องเป็นประเภทบัตรเครดิตที่ได้รับการยอมรับ อาทิ วีซ่า มาสเตอร์การ์ด และอเมริกันเอ็กซ์เพรส การใช้บริการจากธุรกิจในสวิตเซอร์แลนด์ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ มักจะรวมค่าบริการไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ใช้บริการก็อาจให้ทิปเล็กน้อยเพื่อเป็นการแสดงน้ำใจเท่านั้น การคมนาคม สวิตเซอร์แลนด์ใช้ระบบขนส่งมวลชน รถเมล์ รถราง และเรือโดยสาร ถือว่าสะดวกรวดเร็ว ตรงเวลา และราคาไม่แพง ส่วนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (การจราจรขับชิดขวา) ต้องเสียค่าธรรมเนียมในสถานที่จอดรถตามเมืองใหญ่ ระบบไปรษณีย์สวิสที่เชื่อถือได้ และมีบริการตู้โทรศัพท์สาธารณะทั่วไป สามารถตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์และส่ง E-mail ได้จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ การแต่งกาย สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอากาศหนาวจัดบนพื้นที่ภูเขาและที่สูงในฤดูหนาว การแต่งกายควรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วยแม้จะไม่ใช่ฤดูหนาว และตรวจดูสภาพความพร้อมของร่างกาย หากจำเป็นต้องขึ้นภูเขาที่สูงมาก (3,000 เมตรหรือสูงกว่า) เนื่องจากอากาศอาจมีปริมาณออกซิเจนต่ำ อาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ ชุมชนไทย มีชาวไทยพำนักอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ประมาณ 12,000 คน เป็นชายร้อยละ 20 หญิงร้อยละ 80 สมาคม/ชมรมไทยอยู่ประมาณ 15 แห่ง วัดไทยอยู่ 3 แห่ง คือวัดศรีนครินทราวราราม ตั้งอยู่ที่เมือง Aarau โทรศัพท์ (+4162) 858-6030 วัดธรรมปาละตั้งอยู่ที่เมือง Kandersteg
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบิร์น Royal Thai Royal Embassy , Bern โทรศัพท์(+4131) 970-3030, 970-3411 โทรสาร (+4131) 970-3035 หน่วยงานราชการไทย สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครซูริค Royal Thai Honorary. Consulate- General, Zurich โทรศัพท์ (+4143) 344-7000 โทรสาร (+4143) 344-7001 สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครเจนีวา Royal Thai Honorary. Consulate- General, Geneva โทรศัพท์ (+4122) 311-07263 โทรสาร (+4122) 311-0049 สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำเมืองบาเซล Royal Thai Honorary Consulate โทรศัพท์ (+4161) 206-4565 โทรสาร (+4161) 206-4546
การขอวีซ่าสวิสแลนด์ (Switzerland Visa)
เอกสารการขอวีซ่าประเภทนักเรียน การขอวีซ่าเข้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเภทนักเรียนนั้น ผู้ขอต้องยื่นหลักฐานและข้อมูลดังต่อไปนี้ ด้วยตนเอง แบบคำร้องขอวีซ่าที่กรอกและลงลายมือชื่อโดยสมบูรณ์ โดยผู้ยื่นคำร้อง จำนวน 3 ชุด หนังสือเดินทาง (โปรดแนบสำเนา 1 แผ่น ด้วย) หลังการเยือนสวิตเซอร์แลนด์แล้วยังต้องมีอายุใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน รูปถ่ายปัจจุบัน ขนาดติดหนังสือเดินทาง 3 ใบ ผู้ยื่นคำร้องต้องให้ข้อมูลต่อไปนี้ (โปรดแนบสำเนา 2 ชุด) จดหมายจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่ตอบรับผู้ยื่นคำร้องเข้าศึกษา หลักฐานแสดงการชำระค่าเล่าเรียน หลักฐานการเงิน ซึ่งแสดงว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายระหว่างการพำนักอยู่ในสวิตแซอร์แลนด์หรืออย่างน้อยสำหรับการพำนักเป็นเวลา 1 ปี ในกรณีที่การศึกษาใช้ระยะเวลานานกว่า 1 ปี (สมุดคู่ฝากเงินธนาคารของผู้ยื่นคำร้อง, สมุดคู่ฝากเงินธนาคารและจดหมายรับรองจากบิดา-มารดา, สมุดคู่ฝากเงินธนาคารและจดหมายรับรองจากผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ) หลักฐานการศึกษา(วุฒิการศึกษาที่สำเร็จแล้ว และประวัติการศึกษา (CV) จดหมายยืนยันว่าจะเดินทางออกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลังการพำนักอยู่ตามที่ขออนุญาตไว้ วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ผู้ยื่นคำร้องควรแสดงให้เห็นว่าการศึกษาที่ประสงค์จะศึกษา (ภาษา, โรงแรม, มหาวิทยาลัย,ฯลฯ) นั้น จำเป็นต่อการศึกษาต่อหรือการทำงานในประเทศไทย) แผนการในอนาคตของผู้ยื่นคำร้องหลังสำเร็จการศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ค่าธรรมเนียมวีซ่า 40 ฟรังก์สวิส เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 20 ฟรังก์สวิส (ชำระเป็นเงินไทย) สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประเมินความรู้ด้านภาษาของผู้ยื่นคำร้องด้วย แบบคำร้องขอวีซ่าประเภทนักเรียนจะถูกส่งไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อพิจารณาอนุมัติ ตำรวจควบคุมคนต่างด้าวของจังหวัดที่เกี่ยวข้องอาจจะขอเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติม โปรดทราบว่ากระบวนการพิจารณาคำร้องขอเดินทางเข้าสวิตเซอร์แลนด์อาจใช้เวลาถึง 3 เดือน