ประเทศอินเดีย
ข้อมูลทั่วไป อินเดียเป็นประเทศที่เก่าแก่ยาวนาน ดังนั้น สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในปัจจุบัน จึงเป็นการผสมผสานระหว่างของเก่าและใหม่ อินเดียเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู พุทธ และมุสลิม หลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้โครงสร้างสาธารณรัฐ ปัจจุบันอินเดียมี 28 รัฐ และดินแดนกึ่งรัฐ 7 แห่ง ภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษใช้กันแพร่หลายทั่วไปในอินเดีย ปัจจุบันอินเดียมีประชากรกว่าพันล้านคน โดยอาศัยในกรุงนิวเดลีประมาณกว่า 10 ล้านคน วิถีชีวิตคนอินเดีย ประชากรอินเดียนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 82.41 อิสลามร้อยละ 11.67 ที่เหลือนับถือศาสนาอื่น ทั้งนี้เป็นการนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 0.77 วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลความเชื่อความศรัทธาจากศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ และประชากรที่มิได้นับถือศาสนาฮินดู ก็มีวิถีชีวิตภายใต้ศรัทธาของตนอย่างเคร่งครัด คนอินเดียค่อนข้างคบหาคนต่างชาติด้วยความระมัดระวังและมีความเป็นชาตินิยมสูง ปัจจุบันอินเดียมีประชากรมาก คนอินเดียจึงเป็นคนที่มีความพยายามสูง มีความอดทน ฉลาดในการต่อรองช่ำชองในธุรกิจการค้าขาย
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ภูมิประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 7 ของโลก มีพื้นที่ทั่วไปประมาณ 3.3ล้านตารางกิโลเมตร แม้จะตั้งอยู่ในเอเชียอินเดียก็มีความแตก ต่างจากประเทศอื่นๆ ในเอเซีย และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้านทิศเหนือของประเทศจรดเทืองเขาหิมาลัยซึ่งลาดเทลงไปสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ในอินเดียตอนกลางเทือกเขาวินธัย (Vindhya) แบ่งแยกคาบสมุทรเดคข่าน (Deccan Peninsular) ออกจากที่ราบตอนเหนือของประเทศ ด้านชายฝั่งทะเลทิศตะวันตะวันออกติดฝั่งเบงกอล (Bengal Bay) และทิศตะวันตกเป็นฝั่งทะเลติดกับทะเลอาหรับ (Aradian Sea) ด้านทิศใต้สุดจรดมหาสมุทรอินเดียอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่ราบเดคข่าน (Deccan Plateau) เป็นถิ่นเก่าแก่ที่สุดของอินเดีย ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันกับแผ่นดินทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย ภายหลังเกิดความเปลี่ยนแปลงของแปลือกโลกจึงแยกออกจากกันดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อินเดียมีพรมแดนทางบกติดต่อกับปากีสถาน อัพฟานิสสถาน จีน เนปาล ภูฐาน พม่า และบังคลาเทศ ส่วนอื่นๆ ของประเทศติดกับมหาสมุทรอินเดียและทะเลอาหรับ ภูมิอากาศ อินเดียมี 3 ฤดูกาลได้แก่ 1.ฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส 2.ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส 3.ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคมอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ - 3 องศาเซลเซียส เฉพาะบางเมืองเท่านั้น เวลา เวลาในประเทศอินเดียช้ากว่าในประเทศไทย 1.30 ชั่วโมง แต่การทำกิจกรรมและบริหารเวลาจะต่างกันมากโดยทั่วไปชาวอินเดียส่วนใหญ่จะเริ่มงานและทานอาหารเช้าเวลา 10.00 น และพัก เที่ยงตอน14.00 น.หรือ 15.00 น. และทานอาหารเย็น ตอน 20.00 น.
มหาวิทยาลัยบังกาลอร์เปิดสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย โดยแบ่งเป็น 10 คณะ 120 สาขาวิชา ภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วยตึกของแต่ละคณะ ห้องสมุดประจำภาควิชาหอสมุดกลางที่หอพักนักศึกษาไปรษณีย์ธนาคารและร้านอาหารมหาวิทยาลัยบังกาลอร์แบ่งระบบควบคุมการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. มหาวิทยาลัยบังกาลอร์ จะควบคุมดูแลคณะบริหารธุรกิจ นิเทศศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บัญชี จิตรกรรม การโรงแรมและการท่องเที่ยว สังคมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ 2. มหาวิทยาลัยวิศเวศวารายาเทคโนโลยี(Visvesvaraya Technology University) เป็นส่วนหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ที่แยกตัวออกมาควบคุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3. มหาวิทยาลัยอินเดีย(India University)เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ที่แยกตัวออกมา ควบคุมคณะนิติศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยราจีฟ คานธี(Rajiv Gandhi University) เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ที่ แยกตัวออกมาควบคุมคณะแพทย์ คณะพยาบาล และคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลอินเดียได้ร่วมมือกับภาคเอกชนมีนโยบายที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยบังกาลอร์ให้เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีควบคู่กันไป ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ามีนักศึกษาจากทั่วโลกมาศึกษาต่อที่นี่ทั้งประเทศในแถบยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย เพราะระบบการศึกษาของอินเดีย อยู่ในอันดับ 4 ของโลกในทุกสาขาวิชา ซึ่งได้รับ การจัดอันดับจาก Association of InternationalUniversity เป็นองค์กรหนึ่งของ Unesco ซึ่งมีสมาชิกกว่า 265 ประเทศ ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยบังกาลอร์ได้รับระบบการศึกษามาจากประเทศอังกฤษ กล่าวคือมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ใช้ระบบการศึกษาแบบมีวิทยาเขตร่วม (Affiliating) หมายถึง การให้เอกชนมาลงทุนในด้านการสร้างสถานศึกษาหรือวิทยาลัยต่าง ๆ (College) และจัดเก็บค่าเทอม แต่ในระบบการสอน รายวิชาที่เรียน และการสอบ ทางมหาวิทยาลัยบังกาลอร์จะเป็นผู้ควบคุมและดูแลทั้งหมด ในการสอบแต่ละครั้งทางมหาวิทยาลัยบังกาลอร์จะเป็นผู้ประกาศโดยวิทยาลัยทั้งหมดจะต้องทำการสอบพร้อมกันหมด และผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ สำหรับนักศึกษาต่างชาตินิยมที่จะเข้าเรียนตาม College ต่าง ๆ เนื่องมาจากมหาวิทยาลัยบังกาลอร์กลาง ( Central College Campus) จะเปิดให้เฉพาะชาวอินเดียที่ได้รับทุนจากรัฐบาลเท่านั้นเข้าศึกษา นักศึกษาต่างชาติหรือนักเรียนอินเดียที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล ต่าง ๆ ก็พอใจในการเข้าเรียนตามCollegeที่เปิดโดยเอกชนเพราะมาตรฐานการเรียนการสอนนั้นเท่าเทียมกันและได้รับปริญาบัตรจากมหาวิทยาลัยบังกาลอร์เหมือนกัน โดยไม่มีการระบุว่าเรียนใน College ใด ในหนึ่งปีการศึกษาของมหาวิทยาลัยบังกาลอร์ แบ่งออกเป็น 2 เทอม เทอมที่ 1 เดือนกรกฎาคม พฤศจิกายน เทอมที่ 2 เดือนธันวาคม พฤษภาคม การสอบในหนึ่งเทอมการศึกษาจะมีการสอบ 2 ครั้ง คือ การสอบเก็บคะแนนหรือเรียกว่า การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค เก็บคะแนนเข้าเรียน 10 % การสอบกลางภาคที่ข้อสอบออกโดย College 20% การสอบปลายภาคข้อสอบที่ออกโดย Bangalore University 70% เวลาในการรับสมัคร ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เปิดรับสมัครเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายนของทุกปี ปริญาญาตรี เปิดรับ สมัครเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม ของทุกปี ปริญาญาโท เปิดรับสมัครเดือนมีนาคม - สิงหาคม ของทุกปี ปริญาญาเอก เปิดรับสมัครเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปี เอกสารในการสมัครเรียน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา 1. พาสปอร์ตที่มีอายุการใช้งานก่อนหมดอายุ 1 ปี 2. สูจิบัตร (ใบเกิด) พร้อมสำเนา 1 ชุด 3. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษตัวจริง 2 ชุด 4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 6 ใบ และรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 6 ใบ 5. ใบรับรองจบการศึกษาโรงเรียนเดิมฉบับภาษาอังกฤษ 1 ใบ ระดับปริญญาตรี 1. พาสปอร์ตที่มีอายุการใช้งานก่อนหมดอายุ 1 ปี 2.ranscript มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช. ฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ชุด 3. ใบรับรองการตรวจเลือดเชื้อ HIV จากโรงพยาบาล ฉบับภาษาอังกฤษ 4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 6 ใบ และรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 6 ใบ (ไม่ต้องใช้หลักฐานทางด้านการเงิน และไม่ต้องใช้ผลสอบ TOEFL, IELTS) ระดับปริญญาโท 1. พาสปอร์ตที่มีอายุการใช้งานก่อนหมดอายุ 1 ปี 2. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษวุฒิปริญญาตรีจำนวน 2 ชุด 3. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ชุด 4. ใบรับรองการตรวจเลือดเชื้อ HIV จากโรงพยาบาล ฉบับภาษาอังกฤษ 5. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 6 ใบ และรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 6 ใบ (ไม่ต้องใช้หลักฐานทางด้านการเงิน และไม่ต้องใช้ผลสอบ TOEFL, IELTS) ระดับปริญญาเอก 1. พาสปอร์ตที่มีอายุการใช้งานก่อนหมดอายุ 1 ปี 2. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษวุฒิปริญญาโทจำนวน 2 ชุด 3. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษวุฒิปริญญาตรีจำนวน 2 ชุด 4. Transcript ฉบับภาษาอังกฤษวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ชุด 5. บท Proposal (โครงเรื่องวิจัยในระดับปริญญาเอกบทย่อ) ประมาณ 3 บท 6. ใบรับรองการตรวจเลือดเชื้อ HIV จากโรงพยาบาล ฉบับภาษาอังกฤษ 7. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 6 ใบ และรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 6 ใบ (ไม่ต้องใช้หลักฐานทางด้านการเงิน และไม่ต้องใช้ผลสอบ TOEFL, IELTS) หลักสูตรระดับปริญญาตรี การศึกษาในระดับปริญญาตรีที่อินเดียหากเป็นสาขาทางด้าน Arts, Commerce, Sciences, Management, Humanities และ Computer จะใช้เวลาเรียน 3 ปี ส่วนสาขาเกี่ยวกับ Agricuture, Dentistry, Engineering, Pharmacy, Technology และ Verterinary Medicine (สัตวแพทย์) จะใช้เวลาเรียน 4 ปี สาขาวิชา Law, Architecture และ Medicine จะใช้เวลาเรียน 5 ปี หลักสูตรระดับปริญญาโท การศึกษาในระดับปริญญาโทจะใช้เวลาเรียน 2 ปี ซึ่งในเนื้อหาของหลักสูตรจะเป็นเรื่องของ Coursework โดยไม่มี Thesis หรือ Research ซึ่งการรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขา วิศวกรรมและเทคโนโลยี จะรับโดยที่ผู้สมัครต้องผ่าน Graduate Aptitude Test หรือทดสอบความ ถนัดในด้านวิศวกรรม ระดับที่สูงกว่าปริญญาโทที่เรียกว่า Pre-Doctoral Programe หรือ Master of Philosophy (M.Phil) ซึ่งจะรับผู้ที่จบระดับปริญญาโทมาแล้ว ซึ่งระดับนี้สามารถจบโดยการทำวิจัยเป็นหลัก หรืออาจรวมกับ Coursework และการจะได้รับปริญญาเอกขั้น Ph.D. ก็ต้องทำวิจัยอีก 2 ปีหลังจากจบระดับ M.Phil หลักสูตรการศึกษา ปริญญาเอก การศึกษาในระดับปริญญาเอกที่อินเดียนั้นมี 2 ระบบ คือ 1. ระบบการเรียนที่ต้องทำ Thesis ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาในขั้น Doctor เท่านั้นแต่ไม่ สามารถใช้คำนำหน้านามว่า ดร. จะใช้เวลาเรียน 3 ปี 2. ระบบการเรียนที่ต้องทำResearchผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาในขั้นPh.D.สามารถใช้คำนำ หน้านามว่า ดร. จะใช้เวลาเรียน 2-7 ปี แล้วแต่ระยะเวลาของนักศึกษาในการทำวิจัย มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของอินเดียไม่ได้เน้นเรื่องผลสกอร์ TOEFL หรือ IELTS ในการประเมินความ สามารถทางด้านภาษาอังกฤษของนักเรียน อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสอนในสถาบันการศึกษาของ อินเดียใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียควรที่จะมีความรู้ภาษา อังกฤษบ้างพอสมควร
อินเดียเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับระบบการศึกษาให้อยู่อันดับ 4 ของโลก (จากการจัดอันดับของ Unessco) ระดับปริญญาตรีระยะเวลาการศึกษา 3 ปี วิชาที่เปิดสอน B.Sc. (Microbiology) B.Sc. (Bio-Technology) B.Sc. (Genetics) B.C.A B.Com B.A (Journalism, Psychology & Communicative English) General Nursing อัตราค่าเล่าเรียน BPT (Physiotherapy) ค่าเรียนพร้อมหอพัก 350,100 บาท B.Sc. (Fashion Designing) 378,365 บาท B.B.M 398,100 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว ระดับปริญญาตรีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี วิชาที่เปิดสอนB.E.เอกสาขาวิชา Bio-Technology Chemical Civil Computer Science Electrical and electronics Electronics and Communication Industrial and Management Information Science and Technology Instrumentation Technology Manufacturing Science Mechanical Medical Electronics Telecommunication อัตราค่าเล่าเรียน B.Phama 542,765 บาท B.H.M 502,865 บาท B.E.(engineering) 689,615 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว ระดับปริญญาตรีระยะเวลาการศึกษา 5 ปี อัตราค่าเล่าเรียน LL.B 424,015 บาท B. Fine Arts 454,000 บาท B.Architecture 655,615 บาท B.Medical 1,252,000 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว ระดับปริญญาโท วิชาที่เปิดสอน M.Sc.Psychology M.Sc.Mathematics M.S.W. M.A.(Art) M.S.Communication อัตราค่าเล่าเรียน 270,100 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว วิชาที่เปิดสอน M.Sc.Bio-chemistry M.Sc.Micro-biology M.Com อัตราค่าเล่าเรียน 330,100 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว วิชาที่เปิดสอน M.Sc.Bio-Technology 470,100 บาท M.Sc.Electronic media 50,100 บาท M.B.A. 490,100 บาท M.Tech 460,100 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว M.Tech เอกสาขาวิชา Computer Science Construction Technology Digital Communication Electronics Environmental Engineering Machine Design Power Electronics ค่าเล่าเรียน M.T.A 336,865 บาท M.Ed. 294,500 บาท LL.M 302,500 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว ระดับระดับปริญญาโทระยะเวลาการศึกษา 3 ปี ค่าเล่าเรียน M.C.A 480,100 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว ระดับปริญญาเอก ระดับปริญญเอกระยะเวลาการศึกษา 2-7 ปี ในทุกสาขาวิชา ค่าเล่าเรียน ปีละ 110,000 บาท หมายเหตุ : รวมหอพักแล้ว
เงินตราต่างประเทศ เครื่องประดับ อุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 เหรียญสหรัฐ แต่จะต้องแสดงรายการต่อเจ้าหน้าที่ก่อนนำเข้า ห้ามการนำเข้าและส่งออกเงินรูปีอินเดีย เครื่องประดับประเภททองรูปพรรณ จะนำเข้าได้ไม่เกิน 5 กิโลกรัม และต้องแสดงรายการต่อเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ไฟฟ้า กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีทัศน์ จะต้องแสดงรายการต่อเจ้าหน้าที่ การแลกเปลี่ยน ชาวต่างประเทศอาจเปิดบัญชีกับธนาคารต่างประเทศได้ และผู้เปิดบัญชีควรถือเงินสด หรือ Traveller's Cheque การเบิกถอนเงินตราต่างประเทศในรูปเงินสดจากบัญชีธนาคารจะจำกัดไว้ไม่เกิน 500 เหรียญสหรัฐต่อเดือนต่อคน หากเกินครั้งละ 500 เหรียญสหรัฐต้องแสดงหลักฐานการอนุญาตให้นำเงินจำนวนนั้นเข้าประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินรูปีอินเดียโดยวิธีการอื่น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สกุลเงิน รูปีอินเดีย (INR)หน่วยย่อยของรูปีเรียก เปซ่า (Paise)อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 43.5 รูปี และ 1 รูปี เท่ากับ 0.9 บาท (2548) บัตรเครดิตที่สามารถใช้ได้ทั่วไปคือบัตร Visa American Express และ Mastercard
ข้อควรระวัง ควรบริโภคอาหารและน้ำที่สะอาดเท่านั้น ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โรคที่ควรระวัง คือ โรคท้องเสีย มาลาเรีย โรค Hepatitis A, B, C, D, (ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางอาหาร และน้ำดื่ม การถ่ายโลหิต การมีเพศสัมพันธ์ ฯลฯ) โรคไข้เลือดออก โรค HIV/DIDS (เอดส์) กามโรคชนิดต่าง ๆ ยาที่ควรนำติดตัว ได้แก่ ยาแก้ไข้ แก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย ยาป้องกันไข้มาลาเรีย ยาแก้แพ้ ทาผิวหนัง ยาแก้พิษแมลงกัดต่อย ยารักษาโรคเฉพาะบุคคล ฯลฯ ซึ่งการนำยาติดตัวควรมีใบสั่งยาของแพทย์กำกับไว้ด้วย สำหรับยาสามัญประจำบ้านมีจำหน่ายทั่วไป การเข้าเมืองการตรวจลงตรา ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยประเภทธรรมดาต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย หรือสถานกงสุลใหญ่อินเดียประจำประเทศไทยสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา หากพำนักอยู่ในประเทศอินเดียไม่เกิน 90 วัน ไปรษณีย์ สำนักงานไปรษณีย์อินเดียเปิดทำการตั้งแต่ 9.30-17.30 น แต่ในเมืองเล็กเปิดเวลา 15.30 น. เนื่องจากมีคนใช้บริการที่ไปรษณีย์จำนวนมากและช้ามากจึงควรเผื่อเวลาและทำใจไว้ด้วยว่าจะต้องเสียเวลาที่ไปรษณีย์มาก การรีบไปไปรษณีย์แต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงผุ้คนแออัดก็ไม่ได้ผลเพราะเจ้าหน้าที่มักมาทำงานสาย บริการไปรษณีย์ของอินเดียเชื่อถือได้จดหมายไปต่างประเทศใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ นอกจากไปรษณีย์ปกติแล้วยังมีบริการไปรษณีย์ด่วนเรียกว่า Speed Post สำหรับบริการในประเทศ (รวมทั้งประเทศใกล้เคียง) ส่งถึงผู้รับภายใน 24 ชั่วโมง หรือจะใช้บริการส่งด่วนของเอกชนที่มีอยู่หลายบริษัทก็ได้ การส่งพัสดุหรือสิ่งของบรรจุหีบห่อจะต้องนำของไปให้ศุลกากรตรวจก่อนส่งทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ การใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศสะดวกได้มาตราฐานสากล โทรศัพท์มือถือที่นำไปจากประเทศไทยใช้ได้ดียกเว้นบางพื้นที่ที่ห่างไกล บางแห่งไม่มีสัญญาณการโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศควรจะให้โอเปอเรเตอร์ ในโรงแรมที่พักต่อสายให้ก็ได้ หรือใช้บริการที่ PTO (Post and Telegraph Office) ที่อยู่ใกล้ที่สุดก็ได้ในเมืองใหญ่สำนักงาน PTO เปิดตลอดเวลา 24 ชั่วโมงนอกจากนั้นยังมีบริการของเอกชนเปิดให้บริการโดยเก็บเงินตามมิเตอร์ที่บันทึกเวลาการใช้ อินเทอร์เน็ต อินเดียมีความก้าวหน้าเรื่องคอมพิวเตอร์มาก การใช้อินเทอร์เน็ตในอินเดียจึงสะดวก ในเมืองใหญ่ๆ จะพบอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เปิดให้ บริการ อยู่ทั่วไป ในโรงแรมบางแห่งก็มีบริการอินเตอร์เน็ต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี 56-N. Nyaya Marg, Chanakyapuri, New Delhi - 110021 โทรศัพท์ +91 11 2611-5678, 2611-8103 โทรสาร +91 11 2687-2029 Website : www.thaiemb.org.in E-mail : thaiemb@ndc.vsnl.net.in
การขอวีซ่าอินเดีย (Canada Visa)
ศูนย์รับคำขอวีซ่าประเทศอินเดีย ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ข้อมูลการขอ วีซ่า แต่ละประเภท ละค่าใช้จ่าย http://www.indianembassy.gov.in/bangkok/visa.htm http://www.ivac-th.com/thai/index.aspx The India Visa Application Centre 1 Glas Haus Building 15th Floor, Room No 1503 Sukhumvit 25, Sukhumvit Road, Wattana Bangkok 10110. Call Centre: +66 (0) 02-6652968/69 Email: info@ivac-th.com รายละเอียดอื่นๆhttp://www.ivac-th.com 1. หนังสือเดินทางไทย ซึ่งต้องมีอายุเหลือไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (พร้อมถ่ายสำเนาหน้าที่มีรูปมาอีก 1 แผ่น) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 แผ่น 3. รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้วครึ่ง หรือ 2 นิ้ว...ใช้รูปเดียวครับ 4. เงินค่าธรรมเนียมวีซ่าอินเดีย 1,700 บาท สำหรับแบบฟอร์ม Visa Application http://www.ivac-th.com/thai/index.aspx