ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลทั่วไป ชื่อทางการ สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) แบ่งออกเป็น 4 แคว้นใหญ่ คือ อังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ
เมืองหลวง กรุงลอนดอน
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป
พื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด 242,514 ตารางกิโลเมตร หรือ 93,638 ตารางไมล์
ประชากร มีประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประกอบด้วย ชนชาติอังกฤษ สก็อต เวลส์ ไอริช และประชากรจากประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ประเทศในตะวันออกกลาง แอฟริกา และจีน
ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอังกลิคัน (Anglican)
การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศของ Great Britain (เกรทบริเทน) จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาวมีความชื้นสูง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่าน ทำให้เกิดหมอกหนาแน่นปกคลุมในบางครั้ง ทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตกมากกว่าทางภาคตะวันออก เดือนที่ฝนตกน้อยคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 18 องศาเซลเซียส
ฤดูกาลมีทั้งหมด 4 ฤดูคือ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) เดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก บางวันอากาศอบอุ่น มีแสงแดดจัดใน ตอนเช้า และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเป็นหนาวเย็นหรือ ฝนตกในช่วงบ่าย
ฤดูร้อน (Summer) เดือนมิถุนายน-สิงหาคม อากาศ ส่วนใหญ่จะอบอุ่นและแสงแดดจัดจ้า
ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) เดือนกันยายน-พฤศจิกายน อากาศจะเย็นขึ้นเรื่อย ๆ ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีสวยงามและร่วงหล่น
ฤดูหนาว (Winter) เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์อากาศช่วงนี้ จะหนาวมากที่สุด มีหิมะตกในบางพื้นที่ กลางคืนจะยาวกว่า กลางวันและมืดเร็วกว่าปกติ
เวลา สหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก (GMT - Greenwich Mean Time) ดังนั้นประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จึงมีเวลาที่เร็วกว่า โดยเร็วกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ปลายเดือนตุลาคม) หรือ 7 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนตุลาคม- ปลายเดือนมีนาคม) ทั้งนี้ เนื่องจากสหราชอาณาจักร จะเปลี่ยนเวลา daylight saving จาก GMT ไปใช้ BST (British Summer Time) ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งหมายถึงการปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ปลายเดือนตุลาคม
หมายเหตุ ชุมชนคนไทยในประเทศนี้มีประมาณ 35,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบกิจการร้านอาหารไทย ทำงานในร้านอาหารไทยซึ่งมีอยู่ประมาณ 900 ร้าน ในด้านต่างๆ อาทิ พ่อครัว แม่ครัว พนักงานต้อนรับ นอกจากนี้ยังมีคนไทยสมรสกับคนอังกฤษ นักเรียน นักศึกษาไทย ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 4,300 คน ตลอดจนผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น นักธุรกิจ สถาปนิก ผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าอาหารไทย เป็นต้น
ประมุข มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2(Queen ElizabethII) เป็นประมุข (Head of State) รัฐสภา ประกอบด้วยสภาสามัญหรือสภาผู้แทน (The House of commons) และสภาขุนนาง (The House of Lords) มีหน้าที่พิจารณาออกกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆพิจารณาข้อเสนอและนโยบายด้านภาษีและการคลังของรัฐบาล กำกับดูแลการบริหารงานของรัฐบาล รัฐบาล มาจากการเลือกตั้งทุก 5 ปี พรรคการเมืองสำคัญ ได้แก่ พรรคแรงงาน (Labour) พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative) พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat) นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่จำกัดสมัยหากได้รับเลือกให้มาดำรงตำแหน่งต่อไป
หลักสูตรปริญญาตรี ใบปริญญาจากสหราชอาณาจักร นับได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพที่ก้าวหน้าและรายได้ที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับวุฒิการศึกษาจากที่ต่างๆ ปริญญาจากสหราชอาณาจักรจะแสดงว่านักศึกษามีความคิดก้าวไกลและมีทักษะในการแก้ไขปัญหา อันเป็นคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการของบริษัทชั้นนำทั่วโลก หลักสูตรต่างๆ ที่เปิดสอนได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานทางวิชาการที่ดีเลิศ ปริญญาที่ได้จึงมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ ไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคต ในกรณีที่นักศึกษามีคุณวุฒิที่เพียงพอในการสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีได้โดยตรง ก็สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้จากหลักสูตรปูพื้นฐานก่อนมหาวิทยาลัย (Access หรือ Foundation courses) ก่อนโดยอาจเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยได้
หลักสูตรระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ เป็นหลักสูตรระยะเวลา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาที่อาจใช้เวลานานกว่า อาทิ วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตว์แพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี) ชื่อของปริญญาที่ได้ จะเป็นปริญญาเฉพาะด้าน สำหรับการสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี นักเรียนต้องสมัครผ่านองค์กรกลาง คือ UCAS (Universities Central Admission System) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวม The Universities Central Council on Admission (UCCA) และ Polytechnics Central Admissions System (PCAS) เดิมเข้าด้วยกัน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 เป็นต้นมา นักเรียนสามารถเลือกสถาบันได้ 6 แห่ง โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับความต้องการ และต้องยื่นใบสมัครในช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคม สำหรับการเข้าศึกษาในปีถัดไป (ยกเว้น Oxford University และ Cambridge University) สำหรับนักเรียนไทยที่จบ ม.6 ยังไม่มีคุณวุฒิเพียงพอที่จะสมัครเข้าหลักสูตรระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักร เพราะวุฒิ ม.6 ของไทยเท่ากับ GCSE เท่านั้น (ไม่ถึง A Level) ดังนั้น นักเรียนจะต้องศึกษาเพิ่มเติม จนจบในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งดังต่อไปนี้ A Level 2 วิชา (A-E) และ GCSE 3 วิชา ไม่ต่ำกว่า C A Level 3 วิชา (A-E) และ GCSE 1 วิชา ไม่ต่ำกว่า C Higher 3 วิชา และ Standard Grade 2 วิชาไม่ต่ำกว่า C GNVQ ระดับ Advanced HND (Higher National Diploma) IB (International Baccalaureate) Access, Bridging Program หรือ Foundation Program
หลักสูตรปริญญาโท-เอก หลักสูตรปริญญาโท-เอกในสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบเข้าชั้นเรียน (Taught Programs) และ แบบทำวิจัย (Research Programs) หลักสูตรแบบเข้าชั้นเรียน สามารถแบ่งออกได้เป็น หลักสูตรปริญญาโท (Master Degree) ซึ่งตามปกติจะมีการเรียนในชั้น มีสัมมนา และการทำวิทยานิพนธ์
หลักสูตรอนุปริญญา (Graduate Diploma) หรือ ประกาศนียบัตร (Graduate Certificate) ซึ่งประกอบด้วยการสัมมนา (บางครั้งอาจมีเนื้อหาเหมือนกับหลักสูตรปริญญาโท) แต่ไม่มีการทำวิทยานิพนธ์ หลักสูตรอนุปริญญาบางหลักสูตร สามารถโอนหน่วยการเรียน เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทได้
สำหรับหลักสูตรแบบทำวิจัย เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาเจาะลึก ในสาขาวิชาที่ตนสนใจเป็นพิเศษ นักศึกษาจะต้องแสดงความคิดริเริ่มในการพัฒนาหัวข้อที่ตนสนใจภายใต้การดูแลแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน
อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตร (Diploma, Certificate Courses): วุฒิการศึกษาที่ได้คือ Post Graduate Certificate หรือ Post Graduate Diploma คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสหราชอาณาจักร หรือจากสถาบันในต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และผลสอบ IELTS 6 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตร) การเรียนการสอนจะเจาะลึก ในเนื้อหา นักศึกษาต้องเข้าฟังบรรยาย เข้าห้องสมุดเพื่อค้นคว้า ทำงานวิจัยนอกห้องเรียน และเขียนรายงานอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการสอบวัดผล
หลักสูตรปริญญาโทแบบเข้า ชั้นเรียน (Taught Master): วุฒิการศึกษาที่ได้คือ MA, MSc, LLM, Med และอื่นๆ คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสหราชอาณาจักรหรือ จากสถาบันในต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และผลสอบ IELTS 6 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตร) รูปแบบการเรียนการสอน จะใกล้เคียงกับหลักสูตรอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตร มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการสอบวัดผล แต่นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ในช่วงภาคการเรียนสุดท้าย (ประมาณ 3 เดือน) ซึ่งถือเป็นการวัดผลส่วนสำคัญ
หลักสูตรปริญญาโทแบบทำวิจัย (Research Master): วุฒิการศึกษาที่ได้คือ MPhil, MA/MSc by research, MRes คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสหราช อาณาจักรหรือ จากสถาบันในต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และผลสอบ IELTS 6 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตร) เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้การดูแลแนะนำ โดย 2 ใน3 ของหลักสูตร จะเป็นการศึกษาหัวข้อวิจัยและวางแผนการเขียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลการเรียน พิจารณาจากการเขียนวิทยานิพนธ์ความยาวประมาณ 30,000 40,000 คำ
หลักสูตรปริญญาเอก: วุฒิการศึกษาที่ได้คือ Ph.D, D.Phil คุณสมบัติของผู้สมัครคือ สำเร็จปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และ IELTS 6 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตร) โดยมีประวัติการศึกษาดีเด่น เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิจัยมักจะเริ่มในปีที่ 3 โดย 2 ปีแรก จะเป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาหัวข้อและวางแผนการเขียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลการเรียน พิจารณาจากการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีความยาวประมาณ 70,000 100,000 คำ
หลักสูตร MBA การเลือกเรียนหลักสูตร MBA ในสหราชอาณาจักร ถือเป็นก้าวสำคัญของการลงทุน เพื่อการงานที่มั่นคงในอนาคต เนื่องจากนักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะการจัดการต่างๆ อย่างกว้างขวาง หลักสูตร MBA นี้ เหมาะสำหรับผู้จัดการที่ต้องการพัฒนาความรู้จากประสบการณ์เพื่อให้ได้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และแนวทางการบริหาร ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งรวมหลักสูตร MBA ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีสถาบันเปิดสอนกว่าร้อยแห่งและมีนักศึกษาต่างชาติลงทะเบียนเรียนกว่า 3 พันคนในแต่ละปี นอกเหนือไปจากข้อกำหนดที่นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีผลการเรียนที่ดีแล้ว ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหลักสูตร MBA ส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรคือ นักศึกษาต้องมีประสบการณ์การทำงานในระดับบริหารมาเป็นเวลา 2-5 ปี ข้อกำหนดทางด้านภาษาอังกฤษคือผลสอบ IELTS และบางสถาบันอาจกำหนดให้นักศึกษาส่งผลสอบ GMAT ด้วย
หลักสูตรทางไกล นักศึกษาสามารถเลือกหลักสูตรในสาขาต่างๆ จากระบบการศึกษาทางไกลและการศึกษาระบบเปิดได้ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนจากที่บ้านในเวลาใดก็ได้ โดยอาศัยการอ่านเอกสารประกอบ หรือผ่านทางวีดีโอ ซีดีรอม เทป และข้อมูลจากเว็บไซด์ ส่วนการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมชั้นนั้น กระทำได้โดยทางจดหมาย อีเมล์ chatroom หรือ โทรสาร ในบางหลักสูตร นักศึกษาอาจจะต้องเข้าชั้นเรียนกับมหาวิทยาลัยทีมีความร่วมมือในประเทศของตน หรืออาจต้องเดินทางไปเรียนที่สหราชอาณาจักรเป็นเวลาสั้นๆ
หลักสูตรระยะสั้น สถาบันการศึกษาของสหราชอาณาจักรหลายแห่ง เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน หรือ 9 เดือน ซึ่งมักจะเป็นหลักสูตรวิชาชีพ นับเป็นการช่วยให้นักศึกษาได้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ ในการพัฒนาทักษะและได้เรียนรู้ทฤษฎี เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ (เช่นการตลาด การถ่ายภาพ สังคมสงเคราะห์ หรือการท่องเที่ยว) หลักสูตรระยะสั้นนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลองใช้ชีวิตนักศึกษาช่วงสั้นๆ ในสหราชอาณาจักร โดยมีเปิดสอนทั้งในภาคฤดูใบไม้ผลิ และภาคฤดูร้อน
ค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดปัจจัยหนึ่งสำหรับนักศึกษาที่กำลังพิจารณาทางเลือกในกาต่อ กล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนส่วนใหญ่ จะเป็นหลักสูตรเร่งรัดและใช้เวลาในการศึกษาน้อยกว่าหลักสูตรการเรียนในประเทศอื่นๆ จึงนับว่าเป็นการใช้เงินอย่างคุ้มค่า ถึงแม้ว่านักศึกษาจากประเทศไทย จะต้องเสียค่าลงทะเบียนตามอัตรานักศึกษาต่างชาติ อย่างไรก็ดี สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรเต็มเวลา จะได้รับบริการสุขภาพ หรือ National Health Service ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การตรวจและการเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งเฉพาะตัวนักศึกษาและครอบครัว
หลักสูตรภาษาอังกฤษ ในสหราชอาณาจักร มีสถาบันสอนภาษาอังกฤษที่ได้รับการรับรองจาก British Council อยู่กว่า 370 แห่ง โดยหลักสูตรที่เปิดสอน จะมีค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น General English, English for Business, English with Tourism, English for Young People (หลักสูตรที่รวมกิจกรรมทางสังคมอื่นๆเข้าไว้ด้วย), English for Academic Purposes (ในกรณีที่ระดับความสามารถทางด้านภาษายังไม่ถึงในระดับที่กำหนด ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง) และ English for Exams (หลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการสอบต่างๆ เช่น IELTS, TOEFL) ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรต่างๆ จะมีความแตกต่างกันไป นักศึกษาจึงควรตรวจสอบดูก่อนให้รอบคอบ โดยทั่วไปจะคิดในอัตราต่อสัปดาห์ และอัตราค่าเล่าเรียนจะอยู่ในช่วง £200 - £600 ต่อสัปดาห์ แต่สำหรับหลักสูตรการเรียนแบบทั้งปี อัตราค่าเล่าเรียนอาจอยู่ในช่วง £5000 ต่อปี
โรงเรียนประจำและวิทยาลัย นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ต้องจัดงบประมาณเกี่ยวกับค่าที่พัก อาหาร และการซักรีด แต่ควรจะตรวจสอบดูให้รอบคอบว่ามีอะไรอื่นอีกบ้างที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และอะไรอีกบ้างที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ตำราและค่าเข้าสอบ ค่าใช้จ่ายของแต่ละโรงเรียนจะแตกต่างกันออกไป โรงเรียนประจำจะมีค่าใช้จ่ายเทอมละประมาณ £ 3,000 - £ 7,000 ในขณะที่โรงเรียนปกติจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณภาคศึกษาละ £ 1,500 - £ 4,000
หลักสูตรวิชาชีพ ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรวิชาชีพ จะเฉลี่ยอยู่ในช่วง £500 ต่อสัปดาห์ ถึง £ 9,000 ต่อปี ส่วนค่ากินอยู่ จะตกประมาณเดือนละ £ 600
หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรปีพื้นฐานหรือ Foundation อาจมีค่าเล่าเรียนอยู่ในช่วง £ 4,000 - £12,000 ต่อปี ในขณะที่หลักสูตรการเตรียมความพร้อมทางด้านวิชาการระยะสั้น อาจมีค่าเล่าเรียนอยู่ในช่วง £ 1,000 - £ 6,000 หลักสูตรปริญญาตรีในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่จะใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ปี ยกเว้นหลักสูตรทางด้านภาษา (อาทิเช่น ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส) และหลักสูตรแบบ sandwich ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี สำหรับหลักสูตรด้านสถาปัตย์ แพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ อาจใช้เวลาถึง 6 ปี ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของนักศึกษาคือ ค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราค่าลงทะเบียนของตนเอง โดยคิดค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ได้ ดังนี้
หลักสูตรศิลปศาสตร์ £ 6,000 £ 9,000
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ £ 6,500 £ 10,000
หลักสูตรแพทยศาสตร์ £ 6,960 £18,000 สำหรับค่ากินอยู่ นักศึกษาควรจะจัดวางแผนงบประมาณสำหรับภาคการศึกษาที่ใช้เวลา 9 เดือน อัตราค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับนักศึกษาต่างชาติ (ที่พัก อาหาร เสื้อผ้า สันทนาการ ตำรา ค่าเดินทางในแต่ละวัน) ตกประมาณเดือนละ £ 730 ในลอนดอน หรือ £ 585 ในเมืองอื่นๆ
หลักสูตรปริญญาโท-เอก และหลักสูตร MBAsหลักสูตรปริญญาโททั้งที่เป็นการเรียนแบบเข้าชั้นเรียนและการวิจัย จะใช้เวลาเพียง 1 ปี ในขณะที่หลักสูตรปริญญาเอกจะใช้เวลาเรียน 3 ปี แบบเต็มเวลา โดยอัตราค่าเล่าเรียนจะอยู่ในช่วง
หลักสูตรศิลปศาสตร์ £ 6,750 £ 8,200 ห
ลักสูตรวิทยาศาสตร์ £ 6,500 £ 9,950
หลักสูตรแพทยศาสตร์ £ 6,200 £ 17,400 นักศึกษาควรจัดเตรียมงบประมาณสำหรับภาคการศึกษา 12 เดือน โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเล่าเรียน ประมาณเดือนละ £ 585 £ 730 สำหรับหลักสูตร MBAs เต็มเวลาโดยเฉลี่ยแล้วจะมีค่าเล่าเรียนอยู่ระหว่าง £ 7,500 £ 11,500 นอกจากนี้หลักสูตรที่มีชื่อเสียงของสถาบันนั้น ๆ อาจมีค่าเล่าเรียนสูงถึง £ 20,000
ตัวอย่างราคาสินค้าโดยปกติ ค่าไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อน £20-£40 (ขั้นอยู่กับช่วงฤดูกาล)
อาหาร (ในกรณีที่ไม่รวมอยู่ในส่วนของที่พัก) £30-£40 ต่อสัปดาห์ ของใช้ส่วนตัว เครื่องสำอาง ฯลฯ £10-£12 ต่อเดือน
เลื้อยืด และเครื่องชั้นใน £10 และต่ำกว่า บัตรโทรศัพท์(สำหรับใช้กับโทรศัพท์สาธารณะ) £2, £5, £10 และ £20
ข้อควรทราบและพึงระวัง - คนไทยที่อยู่ในสหราชอาณาจักรสามารถติดต่อขอรับบริการต่ออายุหนังสือเดินทาง ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ขอหนังสือสำคัญประจำตัวใช้แทนหนังสือเดินทางที่สูญหายเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย งานทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การแจ้งเกิด ขอใบมรณะบัตร จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหย่า ขอลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หรือการรับรองเอกสารที่เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ ได้โดยตรงที่ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ระหว่างเวลา 09.30-12.30น.ทุกวันทำงาน โทรศัพท์ 020 7225 5500 โทรสาร 020 7823 7492 - การดำเนินการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องหนังสือเดินทาง การรับรองเอกสารการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ ขอให้ติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ที่ฝ่ายกงสุล โดยไม่จำเป็นต้องผ่านนายหน้า - ขอให้นักท่องเที่ยวไทยระมัดระวังอย่าพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรเกินกำหนดวีซ่าเพราะท่านอาจถูกลงโทษตามกฎหมาย อาทิ ส่งตัวกลับประเทศไทย และจะมีผลกระทบถึงการขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรครั้งต่อไป - ระหว่างที่ทำงานอยู่ในสหราชอาณาจักร ท่านสามารถติดต่อขอต่ออายุวีซ่าได้ที่ Immigration and Nationality Directorate, Home Office Croydon ชานกรุงลอนดอน - หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อขอแบบฟอร์มต่ออายุ วีซ่า 0870-241-0645 หมายเลขโทรศัพทเพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป 0870-606-7766 หมายเลขโทรศัพท์ติดตามเรื่องการขอต่ออายุวีซ่าที่ได้ยื่นเรื่องแล้ว 0870-608-1592 - โปรดดูแลทรัพย์สินของมีค่าและหนังสือเดินทางให้ดีที่สุด โดยเฉพาะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร สวนสาธารณะ สถานีรถไฟใต้ดิน บนรถประจำทาง รถไฟ เนื่องจากท่านอาจถูกล้วงหรือฉกชิงกระเป๋าได้ อย่างไรก็ดี หากหนังสือเดินทางสูญหาย ให้แจ้งความพร้อมนำรูปถ่ายจำนวน 3 รูป เพื่อยื่นขอหนังสือสำคัญประจำตัวกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เพื่อเดินทางกลับประเทศต่อไป - ในการเดินทางเข้า-ออกสหราชอาณาจักร กรุณาอย่ารับฝากสิ่งของจากผู้อ่นโดยไม่ทราบว่าอะไร เพราะท่านอาจถูกหลอกให้ขนสิ่งผิดกฎหมาย - การเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร จะต้องมีหนังสือเดินทางของตนเอง และจะต้องมีวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรได้ หากไม่มีทั้ง 2 รายการ แสดงว่า ท่านถูกหลอกให้มาค้าประเวณีที่สหราชอาณาจักร - ศึกษากฎระเบียบของประเทศอังกฤษ โดยขอข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ - โทรศัพท์ 2530191-9 โทรสาร 254-9578 - ในเวลาทำการ จันทร์-พฤหัส 07.45 - 12.00 น. และ 12.45-16.30 น. วันศุกร์ 07.45 - 13.15 น
การเงินและการธนาคารใน UK สหราชอาณาจักรไม่มีข้อกำหนดในการนำเงินเข้าประเทศ นักศึกษาสามารถนำเงินเข้าประเทศได้ตามที่ต้องการอย่างไรก็ดี ไม่ควรพกเงินสดติดตัวจำนวนมาก นักศึกษาสามารถใช้ Traveller Cheque หรือซื้อ Bank Draft (เช็คธนาคาร) ติดตัวเมื่อเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรได้ หน่วยเงินตราของสหราชอาณาจักรคือ ปอนด์สเตอรริ่ง (Pound Sterling-?) ซึ่ง ? 1 เท่ากับ 100 เพ็นซ์ (pence-p) เหรียญที่มีการใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ: 1p, 2p, 5p, 10p, 20p, 50p, ?1 และ ?2 ส่วนธรบัตรที่มีการใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ: ? 5, ?10, ?20 และ ?50 ในฐานะของนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรแบบเต็มเวลาเป็นระยะเวลาหนึ่ง สามารถขอเปิดบัญชีนักศึกษาได้ (Student Bank Account) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่คิดดอกเบี้ยกรณีเบิกเงินเกินบัญชี และอาจมีข้อเสนออื่น ๆ อีกมากมาย อาทิเช่น การใช้สมุดเช็ค บัตรเงินสด บัตรเดบิตการ์ด ฯลฯ ในการขอเปิดบัญชีธนาคาร นักศึกษาต้องกรอกแบบฟอร์ม และยื่นเอกสารอื่น ๆ ประกอบ อาทิเช่นหนังสือเดินทาง จดหมายรับรองการเข้าศึกษาจากสถาบันเอกสารแสดงที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ฯลฯ อย่างไรก็ดีธนาคารบางแห่งอาจขอเอกสารทางด้านการเงินในประเทศไทย ของผู้สนับสนุนด้านการเงินของนักศึกษาด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะเปิดทำการเวลา 9.00 น. 16.30 น. ในวันจันทร์ วันศุกร์ และบางสาขา อาจเปิดทำการในช่วงเช้าของวันเสาร์ด้วย
ภาษีและ VAT นักศึกษาต่างชาติและผู้ติดตามในสหราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านภาษีอากร และภาษีรายได้ของสหราชอาณาจักรโดยอัตโนมัติ รวมถึงการเสียภาษีรายได้ประจำปี หรือการถูกหักภาษีจากดอกเบี้ยธนาคารสำหรับ VAT บริการและสินค้าในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ จะเป็นมูลค่าที่รวม VAT 17.5 % ไว้แล้ว แต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายเกิน ? 100 สามารถทำเรื่องขอ VAT คืนได้ที่สนามบิน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน 29-30 Queen's Gate London SW7 5JB โทรศัพท์ 020 7225 5500 (การติดต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง กรุณาติดต่อระหว่างเวลา 14.00-16.00 น. ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องรับเรื่องที่ Counter ในช่วงเช้า และจะตอบปัญหาประชาชนทางโทรศัพท์ในช่วงบ่าย) *เรื่องหนังสือเดินทาง ขอสูติบัตร ต่ออายุ ขอC.I. ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ *เรื่องจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหย่า *เรื่องวีซ่า *เรื่องการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ปัญหาคนไทย นักเรียนทุนกระทรวงการต่างประเทศ *เรื่องนิติกรณ์ต่างๆ โทรจากประเทศไทย 00144207-2255500 โทรสาร 0207823-7492 โทรจากประเทศไทย 00144207-823-7492 E-mail : thaiduto@btintemet.com Website : http://www.thaiembassyuk.org.ul
การขอวีซ่าอังกฤษ (England Visa)
กฎระเบียบทั่วไป นักศึกษาที่ต้องการเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรด้วยวีซ่านักเรียน จะต้องได้รับการตอบรับให้ศึกษาในวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาเอกชนซึ่งได้รับการรับรองและเชื่อถือได้ หรือโรงเรียนเอกชน และมีความสามารถและต้องการที่จะศึกษาในหลักสูตรต่อไปนี้
หลักสูตรปริญญาเต็มเวลา ณ วิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ หลักสูตรเต็มเวลาในวันธรรมดา โดยจะต้องเรียนวิชาเดียวกัน หรือวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันในสถาบันนั้นๆ ไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ หลักสูตรเต็มเวลาที่โรงเรียนเอกชน และเป็นนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี และได้ลงทะเบียนเรียนที่โรงเรียนเอกชนในหลักสูตรเต็มเวลา ตรงตามข้อกำหนดใน พระราชบัญญัติการศึกษาปี 1944 และแสดงความจำนงค์ที่จะเดินทางออกจากสหราชอาณาจักรเมื่อจบการศึกษา
นอกจากนี้ ยังต้องไม่ดำเนินธุรกิจ หรือทำงานใดๆ ยกเว้นงานนอกเวลาเรียน หรืองานในช่วงปิดภาคการศึกษา โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการจ้างงาน และ สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งรวมถึงค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งของนักศึกษาและผู้ติดตาม โดยต้องไม่ทำงาน ดำเนินธุรกิจ หรือขอรับเงินช่วยเหลือทางสังคมจากรัฐบาลของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม นักศึกษาสามารถทำงานได้หากได้รับการจัดหาหรือรับรองจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของรัฐ โดยทางวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกจดหมายยืนยันจำนวนชั่วโมงทำงาน และอัตราค่าตอบแทน หรือเป็นการฝึกงานตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ซึ่งวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับรองแล้ว โดยวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยจะออกายยืนยันการทำงานดังกล่าว รวมทั้งค่าตอบแทน ที่นักศึกษาจะได้รับ นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนหรือวิทยาลัยเอกชน จะต้องเลือกสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและ ได้รับการรับรองจาก British Accreditation Council (BAC) จาก British Council (รวมถึงสมาชิกของ ARELS และ BASELT) Association of British Language Schools หรือ Independent Schools Information Service (ISIS) อย่างไรก็ดี โรงเรียนและวิทยาลัยบางแห่ง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากสถาบันข้างต้น แต่ก็ถือเป็นสถาบันที่เชื่อถือได้หากมีประวัติเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งในกรณีนี้ จะได้รับการยอมรับตามกฎการตรวจคนเข้าเมือง
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเอกสารขอวีซ่า หนังสือเดินทาง (Passposrt) ที่มีอายุเหลืออยู่ไม่ต่ำกว่าช่วงระยะเวลาที่วางแผนจะไปศึกษาที่สหราชอาณาจักร
กรอกแบบฟอร์ม IM 2A และ IM 2S ให้ครบถ้วนและลงลายมือชื่อ สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ปกครองต้องเซ็นชื่อรับรองด้านล่างของแบบฟอร์มด้วย
รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
เอกสารใบรับรองสถานภาพการศึกษา (ในกรณีที่กำลังศึกษาอยู่) หรือ เอกสารผลการเรียน (Transcript) ล่าสุด ต้นฉบับ (ในกรณีที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา) หรือใบรับรองการทำงาน (ในกรณีที่กำลังทำงานอยู่)
หากท่านประกอบธุรกิจส่วนตัว ท่านอาจถูกขอให้แสดงหลักฐานการประกอบธุรกิจและฐานะการเงินของท่าน
เอกสารความสนับสนุนด้านการเงิน (Bank Statement) จากผู้สนับสนุน (ต้นฉบับ) ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หากเป็นบัญชีในรูปแบบของบริษัทฯ ให้แสดงเอกสารการจดทะเบียนบริษัทฯ และทะเบียนผู้ถือหุ้นประกอบด้วยเอกสารแสดงความสัมพันธ์ของผู้สนับสนุนด้านการเงิน และนักศึกษา (ในกรณีที่ผู้สนับสนุนไม่ใช่บิดา-มารดา หรือญาติ) - สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน ทั้งของนักศึกษา และผู้ปกครองหรือผู้สนับสนุนด้านการเงิน - หนังสือตอบรับจากสถาบันการศึกษา - รายละเอียดที่พักอาศัยระหว่างศึกษา -ค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นเงินสกุลบาท เทียบเท่ากับ £ 36 นักศึกษาสามารถยื่นวีซ่าได้ที่ แผนกวีซ่า สถานทูตประเทศอังกฤษ 1031 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330 โทร: + 66 (0) 2305 8333 โทรสาร + 66 (0) 2254 9579 อีเมล์: Visa.Bangkok@fco.gov.uk นักศึกษาสามารถยื่นวีซ่าได้ในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี เวลา 07:30 10:00 และในวันศุกร์ เวลา 07:30 11:00 สำหรับการรับวีซ่า (ในกรณีที่สถานทูตพิจารณาอนุมัติให้วีซ่า) สามารถติดต่อรับได้ในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 15:00 เป็นต้นไป ในกรณีเร่งด่วน อาจขอรับวีซ่าในวันศุกร์ได้ นักศึกษาควรทราบไว้ด้วยว่า หากนักศึกษาจะทำการยื่นขอต่ออายุวีซ่า ณ สหราชอาชาจักร เช่นในกรณีที่นักศึกษาเดินทางไปเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ และประสงค์ที่จะทำการยื่นขอต่อวีซ่าเพื่อศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญา ขณะที่ยังอยู่ในสหราชอาณาจักร ทาง British Home Officeได้มีการกำหนดใช้ขอบังคับใหม่ นับตั้งแต่เดือนวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ให้เก็บค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน £ 155 สำหรับทำการขอต่อวีซ่าทางไปรษณีย์ และจำนวน £ 250 สำหรับการขอต่อวีซ่าทางโทรศัพท์ด้วยตนเองในสหราชอาณาจักร
การขอวีซ่าประเภท Prospective student ในกรณีที่นักศึกษาต้องเดินทางไปสถาบันการศึกษาที่เลือกไว้ก่อน เพื่อสัมภาษณ์ สอบ ฯลฯ นักศึกษาจะต้องอธิบายเหตุผลให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทราบ โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาความตั้งใจจริง และคุณสมบัติของนักศึกษาก่อนจะออกวีซ่านักศึกษาประเภท Perspective Student ซึ่งจะมีระยะเวลา 6 เดือน จากนั้น เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ภายในระยะเวลา 6 เดือน) จะต้องดำเนินการขอต่อวีซ่าเพื่อพำนักในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ถือวีซ่านักศึกษาประเภท Perspective Student จะไม่สามารถทำงานได้
การเปลี่ยนสถานภาพ นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียนเท่านั้น หากเป็นวีซ่านักท่องเที่ยวจะไม่สามารถขอเปลี่ยนเป็น วีซ่านักเรียนและต่อระยะเวลาการพำนักออกไปได้ในภายหลัง ดังนั้นนักศึกษาจึงควรขอวีซ่าที่ถูกต้องตั้งแต่แรก ในกรณีที่นักศึกษามีคุณสมบัติไม่ครบตามกฎการตรวจคนเข้าเมืองสำหรับนักศึกษา เนื่องจากยังจัดการรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนไม่เรียบร้อย นักศึกษาสามารถยื่นขอวีซ่านักศึกษาประเภท Prospective Students ซึ่งสามารถขอเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนและขยายเวลาพำนักออกไปได้ในภายหลัง
ผู้ติดตามนักศึกษา โดยปกติคู่สมรส และบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับอนุญาตให้ติดตามนักศึกษาและพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ โดยนักศึกษาจะต้องแสดงหลักฐานการเงินที่ครอบคลุม