ประเทศจีน

ประเทศจีน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกี่ยวกับประเทศจีน

ข้อมูลทั่วไป - ประเทศที่มีประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี - ประเทศที่มีประชากรถึง 22 % ของประชากรโลก (1,300 กว่าล้าน) - ประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยถึง 55 ชนชาติ - ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก (รองจากรัสเซีย และ แคนาดา) - ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับเพื่อนบ้านถึง 14 ประเทศ - ประเทศที่มีอัตราเติบโต ทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่องยาวนาน (ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก) - ประเทศที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีได้เผยแผ่ไปทั่วโลก - ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีอาหารที่หลากหลายชนิดแห่งหนึ่งของโลก - ประเทศที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้แต่อยู่ห่างจากเราแค่ 200 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น

ภูมิอากาศ ด้วยขนาดที่กว้างใหญ่ของประเทศ ทำให้จีนมีสภาพภูมิอากาศของแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันมาก ฤดูกาลแยกอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลมมรสุม โดยแบ่งเป็น 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน (ราวเดือนมิถุนายน - สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (ราวเดือนกันยายน - พฤศจิกายน) ฤดูหนาว (ราวเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์) และฤดูใบไม้ผลิ (ราวเดือนมีนาคม - พฤษภาคม) เขตภาคกลางและตะวันออกเฉียงใต้ อากาศอบอุ่น ค่อนข้างอบอ้าว มีฝนตกชุก ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศแห้งแล้ง ภาคใต้ อากาศกึ่งเขตร้อน ฝนตกตลอดปี ฤดูร้อนยาวนาน อากาศร้อนอบอ้าว ฤดูหนาวสั้น อากาศเย็นสบาย ภาคตะวันออกเฉียงใต้มักเผชิญพายุใต้ฝุ่นในฤดูฝน ราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประชากร ประชากรในจีนประกอบด้วยชาวฮั่นถึง 91.9 % กระจายอยู่ในพื้นที่ทาง ตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีชนกลุ่มน้อยถึง 55 ชนชาติโดย เช่น เผ่ามองโกล เผ่าเกาหลี เผ่าทิเบต เผ่าอูเกอ (ชนชาติที่อาศัยอยู่ในซินเกียง) รวมถึงเผ่าไต (อาศัยอยู่ในสิบสองปันนา) ซึ่งมี ประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายคนไทย การเมืองและการแบ่งเขตการปกครอง มีเขตการปกครอง 28 มณฑล (Provinces) เช่น มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Sheng) มณฑลซานตง (Shandong Sheng) มณฑลเสฉวน (Sichuan Sheng) รวมทั้งไต้หวัน เป็นต้น มี 5 เขตปกครองตนเอง (Autonomous regions) ได้แก่ มองโกเลียใน (Nei Menggu Zizhiqu) ซินเกียง (Xinjiang Weiwu'erzu Zizhiqu) ธิเบต (Xizhang Zizhiqu) กวางสี (Guangxi Zhuangzu Zizhiqu )และหนิงเซีย (Ningxia Huizu Zizhiqu) มี 4 เทศบาลเมือง ( Municipalities) คือ มหานครปักกิ่ง (Beijing Shi) มหานครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Shi) มหานครเทียนสิน (Tianjin Shi) และมหานครฉงชิ่ง (Chongqing Shi) มี 2 เขตปกครองพิเศษ (Special Administration regions) คือ ฮ่องกง และ มาเก๊า ตามหลักการหนึ่งประเทศสองระบบ เขตปกครองระดับมณฑลและเขตปกครองตนเองทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลกลาง แต่เนื่องจากเขตปกครองตนเองนั้น ประชากรโดยส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อย จึงได้รับสิทธิในการบริหารงานภายในของตนโดยอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาลกลาง รวมทั้งการมีอิสระในการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาประจำกลุ่ม เมื่อมีการปกครองท้องถิ่นที่หลากหลายแล้วจะปกครองคนกว่าพันล้านคนอย่างไร การปกครองในจีนตั้งแต่ปี 1949 นั้น ใช้ระบบคอมมิวนิสต์แต่ในด้านเศรษฐกิจได้มีการนำระบบทุนนิยมมาใช้ตามนโยบายของ เติ้งเสี่ยวผิงที่ว่า " ไม่ว่าแมวจะสีอะไรขอให้จับหนูได้ก็พอ " ภาษา ประเทศจีน มาดูเรื่องของภาษาบ้าง ในอดีตจีนใช้รูปภาพแทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า อักษรรูปภาพ ซึ่งตัวอักษรรูปภาพเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็นตัวอักษรจีนในปัจจุบัน. ตัวอักษรจีนในปัจจุบันแบ่งเป็นสองรูปแบบคือ ตัวอักษรอย่างง่าย (Chinese simplify character / Jian Ti Zi) และตัวอักษรดั้งเดิม (Chinese traditional character / Fan Ti Zi) ตัวอักษรอย่างง่ายถูกใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนตัวอักษรดั้งเดิมยังถูกใช้ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า เซี่ยงไฮ้และในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลรวมทั้งประเทศไทยในขณะนี้ด้วย คำถามในใจของหลาย ๆ คนจะเกิดขึ้นทันทีว่าแล้วจะเรียนแบบไหนดีล่ะ ถ้าเป็นไปได้การรู้ทั้งสองแบบจะ เป็นประโยชน์ที่สุด แต่ในปัจจุบันแนวโน้ม ของความนิยมในการใช้ตัวอักษรแบบง่ายนั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของภาษาพูด หลายคนคงสงสัยว่า ไปเรียนเมืองใดภาษาจึงได้มาตรฐานที่สุดด้วยความจริงที่ว่า เมืองจีนมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก และในแต่ละท้องถิ่นต่างมีภาษาหรือสำเนียงพูดเป็นของตนเอง เช่น "ลื้ออ้ายขื้อตี่ก๋อ อั๋วอ้ายขื้อตะลัก" นี่คือภาษาที่มักจะได้ยินจากคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของเมืองซัวเถา (Shantou) ในมณฑลกวางตุ้ง ที่พวกเราคุ้นเคยซึ่งไม่สามารถใช้สื่อสารได้ในพื้นที่อื่น ๆ ของเมืองจีน ดังนั้นรัฐบาลกลางของจีน จึงได้กำหนดภาษาจีนกลาง (Putong Hua) ขึ้นมาเพื่อเป็นภาษากลางสำหรับสื่อสารกันทั่วประเทศ โดยทั่วไปคนทางภาคเหนือของจีนจะพูดภาษาจีนกลางได้ชัดเจนกว่า คนที่อาศัย อยุ่ทางภาคใต้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการสื่อสารกับคนทั้งประเทศจีนแล้วก็จำเป็นต้องรู้จักภาษาจีนกลางเพราะเป็นภาษาที่ กลางมาตรฐานและเป็นภาษาราชการที่คนจีนส่วนใหญ่สามารถเข้าใจได้

การศึกษาต่อในประเทศจีน

การเรียนเมืองจีนมีหลักสูตรอะไรบ้าง หลักสูตรภาษาจีน หลักสูตรระยะยาว เป็นลักษณะการเรียนแบบไม่เก็บหน่วยกิจ รับผู้เรียนอายุตั้งแต่ 18 - 60 ปี และมีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปลายขึ้นไป ระยะเวลา 18 - 20 สัปดาห์ ต่อ 1 เทอมการศึกษา โดยใน 1 ปีแบ่งเป็น 2 เทอมการศึกษา หลักสูตรระยะสั้น มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 4 -12 สัปดาห์ เป็นการเรียนแทรกชั้นเรียนของชั้นเรียนระยะยาว ดังนั้นผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาจีน หลักสูตรเร่งรัด (เรียนตัวต่อตัว) - หลักสูตรของ Yunnan Normal University, เมืองคุนหมิง - หลักสูตรของ Shaanxi Normal University, เมืองซีอาน หลักสูตรเร่งรัดภาษาจีน - หลักสูตรของ Shanghai Normal University, เมืองเซี่ยงไฮ้ หลักสูตรมัธยมศึกษา บรรยายสองภาษา (อังกฤษ / จีน-อังกฤษ / จีน) - Changzhou International School, เมืองฉางโจว - Huijia International School, เมืองปักกิ่ง หลักสูตรปริญญาตรี บรรยายภาษาจีน

นักเรียน, ประเทศจีน

- ปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาต่างชาติ หลักสูตรภาษาจีน (Chinese Language Study / Hanyu Benke) - หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรธุรกิจจีน (Bachelor Degree in Business Chinese Program) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง - หลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตรการบัญชี, หลักสูตรการเงิน, หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ และ การค้าระหว่างประเทศ, หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ , หลักสูตรการตลาด, หลักสูตรบริหารธุรกิจ, หลักสูตรการคลังรัฐบาล, หลักสูตรภาษาจีน, หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ, หลักสูตรกฎหมายธุรกิจ) (Speciality for International Student in Undergraduate Program) Shanghai University of Finance and Economics, เมืองเซี่ยงไฮ้ - หลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ และ การค้าระหว่างประเทศ, หลักสูตรคอมพิวเตอร์, หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว, หลักสูตรอี-คอมเมอร์ส) (Speciality for International Student in Undergraduate Program) South China Normal University, เมืองกวางเจา - หลักสูตรปริญญาตรีการแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine : TCM) Xiamen University, เมืองเซี่ยเหมิน หลักสูตรปริญญาตรี บรรยายภาษาอังกฤษ - หลักสูตรปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ ภาค Inter Bachelor of Economics (International Undergraduate Program) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง หลักสูตรปริญญาโท บรรยายภาษาอังกฤษ - หลักสูตรปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ (Master degree in Applied Economics) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง - หลักสูตรปริญญาโท MBA (International Graduate Program in MBA) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง - หลักสูตรปริญญาโท International Business (International Graduate Program in International Business) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง - หลักสูตรปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ (International Finance Master Program) Shanghai University of Finance and Economics, เมืองเซี่ยงไฮ้ หลักสูตรธุรกิจ บรรยายภาษาจีน - หลักสูตรภาษาจีนเพื่อธุรกิจ (Chinese Business Program) University of International Business and Economics, เมืองปักกิ่ง - หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ Shanghai University of Finance and Economics, เมืองเซี่ยงไฮ้ หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ Shanghai Normal University, เมืองเซี่ยงไฮ้ บรรยายอังกฤษ - International Chinese Business program Ocean university of China, เมืองชิงเต่า หลักสูตรแพทย์แผนจีน บรรยายอังกฤษหรือจีนXiamen University, เมืองเซี่ยเหมิน

ประเทศจีน

ค่าใช้จ่าย

ประเมินค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ต่อ เทอมการศึกษา (ประมาณ 20 สัปดาห์) /หน่วยเงิน : บาท ค่าใช้จ่ายโดยประมาณก่อนการเดินทาง ค่าตั๋วเครื่องบินไป - กลับ ตั๋วนักเรียน (ขึ้นอยู่กับเมืองปลายทาง) : 12,000 - 25,000 ค่าทำวีซ่าเข้าประเทศจีน ต่อการเข้า 1 ครั้ง : 1,000 ค่าใช้จ่ายในการโอนเงินระหว่างประเทศ ต่อ 1 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่โอน) : 600 - 1,150 ค่าตรวจร่างกาย (สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 เทอมขึ้นไป) : 1,500 ค่าใช้จ่ายในการเรียน (ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย) ค่าเล่าเรียน ประมาณ 700 - 1,450 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อ เทอมการศึกษา : 29,400 - 60,900 ค่าลงทะเบียน 40 - 100 ดอลล่าร์สหรัฐ : 1,680 - 4,200 ค่าหนังสือ 30 ดอลล่าร์สหรัฐ : 1,260 ค่าเช็คผลตรวจร่างกาย (สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 เทอมขึ้นไป) : 400 ค่าทำ Resident Permit (สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 เทอมขึ้นไป) : 2,500 ค่าใช้จ่ายสำหรับหอพัก (ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย) ค่าที่พักห้องคู่ ห้องน้ำส่วนตัว ราคาประมาณ 4 - 8 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อ วัน ต่อ คน : 23,520 - 47,040 ค่าที่พักห้องเดี่ยว ห้องน้ำส่วนตัว ราคาประมาณ 5 - 15 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อ วัน ต่อ คน : 29,400 - 88,200 ค่าอาหาร (ขึ้นอยู่กับเมือง) เฉลี่ยมื้อละ 10 - 20 หยวน ต่อ มื้อ หรือ ประมาณ 30 - 60 หยวน ต่อ วัน : 21,000 - 42,000 หมายเหตุ - 1 ดอลล่าร์สหรัฐ = 42 บาท และ 1 หยวน = 5 บาท - ราคาประมาณการนี้ คิดจากค่าครองชีพในเมืองปักกิ่ง อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ - ข้อมูลในตารางข้างต้น เป็นการประเมินค่าใช้จ่ายแบบคร่าว ๆ ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนการเงิน เบื้องต้นสำหรับผู้ที่กำลังจะตัดสินใจไปเรียน หากมีค่าใช้จ่ายใดที่นอกเหนือจากที่ได้จัดทำนี้ ทางทีมงาน ORENต้องขออภัยและโปรดกรุณา- แนะนำเข้ามา เพื่อทางทีมงานจะได้ปรับปรุงต่อไป

กำแพงเมืองจีน

ข้อมูลจำเพาะ

เงินตรา สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเงินเหยินหมินปี้ ( Renminbi แปลตามตัวว่าเงินของประชาชน ) มักใช้ตัวย่อ RMB หน่วยเงินของจีนเรียกว่าหยวน ( yuan ) หนึ่งหยวนมีสิบเจี่ยว ( jiao ) หนึ่งเจี่ยวมีสิบเฟิน ( fen ) 100 เฟินเท่ากับหนึ่งหยวน ธนบัตรแบ่งออกเป็นใบละ 1 หยวน , 5 เจี่ยว , 1,2 และ 5 เฟิน เฟินเป็นหน่วยเล็กสุด < เจี่ยวหรือเหมาเป็นหลักสิบ < จากนั้นเป็นหยวน ข้อพึงระวังสำหรับนักท่องเที่ยว - บริเวณหน้าที่พักในปักกิ่งมักมีบริการแท็กซี่ และรถถีบสามล้อ แต่ราคารถสามล้อให้ตกลงกันก่อนว่าจะจ่ายเงิน ตามระยะทางหรือรายหัว - ควรสำเนาหนังสือเดินทาง วีซ่าและบัตรโดยสารเครื่องบิน เก็บให้ปลอดภัยเสมอ - ระหว่างซื้อของให้ระวังล้วง / กรีด กระเป๋า การทอนธนบัตรปลอม - สามารถต่อรองราคาสินค้าได้ ยกเว้นที่ศูนย์การค้าหรือร้านของทางการ - โทรศัพท์ทางไกล ตามโรงแรมสากลมีราคาแพงมากการใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IP Card) จะสะดวกกว่า ติดต่อกลับประเทศไทยให้กด 00 66 ตามด้วยรหัสเมืองและหมายเลขโทรศัพท์ ระบบเรียกเก็บเงินปลายทาง ให้กด 10866 ใช้ได้กับตู้โทรศัพท์สาธารณะทุกแห่ง - ให้ระวังการเดินเที่ยวยามราตรีตามลำพังซึ่งอาจมีสตรีชาวจีนมาพูดคุย ชวนดื่มของมึนเมา และเรียกเก็บเงินจำนวนมาก ในภายหลัง หญิงบริการในจีนเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั้งผู้รับและผู้ให้บริการ และโรงแรมที่พัก - ในขณะขับรถให้ระวังการโบกรถจากคนแปลกหน้า - จีนใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์ แต่ปลั๊กจะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ - กรณีที่หนังสือเดินทางหาย ให้แจ้งตำรวจและนำเอกสารแจ้งความมายื่นต่อสถานเอกอัครราชทูต - กรณีประสบปัญหาอื่น ๆ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมขอให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ข้อพึงระวังสำหรับผู้ไปทำงาน - เมื่อเดินทางถึงจีน โปรดแสดงให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ - ศึกษาสัญญาจ้างงานให้รอบคอบ - ต้องมีสัญญาการว่าจ้างงานจากนายจ้างและใบอนุญาตการทำงานต้องต่ออายุ Working Permit และ Resident Permit ทุก 6 เดือน ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 - 45 ขึ้นกับจำนวนรายได้ - การเจรจาธุรกิจ ขอให้ระมัดระวังเรื่องสิทธิประโยชน์ ศึกษาประวัติผู้ร่วมทุนให้รอบคอบ - การลงนามสัญญาใด ๆ ให้ระบุว่าหากเกิดกรณีพิพาทต้องมีหน่วยงานจีนเข้ามาดำเนินการเรื่องข้อพิพาทด้วยการลงนาม สัญญาต้องได้รับการประทับตรารับรอง Notary Public จากหน่วยงานจีน ข้อพึงระวังสำหรับนักเรียน/นักศึกษา - มหาวิทยาลัยที่มีชื่อ คนไทยศึกษาอยู่จำนวนมากคือ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหวา มหาวิทยาลัยภาษาและ วัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยจิงเม่า - ควรทราบชื่อมหาวิทยาลัย และที่พักเป็นภาษาจีน - ผู้ที่สมัครศึกษาผ่านนายหน้า ให้ศึกษาว่าราคาที่ตกลงกันครอบคลุมเรื่องใดบ้าง - นักศึกษาระยะยาวต้องจ่ายเงินค่าเล่าเรียนในครั้งแรก 2 เทอมการศึกษาและค่าที่พักเป็นเวลาครึ่งปี - สามารถโอนเงินจากธนาคารต้นทางทั้งในสกุลดอลลาร์สหรัฐและหยวนได้ ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน บัตร ATM ของธนาคารไทยที่มีระบบ Plus สามารถกดเงินสดจาก ATM ของ Bank of China ในปักกิ่งได้ - วีซ่านักเรียน และ Resident Permit ต้องได้รับการต่ออายุตามระยะเวลาที่กำหนด

ประเทศจีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สถานฑูตจีน 57 ถนนรัชดาภิเษก (ใกล้อาคารฟอร์จูน สามารถนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินลงป้าย พระราม 9 ได้) โทร. 0-2245-7043, 0-2245-7033, 0-2245-7036-7

เทียนจิน, เทียนจิน

การขอวีซ่าจีน (China Visa)

ประเภทของวีซ่า 1. วีซ่า L (Travel) เป็นวีซ่าท่องเที่ยว มีระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศ สามารถใช้กับการเรียนหลักสูตรระยะสั้นที่ ไม่เกินระยะเวลาที่ระบุ 2. วีซ่า F (Business) เป็นวีซ่าแบบธุรกิจ มีระยะเวลา 90 - 180 วันนับจากวันที่เข้าประเทศจีน สามารถใช้กับการเรียนหลักสูตรระยะ 3 เดือน ถึง 1 เทอม วีซ่า X (Student) เป็นวีซ่าสำหรับนักเรียน มีระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่เดินทางเข้าประเทศจีน ใช้กับนักศึกษาหลักสูตรระยะยาว 3. วีซ่า Z (Working) เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไปทำงานในเมืองจีน 4. วีซ่า D (Resident) เป็นวีซ่าสำหรับผู้อยู่อาศัยต่างด้าว 5. วีซ่า G (Transit) เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางผ่านประเทศจีนเพื่อไปต่อยังประเทศอื่น 6. วีซ่า C (Stewardess) เป็นวีซ่าสำหรับพนักงานของสายการบิน ระยะเวลาทำการ 4 วันทำการ นับรวมวันที่ยื่นขอ (ไม่นับวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์, วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) หลักฐาน ในการยื่นขอวีซ่า 1. รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ 2. สำเนาหนังสือตอบรับจากทางมหาวิทยาลัย (JW202 และ Admission Notice) พร้อมเอกสารตัวจริง 3. สำเนาใบตรวจร่างกาย พร้อมเอกสารตัวจริง (สำหรับผู้ที่สมัครเรียนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) 4. หนังสือเดินทางตัวจริง ค่าธรรมเนียม (สำหรับหนังสือเดินทางไทย) - ราคาสำหรับการรับปกติ 1,000 บาท - เร่งด่วน (2-3 วันทำการ) 1,800 บาท - เร่งด่วน (รับภายในวันเดียว) 2,200 บาท เวลายื่นขอวีซ่า วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00 - 11.30 หมายเหตุ โดยทั่วไปนักเรียนไทยต้องยื่นขอวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ วีซ่า L (สำหรับผู้สมัครไม่เกิน 12 สัปดาห์) วีซ่า F (สำหรับผู้สมัครเรียนไม่เกิน 1 เทอม), วีซ่า X (สำหรับผู้สมัครเรียน 1 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำการสมัครเรียน

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ ของ ประเทศจีน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook