ประเทศแคนาดา
เกี่ยวกับประเทศแคนาดา
แคนาดาเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง โดยให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก และมีสถานศึกษาชั้นหนึ่ง แคนาดาใช้จ่ายเงินต่อคนในด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม G-7 และเป็นประเทศอันดับที่ 3 ที่เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (โออีซีดี) ปริญญาจากมหาวิทยาลัยในแคนาดาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล และนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยของแคนาดา มักจะประสบความสำเร็จ และความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน จากผลการสำรวจหลายปีที่ผ่านมาขององค์การสหประชาชาติพบว่าแคนาดาเป็นประเทศที่น่าอยู่เหมาะแก่การดำรงชีพมากที่สุดในโลก การสำรวจนี้ได้ประเมิณคุณภาพชีวิตใน 174 ประเทศ และใช้องค์ประกอบชี้บ่งมากกว่า 200 อย่าง แคนาดาได้ถูกจัดอยู่ในอันดับสูงในด้านการศึกษา และระดับอายุเฉลี่ยสูง (โดยใช้ระบบสุขอนามัยมาตรฐานเป็นเกณฑ์) มีอัตราอาชญากรรมและการก่อความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ ตัวอย่างเช่น เมื่องหลวงที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดา คือแวนคูเวอร์ โตรอนโต และมอนทรีออลถูกจัดให้เป็นเมืองติดอันดับโลกที่มีความน่าอยู่ เหมาะกับการทำงาน มีความสะอาด ปลอดภัย มีอิสระในการทำกิจกรรมของแต่ละวัฒนธรรมที่ดึงดูดความสนใจของคนทั่วไป ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่ มี ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสวยงาม มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้เลือกทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสกี แคมป์ปิ้ง ปีนเขา หรือขี่จักรยาน แวนคูเวอร์เป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่น สวนสาธารณะสแตนลีย์ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดกว่า 1,000 เอเคอร์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมือง นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งมีการแสดงโชว์ของปลาวาฬและปลาโลมา เป็นต้น
ข้อมูลทั่วไปของประเทศแคนาดา
- ที่ตั้ง - ทิศเหนือ จรดมหาสมุทรอาร์กติก / ทิศใต้ จรดประเทศสหรัฐอเมริกา / ทิศตะวันออก จรดมหาสมุทรแอตแลนติก / ทิศตะวันตก จรด มหาสมุทรแปซิฟิก และมลรัฐอะแลสกา
- พื้นที่ - 9,976,140 ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เมืองหลวง - กรุงออตตาวา Ottawa เมืองสำคัญ - โทรอนโต Toronto / มอนทรีออล Montreal / แวนคูเวอร์ Vancouver / ควิเบก ซิตี้ Quebec City / แฮลิแฟ็กซ์ Halifax / วินนิเป็ก Winnipeg / เอ็ดมันตัน Edmonton
- ภูมิอากาศ - ภาคพื้นทวีป ( มีหิมะในฤดูหนาว และอบอุ่นในฤดูร้อน) ประชากร - 31.7 ล้านคน ( ประมาณการปี 2546)
- ภาษา - อังกฤษและฝรั่งเศส ศาสนา - โรมันคาธอลิก ( ร้อยละ 42), โปรแตสแตนท์ ( ร้อยละ 40) , อิสเทอร์นออโธดอกซ์ และยิว ( ร้อยละ 18) อิสลามและพุทธศาสนามีอัตราเพิ่มค่อนข้างรวดเร็ว
- เนื่องจากนโยบายการรับคนนอกประเทศมาตั้งถิ่นฐาน หน่วยเงินตรา - แคนาเดียนดอลลาร์ (1 CND ประมาณ 31.62 บาท) ข้อมูล เมษายน 2551
- สังคม - สังคมของแคนาดาเป็นสังคมที่มีส่วนผสมของชนชาติต่างๆ มากมาย โดยชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ระหว่างปี ค. ศ. 1991-2000 คือคนจากเอเชีย ( จีน อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ อิหร่าน) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.5 ของคนเข้าเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานในแคนาดา ค่านิยมหลักของสังคมแคนาดาที่ฝังลึกในทุกคนคือการส่งเสริม และเคารพในสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มาตรฐานคุณภาพชีวิตสูง ชาวแคนาดามีมาตรฐานของคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดีที่สุดในโลก
ชาวแคนาดามากกว่า 65 เปอร์เซ็นต์มีบ้านเป็นของตนเอง และมากกว่าร้อยละ 65 มีทรัพย์สินถาวร เช่น รถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ โทรศัพท์ และวิทยุ แคนาดาได้พัฒนาสื่อต่างๆ สิ่งบันเทิงและศิลปะอื่นๆ เป็นอย่างดี ชาวแคนาดาต่างภูมิใจในระบบการกระจายเสียงที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่มีกิตติศัพท์ว่าขึ้นชื่อทั่วโลก ระบบดังกล่าวประกอบด้วยสถานีวิทยุ AM และ FM มากกว่า 1000 สถานี และสถานีโทรทัศน์ 719 สถานีที่พร้อมให้บริการมอบความบันเทิงและให้สาระแก่ผู้ชมและผู้ฟัง
สภาพแวดล้อมของประเทศแคนาดา
สภาพแวดล้อมที่สวยงาม นักศึกษาที่มาศึกษา ณ ประเทศแคนาดา จะพบกับสภาพแวดล้อมที่สวยที่สุด และคงความงดงามตามธรรมชาติได้มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แคนาดายังเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย และมีกิจกรรมกลางแจ้งมากมาย เริ่มจากชายฝั่งที่เขียวขจีของมณฑลบริติช โคลัมเบีย เทือกเขาร็อคกี้ขนาดใหญ่ที่มณฑล อัลเบอร์ต้า ท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ ของทุ่งหญ้าแพร์รี่ จนถึง ดินแดนแห่งน้ำตาลเมเปิ้ล ที่ทะเลสาบทั้งห้า และเซนต์ลอเรนซ์ ไปจนถึงแถบเชิงเขา และชายฝั่งอันงดงามของมณฑลในแถบฝั่งแอตแลนติค สถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการศึกษา แคนาดามีชื่อเสียงในเรื่องของความปลอดภัย มีความสงบสุขในสังคม มีอัตราการก่ออาชญากรรมต่ำมาก และยังคงมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นศกที่ 1990.
จากผลการรายงานจากกรมตำรวจในปี 1997 ถึงอัตราการก่ออาชญากรรมของชาวแคนาดาลดลง 5% เป็นเวลา 6 ปีติดต่อกันมา ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาให้การดูแลอย่างเข้มงวด โดยไม่มีการอนุญาติในการพกพาอาวุธแต่อย่างใด ประเทศแห่งเทคโนโลยีชั้นสูง แคนาดาเป็นผู้นำทางด้านต่างชาติในด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และมีชื่อเสียงทั่วโลกในด้านต่างๆ เช่น โทรคมนาคม การคมนาคม วิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบิน การคมนาคมชุมชน ไมโครอีเล็คทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซอฟท์แวร์ระดับสูง กระแสไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ เลเซอร์ และออฟโตอิเล็คทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ กระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม วิทยาศาสตร์กายภาพ และอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมทางทะเล สิ่งเด่นๆ ของอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคมของแคนาดาประกอบด้วย CANTAT3 เคเบิลของ Teleglobe ซึ่งเป็นชนิดแรกในโลกและรองรับโทรคมนาคมทางทะเล การส่งฝ่านหลายสื่อด้วยความเร็ว และความสามารถ ในการส่งข้อมูลอย่างยอดเยี่ยม สมาพันธ์บริษัทโทรศัพท์ Stentor Alliance กำลังลงทุน 8 พันล้านเหรียญเพื่อให้ร้อยละ 80 ของประชากรชาวแคนาดาได้ใช้เทคโนโลยีแถบคลื่นความถี่ที่ทันสมัยที่สุดภายในปี ค.ศ. 2005
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลประจำมณฑลและรัฐบาลกลางยังได้สัญญาว่า จะจัดให้มีการเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ตไปยัง สถานศึกษาทุกแห่งของแคนาดารวมทั้งโรงเรียนต่างๆ ของชนชาติดั้งเดิมที่อยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง รวมถึงห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัย วิทยาลัยประจำชุมชน และชุมชนห่างไกลทุกๆ แห่งภายในปี ค.ศ. 1998 ประเทศที่ใช้ 2 ภาษา แคนาดาเป็นประเทศที่มีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ประชากรส่วนใหญ่(ร้อยละ 75) ของชาวแคนาดาที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่ที่ควิเบค ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ แต่ชุมชนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสก็มีอยู่ทั่วไปในประเทศ อ้างถึงการสำรวจประชากรในปี ค.ศ. 1991 ร้อยละ 82 ของประชากรชาวควิเบคใช้ภาษาฝรั่งเศษเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 83 ของประชากรชาวควิเบคใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาพูดที่บ้าน
โดยทั่วไปแล้ว คาดว่ามีประชากรทั่วโลก 800 ล้านคนที่พูดภาษาอังกฤษและ 250 ล้านคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส โดยเหตุที่แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้สองภาษา แคนาดาจึงให้การอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่แรก (ESL) และการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง (FSL) สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่งหรือทั้งสองภาษา สภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศของแคนาดามีความหลากหลายตั้งแต่ขั้วโลกเหนือที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งที่เส้นรุง้ที่ 70 ไปจนถึงแนวป่าอันเขียวขจีของแถบชายฝั่งตะวันตกของบริติชโคลัมเบีย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว แคนาดามีฤดูกาลที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด 4 ฤดูโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแถบภูมิภาคใกล้ชายแดนสหรัฐอเมริกา ที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น อุณหภูมิในช่วงกลางวันของฤดูร้อนอยู่ในช่วง 35 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่านั้น ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวอาจติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง หลายปีที่ผ่านมา ชาวแคนาเดียนได้ปรับตัวอย่างมากให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มีสถาพอากาศอันหนาวเหน็บ โดยการติดตั้งเครื่องทำความร้อนในที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ รวมถึงระบบขนส่งมวลชน ที่มีการติดตั้งระบบความร้อนเช่นเดียวกับที่ทางเดินระหว่างอาคารในสถานศึกษา
การศึกษาต่อในประเทศแคนนาดา
ระบบการศึกษาของแคนาดา ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วยสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้รัฐธรรมนูญของแคนาดา การศึกษาถือว่าเป็นความรับผิดชอบของมณฑล เพราะฉะนั้น ระบบการศึกษาของแต่ละมณฑล จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม การศึกษาของประเทศแคนาดา จัดว่ามีมาตรฐานการศึกษาที่สูง โดยทั่วไปแล้ว เด็กชาวแคนาดาเข้าเรียนระดับอนุบาล 1-2 ปี เมื่ออายุ 4 หรือ 5 ขวบ เด็กทุกคนจะเริ่มเรียนเกรดหนึ่งเมื่ออายุประมาณหกขวบ
โดยทั่วไปปีการศึกษาจะเริ่มในเดือนกันยายน จนถึงเดือนมิถุนายนถัดไป แต่ในบางแห่งอาจเปิดภาคเรียนในเดือนมกราคม ชั้นมัธยมศึกษามีจนถึงเกรด 11, 12 หรือ เกรด 13 แล้วแต่มณฑล จากระดับนี้ นักศึกษาอาจเข้าเรียนหลักสูตรมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือซีเจ็พ คำว่า ซีเจ็พ เป็นคำย่อที่มาจากการรวมชื่อของวิทยาลัยเพื่อการศึกษาทั่วไป และวิชาชีพ สำหรับการศึกษาทั่วไปหลักสูตรการเรียนสองปี ส่วนการศึกษาเชิงวิชาชีพ ใช้หลักสูตรการเรียนสามปีในระหว่างระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา มณฑลควิเบคใช้ระบบการศึกษาซีเจ็พ คุณภาพการศึกษาสูง สถาบันการศึกษาของแคนาดา ไม่มีการจัดอันดับอย่างเป็นทางการ และสถาบันของแคนาดานั้นมีคุณภาพการศึกษาสูง เมื่อนักศึกษาต้องการเลือกสถานศึกษาในแคนาดา สามารถพิจารณาได้จากประเภทของสถาบัน ขนาดและสถานที่ตั้งของสถาบัน ซึ่งทุกสถาบันจะมีระเบียบและการพิจารณานักศึกษา เพื่อเข้ารับนักศึกษาที่สนใจเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตร
ค่าใช้จ่าย
การศึกษาในแคนาดาไม่ฟรี แต่ก็สามารถศึกษาได้ด้วยงบประมาณที่ประหยัด ค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ย ประมาณ 7100 เหรียญแคนาดา (4765 เหรียญสหรัฐ) สำหรับหนึ่งปีการศึกษา (8 เดือน)
ตารางประมาณค่าเล่าเรียนในประเทศแคนาดา แบ่งตามมณฑล
ข้อมูลจำเพาะ
ค่าครองชีพ ตัวอย่างค่าครองชีพบางรายการในแคนาดา: ค่าโทรศัพท์ภายในท้องถิ่น $2.00 ค่าโทรศัพท์ภายในท้องถิ่น $0.25 ค่าอาหารที่ภัตตาคารโดยเฉลี่ย$10.00 - 25.00 /คน ภาพยนตร์ $8.50 การส่งจดหมายภายในแคนาดา$0.48 ภาษี บางมณฑลจะเพิ่มวิธีการจัดเก็บระบบภาษีในสินค้าและบริการของตนเอง อย่างไรก็ดีทุกมณฑลจะต้องใช้ภาษีกลางสำหรับสินค้าและบริการ(GST) ในอัตราร้อยละ 7 ของราคาสินค้าในฐานะนักท่องเที่ยว ท่านอาจได้รับการคืนภาษีในส่วนของ GST ในวันที่ท่านเดินทางออกจากแคนาดา การรับคืนภาษีต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและท่านจำเป็นต้องแสดงใบเสร็จรับเงินฉบับจริง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกรมสรรพากรของแคนาดา หรือโรงเรียนของท่าน
ส่วนแบบฟอร์มการขอคืนภาษี GST นั้นสามารถรับได้ที่เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ที่สนามบิน และที่ห้างสรรพสินค้าทั่วไป สกุลเงินและมาตรการวัด แคนาดาใช้ระบเมตริกเป็นมาตรฐานในการวัดหน่วยสกุลเงินที่ใช้เป็นดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ 100 เซนต์ สำหรับธนบัตรที่ใช้กันทั่วไปในแคนาดาได้แก่ธนบัตรเงินมูลค่า $5, $10, $20, $50 และ $100 เป็นหลัก ส่วนเหรียญจะมีค่าเทากับ 1 เซนต์ (เพนนี) 5 เซนต์ (นิเกิล) 10 เซนต์ (ดิม) 25 เซนต์ (ควอเตอร์) $1 (ลูนนี่) และ $2 (ทวูนนี่) เหรียญราคา 1 และ 2 ดอลลาร์ออกใช้เมื่อกว่า 10 ปีที่ก่อนและยังคงมีธนบัตรราคา 1 และ 2 ดอลลาร์ แคนาดาหมุนเวียนอยู่และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย (นอกจากนี้ยังมีการเก็บสะสมด้วย) ธนบัตรของแคนาดาจะมีเครื่องหมายแสดงชัดเจน และแต่ละใบหลักๆ จะมีสีที่แตกต่างกัน ธนาคารและการแลกเปลี่ยนเงินตรา ถึงแม้ว่าปกติแล้วธนาคารจะมีการเสนออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีที่สุด ธนาคารบางแห่งจะคิดค่าธรรมเนียมเล็กน้อยสำหรับการแลกเงินหรือเช็คเดินทาง และอัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงไว้มักจะไม่รวมภาษี ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะแลกเงินเล็กๆ น้อยๆ เป็นดอลล่าร์แคนาดาก่อนที่จะเดินทางมา เพราะโดยทั่วไปธนาคารจะเปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาทำการ(09:00 น.- 17:00 น.) เท่านั้น
ส่วนการแลกเปลี่ยนเงินตราอื่นๆค่อยข้างจะมีค่าใช้จ่ายสูง บรรดาโรงแรมร้านค้า และบู๊ทรับแลกเงินตราที่ให้บริการแลกเปลี่ยเงินตราต่างประเทศจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่สูงสุดอยู่เสมอ หรืออาจคิดค่านายหน้าสูง เมื่อใดก็ตามที่ท่านจะใช้บริการควรสอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายให้แน่ชัดก่อนที่จะแลกเงินเสมอ ทุกร้านค้า และธุรกิจต่างๆ จะรับสกุลเงินแคนาดา และบางแห่งจะรับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินสกุลอื่นทั้งหมดจะต้องแลกเปลี่ยนก่อน ธนาคารและเครื่องบริการเงินฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) นักศึกษาสามารถใช้บริการจากธนาคารต่างๆ และเครื่อง ATM ในแคนาดาได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะพบได้ง่ายในเมืองใหญ่ และจะสะดวกมากกว่าเงินสด และเช็คเดินทาง ปกติแล้ว นักศึกษาสามารถใช้บัตรธนาคารปกติ หรือบัตรเครดิตหลัก ๆ เพื่อถอนเงินสดที่ตู้ ATM ควบคู่กันไป
ท่านสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่น และใช้บริการบัตร ATM ควบคู่กันไป นอกจากนี้ ท่านยังสามารถใช้บัตร ATM กับร้านค้าจำนวนมากในแคนาดา เพื่อชำระรายการต่างๆ อาทิ เช่น ของชำ และเสื้อผ้าได้ ธนาคารจะเสนอบริการด้านต่างๆ ให้กับลูกค้า รวมไปถึงบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตู้นิรภัยเพื่อเก็บรักาาหนังสือเดินทาง และบัญชีสะสมทรัพย์ ชาวแคนาดาจำนวนมากนิยมใช้เช็คส่วนตัว ที่ธนาคารออกให้ในการชำระค่าบริการต่างๆ เช็คเดินทาง และบัตรเครดิต เช็คเดินทางจะเป็นรูปแบบของเงินตรา ที่ส่งเสริมให้ใช้ในขณะเดินทาง (ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย) และท่านสามารถซื้อได้ที่ธนาคารหลักๆ ของแคนาดา เช็คเดินทาง สามารถออกแทนได้ง่ายในกรณีที่ถูกขโมยหรือสูญหาย ร้านค้า โรงแรม ภัตตาคาร และสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ยินดีรับเช็คเดินทาง และบัตรเครดิตหลักๆ ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ท่านใช้บัตรเครดิต ในการคิดค่าใช้จ่ายของท่าน ซึ่งจะปรากฏอยู่ในใบเสร็จของบัตรเครดิต โดยอัตโนมัติ เมื่อนักศึกษาเดินทางมาถึงแคนาดา ท่านสามารถสมัครบัตรเครดิตได้ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายจะครบกำหนดชำระในทุกๆ สิ้นเดือน พร้อมดอกเบี้ยที่คิดจากยอดเงินที่ต้องชำระ
ที่พักอาศัย ที่พักที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ การพักกับครอบครัว ครอบครัวชาวแคนาดาจำนวนยินดีต้องรับนักศึกษาต่างชาติ การพักแบบนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการพัฒนาภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศสของท่าน พร้อมกับได้เรียนรู้ชีวิตประจำวันในแคนาดา และพบเพื่อนใหม่ๆที่เป็นมิตร นอกจากนี้การพักกับครอบครัวยังหยิบยื่นความมั่นคงและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับคนรุ่นหนุ่มสาวที่เดินทางมาศึกษาที่แคนาดา โดยทั่วไปการพักลักษณะนี้ จะเป็นครอบครัวชาวแคนาดาที่ต้อนรับนักศึกษาที่มาศึกษาในแคนาดา ให้พำนักอยู่ที่บ้านของตน โดยที่ครอบครัวจะจัดเตรียมอาหารและห้องพักส่วนตัวไว้ให้ รวมไปถึงการต้องรับขับสู้และกระตุ้นให้นักศึกษาผู้นั้นมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและชุมชน ทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดหาครอบครัวให้
โดยจะจัดนักศึกษาให้พักกับครอบครัวที่มีความสนใจในสิ่งที่คล้ายกัน แต่ละบ้านจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่ตั้งแตกต่างกันไป แต่ท่านสามารถเลือก และควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบถึงความต้องการของท่าน เพื่อที่ทางโรงเรียนจะได้พิจารณาจับคู่ได้อย่างเหมาะสม โรงเรียนจำนวนมากสามารถจัดการให้ตัวแทนสถาบันการศึกษา หรือครอบครัวเจ้าของที่พัก ได้พับกับนักศึกาาที่สนามบินทันทีที่ท่านเดินทางมาถึงได้ ราคาจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ตั้งและที่พักกับครอบครับบางแห่ง อาจคิดค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยแรกเริ่มสูงสุดถึง $200 เหรียญ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อกับโรงเรียนที่ท่านเข้าศึกษา ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับที่พักกับครอบครัว $400-$800 เหรียญต่อเดือน ที่พัก/หอพักในสถานศึกษา
โรงเรียนจำนวนมากจะมีที่พักจัดไว้อำนวยความสะดวกที่ตั้งอยู่ในหรือใกล้กับสถานศึกษา หอพักจะมีขนาดและคุณภาพที่แตกต่างกัน และหอพักในสถานศึกษาหลายแห่งจะใช้ห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องบริการซักรีด ที่ใช้ร่วมกัน ปกติแล้วท่านสามารถเลือกได้ว่าจะพักห้องคู่หรือห้องเดี่ยวส่วนตัวได้ โดยทั่วไปแล้วหอพักในสถานศึกษานี้จะแบ่งออกเป็นหอหญิงและหอชาย ในบางแห่งค่าใช้จ่ายของหอพักยังรวมถึงค่าอาหารด้วย นอกจากนี้หอพักในสถานศึกษาส่วนใหญ่มักจะตกแต่งเรียบร้อยแล้ว และถือเป็นที่พักวิเศษสุดสำหรับการเข้าร่วมจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และพบปะเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของที่พักและหอพักในสถานศึกษา $3000 $7,500 เหรียญต่อปีการศึกษา
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อกับโรงเรียนที่จะเข้าศึกษา ที่พักนอกสถานศึกษา การเช่าบ้าน บ้านเช่าเป็นตัวเลือกอย่างหนึ่งที่นักศึกษาสามารถเลือกได้ แต่ราคา คุณภาพ และความสะดวกสบายนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ค่าเช่าบ้านในเมืองใหญ่ ๆ จะมีราคาสูงมาก และหาได้ไม่ง่าย นักศึกษาจำนวนมากต้องพักร่วมกันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และปกติแล้วก็จะเลือกสถานที่ ที่ตรงกับความชอบ และความต้องการของตน โรงเรียนจำนวนมากได้จัดศูนย์บริการ ซึ่งมีรายชื่อของบ้านเช่าที่อยู่ใกล้กับสถานศึกษาไว้บริการผู้ที่สนใจ ที่ศูนย์บริกรดังกล่าว ผู้ที่ต้องการห้องพักคู่ก็สามารถหาเพื่อนร่วมห้องได้ด้วย ในบริเวณมหาวิทยาลัยท่านจะเห็นป้ายโฆษณาแบบต่าง ๆ ของบ้านเช่า ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษาอยู่บ่อย ๆ แต่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอก็คือ ควรเตรียมการล่วงหน้าก่อนเดินทางมาถึงแคนาดา ประเภทของบ้านเช่าที่สามารถเช่าอยู่ได้ในฐานะของนักศึกษาต่างชาติมีอยู่หลายประเภท
ปกติแล้วบ้านพักจะมีราคาแพงเกินไปสำหรับนักศึกษาที่จะเช่าอยู่เพียงคนเดียว แต่นักศึกษาหลายคนสามารถจะแบ่งหรือเช่าห้องชุด(บริเวณห้องที่ประกอบไปด้วย ห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องนอน) อยู่ภายในบ้านพักขนาดใหญ่ ทางเลือกประการต่อมาก็คืออพาร์ตเมนต์ ซึ่งจะมีห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องนอน 1 หรือ 2 ห้อง อพาร์ตเมนต์สำหรับเช่าส่วนใหญ่จะไม่รวมเฟอร์นิเจอร์อย่างไรก็ตาม บางแห่งจะรวมค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อน และหรือค่าไฟไว้ในค่าเช่าด้วย สำหรับรายชื่ออพาร์ตเมนต์หรือบ้านพักต่างๆ จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นรายสัปดาห์ถือเป็นความรับผิดชอบของนักศึกษาที่จะพิจราณาถึงความเหมาะสมเอง
เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้ตรวจสอบหรือจัดเตรียมสถานที่เหล่านี้น เจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ต้องการเงินมัดจำค่าความเสียหายและการชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนด้วยเงินสดหรือเช็ค ดังนั้นจึงความทำข้อตกลงกับเจ้าของที่ดินด้วยความรอบคอบ ท่านต้องตรวจสอบและศึกษาเงื่อนไขการเช่าอย่างละเอียดก่อนที่จะลงนาม นอกจากนี้ก่อนที่จะทำสัญญาเช่า ควรตรวจสอบ อพาร์ตเมนต์หรือห้องชุดอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีสิ่งใดที่จะให้เจ้าของห้องซ่อมแซมก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่หรือไม่ หากท่านประสบปัญหาในการเช่าบ้านท่านควรติดต่อกับสำนักงานจัดหาบ้านเช่าในมณฑลที่ท่านอยู่ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับที่พักรวมกันในแคนาดา $250-$700 เหรียญต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับห้องชุดหรืออพาร์ตเมนต์ $400-$1,500 เหรียญต่อเดือน:
พยายามจัดเตรียมเรื่องต่างๆล่วงหน้า เฉพาะอย่างยิ่งคือความถูกต้องของกำหนดการ ถ้าท่านประสงค์ที่พักในระหว่างภาคฤดูร้อนและระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์ และเทศกาล ถ้าท่านกำลังพำนักอยู่ที่โรงแรมหรือหอพักทั่วไป โปรดสอบสอบห้องพักอย่างละเอียดในทันทีที่มาถึงเสมอก่นอที่จะชำระเงิน หากท่านไม่แน่ใจเกี่ยวกับสถานที่ตั้งให้สอบถามได้จากสมาคมบริษัทท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้น ราคาอาจจะแตกต่างกันอย่างมากตามสถานที่ตั้งและช่วงเวลาของปี ดังนั้นควรลองสืบราคาก่อนที่จะเดินทาง แคนาดาเป็นดินแดนแห่งมิตรภาพและมหัศจรรย์ และหากท่านมีการเตรียมการเป็นอย่างดี ท่านจะพึงพอใจกับที่พักของท่านได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าท่านจะเลือกที่พักแบบใดก็ตาม
การขอวีซ่าแคนาดา (Canada Visa)
วีซ่านักเรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในประเทศแคนาดามากกว่า 6 เดือนต้องยื่นแบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่านักเรียน ถ้าท่านต้องการศึกษาต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า ท่านต้องยื่นแบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าชั่วคราว เมื่อท่านยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อเรียนในระยะสั้น ท่านจะไม่ได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และท่านจะต้องเดินทางออกจากประเทศแคนาดา วีซ่านักท่องเที่ยว แบบฟอร์มการขอวีซ่า โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากเว็บของสถานทูตแคนาดา พร้อมกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน ซึ่งแบบฟอร์มที่ใช้จะมีสองชุดคือแบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่า IMM 5257 และแบบฟอร์มเกี่ยวกับครอบครัว IMM 5406E
เอกสารประกอบการขอวีซ่านักเรียน
- แบบฟอร์ม IMM 1294 ที่กรอกครบถ้วนแล้ว ( ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม IMM 1294 ) / ดูข้อมูลเพิ่มเติม และ แบบฟอร์มเกี่ยวกับครอบครัว IMM 5406E
- หนังสือเดินทาง: ต้องไม่หมดอายุก่อนวันที่ท่านจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้มีรายชื่ออยู่บนคำร้องต้องยื่นหนังสือเดินทางของแต่ละท่านด้วย
- รูปถ่าย : ขนาด 1.37 x 1.77 นิ้ว จำนวน 4 ใบ และถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.cic.gc.ca/english/pdf/photospecs-e.pdf ถ้าขนาดของรูปถ่ายไม่ถูกต้อง สถานทูตจะไม่รับคำร้องขอวีซ่าของท่าน
- จดหมายตอบรับการเข้าศึกษา (ฉบับจริง) จากสถาบันการศึกษาในประเทศแคนาดา โดยระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้: ชื่อนามสกุล ที่อยู่ และวันเดือนปีเกิดของนักเรียน หลักสูตรการเรียนและระดับโปรแกรมที่จะเรียน วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาในรัฐควิเบก ท่านต้องมีหนังสือตอบรับจากรัฐควิเบก "Certificat d' acceptance" (Quebec Certificate of acceptance หรือ CAQ) ซึ่งออกให้โดยกระทรวงวัฒนธรรมสังคม และตรวจคนเข้าเมืองแห่งรัฐควิเบก (Ministre des Communautes culturelles et de l'Immigration du Quebec หรือ MCCI)
- หนังสือแสดงผลการศึกษา (official transcript) ตัวจริง 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด (ถ้าตัวจริงไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ควรให้บริษัทแปลทำสำเนาภาษาอังกฤษแนบมาด้วย) หลักฐานการเรียนล่าสุด : เช่น ทรานสคริป ประกาศนียบัตร อนุปริญญาบัตร หรือปริญญาบัตร
- หลักฐานทางการเงิน: เช่น จดหมายพร้อมลายเซ็นประทับตรารับรอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ ทนายความเป็นพยาน (Notarized Public) แสดงความยินยอมและความสามารถทางการเงินของผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักเรียนขณะที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่ในประเทศแคนาดา พร้อมยื่นจดหมายรับรองจากธนาคาร ในกรณีที่ได้รับการอุปถัมภ์จากองค์กร หรือได้รับทุนการศึกษา ต้องยื่นจดหมายจากองค์กรนั้น โดยระบุลักษณะ จำนวน และข้อกำหนดของเงินทุนที่ได้รับ
- นักเรียนที่มีอายุ 18 ปี หรือมากกว่า ต้องยื่นหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่าท่านไม่มีประวัติอาชญากรรมในทะเบียนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- หลักฐานอื่น ๆ หลังจากจบการศึกษา - ถ้าเคยทำงานแล้ว หนังสือรับรองจากที่ทำงาน (รวมถึงงานที่ทำกับครอบครัว) ระบุตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงาน
- ถ้าเป็นข้าราชการจะเดินทางไปอบรมเป็นกลุ่มระยะสั้น หรือได้ทุนไปศึกษาต่อระยะยาว ต้องมีหนังสือทางจากกระทรวงการต่างประเทศอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศได้
- ถ้าอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องมีจดหมายจากผู้ปกครองอนุญาตให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : นักเรียนที่ประสงค์จะศึกษาต่อในประเทศแคนาดามากกว่า 6 เดือนต้องผ่านการตรวจสุขภาพ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกแบบฟอร์มสำหรับการตรวจสุขภาพให้ท่าน ต่อเมื่อคำร้องของท่านได้ผ่านการพิจารณาแล้ว
นักเรียนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้:
- หนังสือลงนามประทับตรา (Notarized Public) จากบิดามารดาหรือผู้ดูแลตามกฎหมายในประเทศของผู้ขอมอบอำนาจให้นักเรียนอยู่ในความดูแลของผู้ดูแลนักเรียนในประเทศแคนาดา โดยระบุชื่อของผู้ดูแลนักเรียน ซึ่งจะทำหน้าที่แทนผู้ปกครองในยามฉุกเฉิน เช่นกรณีเจ็บป่วยและต้องการด้านการรักษาพยาบาลเร่งด่วนหรือต้องการให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- หนังสือลงนามประทับตรา (Notarized Public) จากผู้ดูแลนักเรียนในประเทศแคนาดา ระบุความพร้อมที่จะรับผิดชอบในการดูแลนักเรียนแทนบิดามารดา ในกรณีฉุกเฉิน เช่น กรณีเจ็บป่วยและต้องการการรักษาพยาบาลเร่งด่วน หรือต้องการให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ค่าธรรมเนียมวีซ่าที่เรียกเก็บ เป็นค่าบริการสำหรับการดำเนินการ มิใช่เป็นค่าวีซ่า เพราะฉะนั้นท่านต้องยื่นค่าธรรมเนียมพร้อมคำร้องขอวีซ่า เพื่อเจ้าหน้าที่จะสามารถเริ่มดำเนินการพิจารณาคำร้องของท่าน ในกรณีที่ท่านถูกปฎิเสธวีซ่าหรือต้องการถอนคำร้อง ทางสถานทูตจะไม่คืนค่าธรรมเนียม การจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่าทุกประเภท ท่านต้องจ่ายเป็นเงินไทย (บาท) หรือเงินเหรียญแคนาดา (125 เหรียญ) หรือเงินเหรียญสหรัฐ สถานทูตจะรับเฉพาะแบงค์ดราฟท์ หรือแคชเชียร์เช็ค สั่งจ่ายในนามสถานเอกอัครราชทูตแคนาดา เท่านั้น / ดูค่าธรรมเนียมวีซ่าทุกประเภท ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาไม่รับเงินสด ในการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าทุกประเภท จะรับเฉพาะแบงค์ดราฟท์ หรือแคชเชียร์เช็ค สั่งจ่ายในนามสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาเท่านั้น เจ้าหน้าที่อาจเชิญท่านมาสัมภาษณ์ เพื่อประกอบการพิจารณาคำร้องขอวีซ่าของท่าน ท่านต้องตอบคำถามบนคำร้องขอวีซ่าให้ครบถ้วน และตามความเป็นจริง หากท่านไม่ปฎิบัติตาม อาจเป็นผลให้การดำเนินการล่าช้า หรือถูกปฎิเสธวีซ่าได้ หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอวีซ่านักเรียนหรือขั้นตอนการยื่นคำร้อง ท่านสามารถหาได้จากเอกสารที่กระทรวงสัญชาติและกิจการคนเข้าเมืองจัดเตรียมให้ดังต่อไปนี้: Studying in Canada: A Guide for International Students
กรณีที่นักศึกษามีผู้สนับสนุนด้านการเงิน หรือได้รับทุนการศึกษา สมุดบัญชีของผู้สนับสนุน ประเภทกระแสรายวัน หรือเงินฝากประจำ หรือออมทรัพย์ หรือบัญชีในรูปบริษัท (ต้องมีหลักฐานระบุชื่อของผู้สนับสนุนอยู่ด้วยและเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในการสั่งจ่าย พร้อมสำเนาทะเบียนการค้า การจดทะเบียนของบริษัท) ย้อนหลัง 6 เดือน ตัวจริง และสำเนา หรือ Bank statement ของบัญชีที่ทางธนาคารออกให้ย้อนหลัง 6 เดือน ตัวจริง และ สำเนา และ จดหมายรับรองฐานะการเงินของนักศึกษาจากทางธนาคาร ตัวจริง จดหมายรับรองของผู้สนับสนุน ระบุความสัมพันธ์ และความประสงค์ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของนักศึกษาในระหว่างที่ศึกษาอยู่ ณ แคนาดา ตัวจริง ในกรณีที่นักศึกษาได้รับทุนการศึกษา ต้องมีจดหมายทางการ ตัวจริง จากหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของทุน ระบุถึงรายละเอียดของทุนและความรับผิดชอบทาง การเงิน
ขั้นตอนในการขอวีซ่านักเรียน
- ตรวจความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารต่างๆ ก่อน
- นำเอกสารไปที่ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ยื่นคำร้องขอวีซ่าชั่วคราวได้ด้วยตัวท่านเอง ที่สถานเอกอัครราชทูตแคนาดา แผนกตรวจคนเข้าเมือง กรุงเทพฯ ในเวลาทำการ: วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 07.30-10.00 น.
- เจ้าหน้าที่ Immigration จะดูเอกสาร และในบางกรณีอาจจะสัมภาษณ์ถึงจุดประสงค์ในการไปศึกษาต่อ ณ แคนาดา ในวันเดียวกัน หรือนัดมาสัมภาษณ์ภายหลัง
- ถ้าเอกสาร และการสัมภาษณ์ผ่านไปโดยเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ Immigration จะให้ฟอร์มการตรวจสุขภาพ (medical form) พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ที่สถานทูตฯ รับรองและกำหนดไว้ในกรุงเทพฯ