ประเทศออสเตรเลีย
ข้อมูลทั่วไป ออสเตรเลียในอดีต ชาวอะบอริจิน ถือเป็นชนชาวพื้นเมืองพวกแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลีย เมื่อประมาณ 5,000 ปี ในปี ค.ศ.1770 กัปตันเจมส์ คุก แห่งราชนาวีอังกฤษได้เข้ามาในน่านน้ำทะเลใต้ และล่องเรือขึ้นมายังชายฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย พร้อมทั้งประกาศให้ออสเตรเลียอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรอังกฤษในปี ค.ศ.1788 จำนวนผู้อพยพกลุ่มแรกจากราชอาณาจักรอังกฤษ 1,530 คน เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอวีปออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 มกราคม โดยยึดเอา Port Jackson เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรซึ่งกลายมาเป็น Sydney ในปัจจุบัน ภูมิศาสตร์ ออสเตรเลียในประเทศที่มีลักษณะเป็นทวีป มีเนื้อที่ 7,682,300 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 รองจากประเทศรัสเซีย แคนาดา จีน อเมริกา บราซิล เนื้อที่ 1 ใน 3 เป็นทะเลทราย ประชากรตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเพราะเป็นเขตที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีฝนตกชุกกว่า ภูมิอากาศของประเทศออสเตรเลียมีทั้งที่เป็นเขตร้อนและเขตอบอุ่น เนื้อที่ส่วนใหญ่ของรัฐ Northern Territory, รัฐ Queensland และบางส่วนของรัฐ Western Australia ตั้งอยู่ในเขตร้อนเหมือนประเทศไทย นอกนั้นอยู่ในเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ระหว่าง 27 องศาเซลเซียสเหนือสุด ถึง 13 องศาเซลเซียสตอนใต้สุด ฤดูกาล ฤดูร้อน - ธันวาคม กุมภาพันธ์ ฤดูใบไม้ร่วง - มีนาคม พฤษภาคม ฤดูหนาว- มิถุนายน สิงหาคม ฤดูใบไม้ผลิ- กันยายน พฤศจิกายน
เวลา ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงมีความแตกต่างของเวลาตามมาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time, GMT) โดยแบ่งออกเป็น 3 โซน ดังนี้ Eastern Standard Time-EST เร็วกว่าเวลา GMT 10 ชั่วโมง และเร็วกว่าประเทศไทย 3 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ New South Wales, Victoria, Tasmania, Queensland และ Canberra Central Standard Time-CST เร็วกว่าเวลา GMT 9.5 ชั่วโมง และเร็วกว่าประเทศไทย 2.30 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ South Australia และเขตปกครอง Northern Territory Western Standard Time-WST เร็วกว่าเวลา GMT 8 ชั่วโมง และเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ Western Australia ตัวอย่างเช่น เวลาในกรุงเทพ 7.00 น. จะเป็นเวลาในเมืองหลวงของรัฐต่างๆ ดังนี้ Sydney, Brisbane, Melbourne, Hobart, Canberra เวลา 10.00 น. Adelaide, Darwin เวลา 9.30 น. Perth เวลา 8.00 น. ในฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูที่มีช่วงกลางวันยาวกว่าช่วงกลางคืน จะมีการหมุนนาฬิกาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในทุกรัฐ (Daylight Saving) ยกเว้นรัฐ Western Australia และรัฐ Queensland การปกครอง ออสเตรเลีย มีการปกครองในระบบสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 6 รัฐ New South Wales เมืองหลวงคือ Sydney Victoria เมืองหลวงคือ Melbourne Queensland เมืองหลวงคือ Brisbane Western Australia เมืองหลวงคือ Perth South Australia เมืองหลวงคือ Adelaide Tasmania เมืองหลวงคือ Hobart และเขตปกครองตนเอง 2 เขตคือ Australian Capital Territory มี Canberra เป็นเมืองหลวง Northern Territory มี Darwin เป็นศูนย์กลาง รัฐบาลสหพันธ์รับผิดชอบกิจการระดับประเทศ เช่น การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ ส่วนรัฐบาลในระดับรัฐ ดูแลด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง การบริการสาธารณสุข และรัฐบาลในระดับท้องถิ่น ดูแลสาธารณูปโภค การระบายน้ำ การกำจัดของเสีย สวนสาธารณะ ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ปัจจุบันออสเตรเลียมีสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประมุขและมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำบริหารประเทศ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ Mr.John Howards ประชากร ปัจจุบันออสเตรเลียมีประชากรโดยประมาณ 19,500,000 คน อาศัยอยู่หนาแน่นแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วยคนจากหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรมกว่า 140 ประเทศ ที่อพยพหรือเป็นลูกหลานของผู้อพยพซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ และประชากร 1 ใน 20 มาจากประเทศแถบเอเชีย จึงถือได้ว่าออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่สังคมเป็นแบบสหวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ศาสนา ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่ให้อิสระด้านการนับถือศาสนาแก่ประชากร แม้ว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่จะเป็นชาวคริสเตียน แต่ประชากรอีกจำนวนมากก็นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม ฮินดู และยิว ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่คนแต่ละศาสนาจะให้เกียรติและเคารพในประเพณีปฏิบัติของกันและกัน
ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยให้ น้อง ๆ สามารถพัฒนาการเรียนจากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่งได้ง่ายอีกด้วย English Course (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรภาษาอังกฤษในออสเตรเลียเรียกว่า ELICOS (English Language Intensive Courses for Overseas Students) คือ ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งเปิดสอนตลอดทั้งปี น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนได้ตั้งแต่ 4 - 48 สัปดาห์ตามความต้องการค่ะ หลักสูตรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น หลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อเรียนต่อในระดับมัธยม (High School Preparation) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับน้อง ๆ ก่อนที่จะไปเรียนจริงในโรงเรียนมัธยม Intensive General English (หลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วไป) เน้นทักษะทางด้านการพูด ฟัง อ่านและเขียน ใช้เวลาเรียน 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ? English plus Activities (หลักสูตรภาษาอังกฤษในช่วงปิดภาคเรียน) เป็นหลักสูตรที่น่าเรียน มาก ๆ ค่ะ เพราะน้อง ๆจะได้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและกิจกรรมการท่องเที่ยวควบคู่กันไป โดยเรียนในช่วงเช้า และในภาคบ่ายของหลักสูตรจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย English for Academic Purpose (หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ) เน้นไวยากรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับน้อง ๆ ที่พอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ English for Examination Purpose (หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวสอบ) เน้นการพัฒนาและฝึกเทคนิคการทำข้อสอบประเภท.IELTS, TOEFL และ สอบข้อทดสอบ Cambridge Certificate รวมทั้งจำลองการสอบสัมภาษณ์เหมือนสถานการณ์จริง English for Vocational (หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในสายวิชาชีพ) เป็นการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการเรียนในสายวิชาชีพเฉพาะสาขาต่างๆ เช่น การบิน ท่องเที่ยว การแพทย์ โรงแรม English Plus Internship & Work Experience (หลักสูตรภาษาอังกฤษควบคู่กับการทำงาน) หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมากๆ สำหรับน้อง ๆ ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ และต้องการมีประสบการณ์ การทำงานจริงในบริษัทที่ออสเตรเลียและที่สำคัญเมื่อฝึกงานเสร็จแล้ว น้อง ๆ จะได้รับใบรับรองการฝึกงานจากหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย English for Business Purpose (หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ) เป็นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในธุรกิจ.เช่น.การเขียนรายงานการประชุม.การนำเสนอ การเขียนแผนงานทางธุรกิจ.การสื่อสารทางธุรกิจ.การต่อรองกับลูกค้า.เป็นต้น หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Foundation Studies) เป็นหลักสูตรที่เตรียมความพร้อมให้กับน้องๆในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียโดยใช้เวลาเรียน 1 ปี เนื้อหาของหลักสูตรมาจาก Year 11-12 บวกกับวิชาพื้นฐานในสาขาที่น้อง ๆ จะต้องเรียนต่อในระดับปริญญาตรี เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ บัญชี ฟิสิกข์ หรือเคมี เป็นต้น หลักสูตรนี้ แบ่งออกเป็น สายวิทย์ สายศิลป์ และธุรกิจ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่จบ ม6 หรือเทียบเท่าและมีผล IELTS ประมาณ 5.0 หรือ TOEFL ประมาณ 500 ขึ้นไป ถ้าสอบผ่านทุกวิชาของหลักสูตร Foundation ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็สามารถจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย สำหรับน้อง ๆ ที่จบปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว สามารถสมัครเรียนระดับปริญญาตรีได้โดยทันทีโดยไม่ต้องเรียนหลักสูตรนี้ สถาบันเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่อง (Technical and Further Education Institute) สถาบันเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่องที่เรียกสั้นๆ ว่า เทฟ (TAFE) เป็นหลักสูตรที่เตรียมพร้อมให้กับน้อง ๆ เพื่อการทำงานด้านวิชาชีพหรือเพื่อศึกษาต่อ หลักสูตรนี้จะสอนทักษะสำคัญๆ เกี่ยวกับวิชาชีพด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ และหลักสูตรทั่วไป แบ่งการสอนเป็น 3 ระดับคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับ 1 ถึง 4 (Certificate I-IV) ใช้เวลาเรียน 6 เดือน - 1ปี เป็นหลักสูตรวิชาชีพพื้นฐาน เน้นความรู้ระดับปฏิบัติงาน อนุปริญญา (Diploma) ระยะเวลาเรียน 2 ปี เป็นหลักสูตรระดับปฏิบัติงาน และวางแผน อนุปริญญาชั้นสูง (Advanced Diploma) ระยะเวลาเรียน 2-3 ปี สามารถโอนหน่วยกิต ไปต่อระดับปริญญาตรีได้ วิทยาลัยเอกชน (Private Colleges) หลักสูตรในวิทยาลัยเอกชนเหมาะสำหรับน้อง ๆที่ต้องการการเรียนภาษาอังกฤษวิชาชีพเพิ่มเติม หลังจากจบปริญญาตรีมาแล้ว เนื่องจากระยะเวลาเรียนสั้น เน้นการปฏิบัติ ถ้ามีผล TOEFL ประมาณ 500 หรือ IELTS ประมาณ 5.0-5.5 สามารถสมัครเรียนได้เลย ถ้าไม่มีผลภาษาอังกฤษ ก็อาจจะไปเรียนภาษาอังกฤษก่อนกับ วิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษและหลักสูตรวิชาชีพ ในบางวิทยาลัยนักศึกษาอาจจะไม่ต้องสอบ IELTS เนื่องจากวิทยาลัยเอกชนจะวัดผลจากการเรียนภาษาอังกฤษของสถาบันเอง ถ้าผ่านถึงเกณฑ์ที่ทางสถาบันกำหนดก็สามารถเรียนต่อในหลักสูตรที่สนใจได้ ค่าเล่าเรียน การเปิดเรียนของวิทยาลัยเอกชน ส่วนใหญ่จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ทุกเดือน การศึกษาพิเศษและวิทยาลัยเอกชน (Special Studies) สถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยเฉพาะวิทยาลัยเทคนิค TAFE และวิทยาลัยเอกชนยังเปิดสอนหลักสูตรที่เรียกว่า การศึกษาพิเศษ (Special Studies) ซึ่งเป็นหลักสูตรให้ความรู้ด้านวิชาชีพระยะสั้นๆ เช่น การท่องเที่ยว การโรงแรม อาหาร เสริมสวย การบิน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรอบรมความรู้พิเศษด้านต่างๆ ทั้งบันเทิงและกีฬา เช่น ว่ายน้ำ ประดาน้ำ กอล์ฟ เทนนิส เป็นต้น หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Foundation Studies) เป็นหลักสูตรที่เตรียมความพร้อมให้กับน้องๆในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียโดยใช้เวลาเรียน 1 ปี เนื้อหาของหลักสูตรมาจาก Year 11-12 บวกกับวิชาพื้นฐานในสาขาที่น้อง ๆ จะต้องเรียนต่อในระดับปริญญาตรี เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ บัญชี ฟิสิกข์ หรือเคมี เป็นต้น หลักสูตรนี้ แบ่งออกเป็น สายวิทย์ สายศิลป์ และธุรกิจ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่จบ ม6 หรือเทียบเท่าและมีผล IELTS ประมาณ 5.0 หรือ TOEFL ประมาณ 500 ขึ้นไป ถ้าสอบผ่านทุกวิชาของหลักสูตร Foundation ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็สามารถจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย สำหรับน้อง ๆ ที่จบปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว สามารถสมัครเรียนระดับปริญญาตรีได้โดยทันทีโดยไม่ต้องเรียนหลักสูตรนี้ ปริญญาตรี (Bachelor Degree) ปัจจุบันออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี และวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกระดับวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ คุณภาพได้มาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นดีของประเทศอังกฤษ แคนาดา และอเมริกา มหาวิทยาลัยเป็นของรัฐบาลทั้งหมดยกเว้น Bond University และ The University of Notre Dame ปริญญาตรีของออสเตรเลียนั้นจะแตกต่างจากประเทศไทย การรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีจึงพิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในกรณีที่เป็นนักเรียนต่างชาติก็พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมปลายด้วยค่ะ ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Graduate Certificate) เป็นหลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน เพื่อเสริมความรู้เฉพาะด้านมีหลายสาขาให้เลือก เช่น ผู้ที่จบปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ อาจเรียนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System) เพิ่มเติม หรือน้อง ๆ ที่สมัครเรียนในระดับปริญญาโท ทางสถาบันอาจให้ลงทะเบียนหลักสูตรนี้ก่อนเพื่อประเมินผลการเรียนหรือเป็นการ ปรับพื้นฐานและเมื่อน้อง ๆ มีผลการเรียนเป็นตามเกณฑ์แล้วก็สามารถจะศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโทได้ อนุปริญญาโท (Graduate Diploma) เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาศึกษา 1 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี ที่มีประสบการณ์ใน การทำงานแล้ว และต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เฉพาะด้าน เป็นหลักสูตร ฟังคำบรรยาย (Coursework) อาจมีการทำ Project หรือ มีภาคปฏิบัติในบางสาขาวิชา ในหลายสาขาวิชา เช่น MBA ได้จัดให้ Graduate Diploma เป็นหลักสูตรปีแรกของโปรแกรม ซึ่งถ้านักศึกษา สามารถทำคะแนนได้ดี ในปีแรกก็สามารถผ่านไปเรียนปีที่สอง ในระดับปริญญาโทได้ ปริญญาโท (Master Degree) ใช้ระยะเวลาเรียน 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและลักษณะการเรียน น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนได้ 3 แบบ คือ การเรียนแบบเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน (Coursework) การเรียนแบบเขียนวิทยานิพนธ์ (Thesis) เรียนแบบเข้าชั้นเรียนและการเขียนวิทยานิพนธ์ (Coursework & Thesis) น้อง ๆ สามารถสอบถามจากพี่ ๆ ได้ค่ะว่าสถาบันใดให้เรียนแบบใดได้บ้าง เช่น เลือก Coursework 50% และ Thesis อีก 50% หรือ อัตราส่วนระหว่าง Coursework และ Thesis เป็น 70%-30% บางสาขา โดยเฉพาะ MBA รับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่จะต้องมีประสบการณ์การ ทำงานอย่างน้อย 1 ปี ในกรณีที่จบปริญญาตรีมาสาขาหนึ่ง และต้องการเรียนต่อปริญญาโทอีกสาขาหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยอาจให้ทดลองเรียน 1 ปีก่อน ซึ่งเรียกว่า Master Qualifying จึงจะสามารถเรียนต่อไปในระดับ ปริญญาโทได้ ปริญญาเอก (Doctoral Degree) ใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 3-5 ปี เป็นหลักสูตรวิจัยค้นคว้า คือเขียนวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ขณะนี้บางมหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มหลักสูตร Coursework เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับปริญญานี้ด้วย ผู้ที่จะเรียนระดับปริญญาเอกจึงควรมีพื้นฐานการทำวิจัยในระดับปริญญาโทมาก่อ ขั้นตอนการสมัครเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อพิจารณาเลือกสถาบันการศึกษาที่เหมาะสมกับตัวเราได้ส่วนหนึ่งแล้ว ก็สามารถติดต่อไปยังสถาบันนั้น ๆ โดยตรง เพื่อขอใบสมัคร รวมถึงหลักสูตร MBA ด้วย โดยทั่วไปแล้วนักศึกษาสามารถติดต่อ International Student Office เพื่อขอใบสมัครได้ อย่างไรก็ดี สถาบันการศึกษาส่วนมากในปัจจุบันนี้ นักศึกษายังสามารถติดต่อขอรับใบสมัครจากตัวแทนของสถาบันในประเทศไทย หรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ เมื่อได้รับใบสมัครแล้ว กรอกใบ สมัครให้ครบและแนบเอกสารประกอบการสมัครดังนี้ 1. ค่าสมัคร: นักศึกษาต้องจัดส่งค่าสมัครตามจำนวนและในรูปแบบที่กำหนดไว้ในใบสมัคร ไปพร้อมกับใบสมัครด้วย ซึ่งอาจจัดส่งไปในรูปแบบของเช็คธนาคาร สั่งจ่ายชื่อสถาบันการศึกษา หรือการชำระเงินโดยเครดิตการ์ด 2. หลักฐานเกี่ยวกับการศึกษาที่ผ่านมา (Transcript): ต้องเป็นภาษาอังกฤษ หากไม่มี ต้องนำไปให้หน่วยงานแปลเอกสารที่ได้รับการรับรอง แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ก่อน (บางสถาบันอาจกำหนดให้ส่งเอกสารต้นฉบับ หรือสำเนาที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น) รวมทั้งสำเนาคุณวุฒิทางการศึกษาต่าง ๆ ที่ได้รับ 3. หลักฐานความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ: แต่หากสมัครในหลักสูตรภาษาอังกฤษ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานในส่วนนี้อย่างไรก็ดี การสมัครในหลักสูตรระดับปริญญาโทส่วนใหญ่นักศึกษามักต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังนี้ 4. เอกสารเกี่ยวกับการทำงานที่ผ่านมา: ในกรณีที่ยื่นใบสมัครในหลักสูตรที่กำหนดให้ผู้สมัครมีประสบการณ์ 5. จดหมายรับรองของอาจารย์ผู้สอน / อาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 ท่าน (Letter of Recommendation): ต้องเป็นภาษาอังกฤษเช่นกัน หากนักศึกษายังไม่เคยทำงานมา ต้องให้อาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้เขียนให้ แต่สำหรับผู้ที่ทำงานมาแล้วเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษามาเป็นเวลานานแล้วสามารถให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ออกเอกสารให้ได้ แต่ก็ยังควรใช้จดหมายรับรองจากอาจารย์อย่างน้อย 1 ฉบับ 6. เรียงความประวัติส่วนตัวของนักเรียน (Statement of Purpose) : เป็นบทความที่เขียนขึ้น โดยครอบคลุมถึงประวัติการศึกษาที่ผ่านมา และโครงการการศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงความตั้งใจและเป้าหมายในการศึกษา 7. หัวข้องานวิจัย: ในกรณีที่นักศึกษาต้องการสมัครหลักสูตรงานวิจัย ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก นักศึกษาต้องส่งรายละเอียดเบื้องต้น เกี่ยวกับงานวิจัยที่ต้องการทำไปด้วยเนื่องจากสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ต้องใช้รายละเอียดในส่วนนี้ในการจัดหาอาจารย์ที่สามารถดูแลนักศึกษาได้ เมื่อนักศึกษากรอกใบสมัคร พร้อมเตรียมเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การลงลายมือชื่อ ท้ายใบสมัคร อาจทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ล่าช้าไปโดยใช่เหตุ เนื่องจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ จะไม่สามารถดำเนินการสมัครใดใดได้เลย หากนักศึกษาไม่ได้ลงลายมือชื่อ ซึ่งหมายถึงสถาบันการศึกษาต้องติดต่อกลับที่นักศึกษาก่อน เพื่อให้ลงชื่อแล้วจึงจะสามารถนำเรื่องทั้งหมด ไปดำเนินการได้ นักศึกษาสามารถส่งใบสมัครและเอกสารประกอบทั้งหมดกลับไปยังสถาบันการศึกษาในประเทศออสเตรเลียโดยตรงได้ หรือส่งกับตัวแทน ของสถาบันในประเทศไทย หรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาในประเทศออสเตรเลียที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เมื่อสถาบันได้เอกสารต่าง ๆ ครบ ก็พิจารณาแจ้งผลการสมัครให้ทราบ โดยระยะเวลาที่ใช้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบัน ในกรณีที่สถาบันพิจารณารับนักศึกษาเข้าในหลักสูตรที่สมัคร สถาบันก็จะจัดส่งจดหมายแจ้งให้ทราบซึ่งรียกว่า Letter of Offer โดยจะแจ้งเงื่อนไขต่าง ๆ ของสถาบันให้ทราบด้วย ทั้งในเรื่องของการยืนยันเพื่อเข้าศึกษา การชำระค่าเล่าเรียนล่วงหน้าเพื่อการออกเอกสาร COE ที่ต้องใช้ในการสมัครขอวีซ่า ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายสำหรับการไปศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลียสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือค่าเล่าเรียน 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของเมือง สถาบันการศึกษา ประเภทของหลักสูตร และระยะเวลาของหลักสูตร แต่หากดูโดยรวมแล้ว อัตราค่าใช้จ่ายของประเทศออสเตรเลียจะต่ำกว่าในประเทศ สหราชอาณาจักร (UK) และในประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) ค่าเล่าเรียน อัตราค่าเล่าเรียนของหลักสูตรต่าง ๆ ในประเทศออสเตรเลียจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเมืองที่จะไปอยู่ และสถาบันการศึกษาที่จะไปเรียนด้วย โดยสามารถสรุปพอเป็นสังเขปได้ดังนี้ หลักสูตร ค่าเล่าเรียนต่อปี หลักสูตรปีพื้นฐานก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี A$ 9,000 - A$ 14,000 หลักสูตรระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree) * สาขาศิลปศาสตร์บริหารธุรกิจ เศรษศาสตร์และนิติศาสตร์ A$ 10,000 - A$ 13,500 * สาขาทางการปฏิบัติการในห้องทดลอง (วิทยาศาสตร์/วิศวกรรม) A$ 11,000 - A$ 16,500 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา *ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (Graduate Certificate) A$ 9,000 - A$ 16,000 *ระดับอนุปริญาโท (Graduate Diploma) A$ 9,000 - A$ 16,000 *ระดับปริญาโท (Master Degree) A$ 11,000 - A$ 18,500 *ระดับปริญาเอก A$ 11,000 - A$ 18,500 * MBA A$ 12,000 - A$ 55,000 หลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมสายอาชีพ (VET) A$ 5,500 - A$ 18,000 (Certificate I - IV, Diploma และ Advanced Diploma) หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา *ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย A$ 6,000 - A$ 13,000 *ระดับโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น A$ 5,000 - A$ 11,000 หลักสูตรภาษาอังกฤษ A$ 250 - A$ 350 ต่อสัปดาห์
การคมนาคม ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีระบบขนส่งมวลชนที่ยิ่งใหญ่และทันสมัย ซึ่งได้แก่ รถไฟ รถประจำทาง รถราง เรือข้ามฟาก รถไฟลอยฟ้า แท็กซี่ และเรือหางยาว ( Water Taxis ) อย่างไรก็ตาม นักศึกษาชาวต่างชาตินั้นไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางด้วยบัตรโดยสารประเภท Concession Card หากฝ่าฝืนท่านจะถูกจับและต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ A$ 100 ขึ้นไป แต่สามารถซื้อบัตรโดยสารประเภท Weekly Pass ( รายสัปดาห์ ) หรือประเภท Travel Ten ( 10 เที่ยว )ในการโดยสารรถประจำทาง รถราง และเรือข้ามฟาก เพื่อช่วยประหยัดค่าเดินทางได้ โดยน้อง ๆ จำเป็นต้องมีบัตรผ่านสีแดง สีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความจำเป็นต้องเดินทางไกลแบบข้ามประเทศ หรือเดินทางไปยังเมืองอื่นๆในประเทศออสเตรเลีย การประกันสุขภาพสำหรับนักศึกษาต่างชาติ (OSHC) ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีมาตรฐานสูงในเรื่องการดูแลสุขภาพและอนามัย ดังนั้นนักศึกษาชาวต่างชาติสามารถวางใจได้ว่าจะไม่เผชิญกับโรคร้ายใดๆ ทั้งนี้นักศึกษาชาวต่างชาติ จะต้องเข้าเป็นสมาชิกในโครงการประกันสุขภาพสำหรับนักศึกษาต่างชาติ (OSHC) ตลอดช่วงเวลาของการมีวีซ่าอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ธนาคารและเวลาทำการ ประเทศออสเตรเลียมีธนาคารเป็นจำนวนมาก และต่างก็เป็นธนาคารที่จดทะเบียนภายใต้ข้อกำหนดของรัฐบาลออสเตรเลียทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามมี 5 ธนาคารหลักในออสเตรเลีย ได้แก่ ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย ( National Australia Bank ) ธนาคารแห่งเครือจักรภพ ( Commonwealth Bank ) ธนาคารเวสต์แพ็ค ( Westpac ) ธนาคารเอเอ็นแซด ( ANZ Bank ) และธนาคารเซ็นต์จอร์จ ( St. George Bank ) ปรกติธนาคารจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.30 น. จนถึง 16.00 น. ในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี และในวันศุกร์เปิดบริการถึงเวลา 17.00 น. ส่วนเวลาทำงานและเวลาการให้บริการไปรษณีย์ปรกตินั้นเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนถึง 17.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ การครองชีพและช็อปปิ้ง วิถีชีวิตในประเทศออสเตรเลียได้รับการจัดว่าเป็นวิถีชีวิตปลอดภัย และอบอุ่นที่มีมาตรฐานทางสังคมสูง รวมทั้งมีสถานที่ชอปปิ้งมากมายในซิดนีย์ เมลเบิร์น และมีสินค้าต่างๆมากมายให้ท่านเลือกได้ในราคาที่หลากหลาย โดยสามารถเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ท่านพอใจที่สุดได้ ส่วนเวลาการบริการนั้นเริ่มตั้งแต่ 9.00 น. จนถึง 17.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ทั้งนี้ทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์จะขยายเวลาบริการ จนถึงเวลาประมาณ 21.00 น. สำหรับซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นส่วนมากจะเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันหรือให้link ไปที่ www.citysearch.com.au ระบบไฟฟ้า ไฟฟ้าในบ้านนั้นอยู่ที่ 230-250 โวลต์ / 50 วงจรสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ได้ เป็นแบบตัวเสียบระบบ AC ที่มี 3 หัว สามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ได้แต่ปลั๊กไฟบ้านเราจะเป็น 2 หัว น้อง ๆ สามารถหาชื้อหัวปลั๊กจากเมืองไทยไปก็ได้หรือไปหาซื้อที่ออสเตรเลียก็ได้ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีการจัดการระบบโทรคมนาคมค่อนข้างซับซ้อน สำหรับโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถโทรระหว่างประเทศได้นั้น จะมีบริการอยู่ที่ไปรษณีย์ทุกแห่ง ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงเรียน สถานีรถไฟ สี่แยกตามท้องถนนต่างๆ และอื่นๆ ค่าบริการโทรศัพท์ภายในประเทศคือ 40 เซ็นต์ สำหรับการโทรระหว่างประเทศนั้นมีหลากหลายราคา ตั้งแต่ 80 เซ็นต์ต่อนาที ไปจนถึงประมาณ A$ 2.5 ต่อนาทีขึ้นอยู่กับประเทศที่โทรไป