ทุนฟุลไบรท์ ทำงานวิจัยที่สหรัฐ 1 ปี
สำนักการศึกษาและวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกาและสภาการแลกเปลี่ยนทุนการศึกษานานาชาติ (The Bureau of Education and Culture Affairs of the U.S.Department of State and the Council for International Exchange of Scholars (CIES)) ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) มอบทุนวิจัยจำนวน 25-30 ทุน ให้กับนักศึกษาจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ประจำปีการศึกษา 2009-2010 ภายใต้ทุนที่มีชื่อว่า the Fulbright New Century Scholars (NCS)
ช่วงเวลาดังกล่าวประกอบไปด้วย การประชุมสัมมนา 3 หัวข้อใหญ่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนกับทางฟุลไบรท์ โดยงานวิจัยดังกล่าวจะเน้นเรื่องของโลก ในหัวข้อที่ว่า ?The University as Innovation Driver and Knowledge Center?
จากความร่วมมือทางภาคธุรกิจและสังคมที่มีมากขึ้นในโลกของเรา ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาและทุกประเทศทั่วโลกต้องพบกับการแบ่งปันโอกาสและความท้าทายที่จะนำพาสังคมไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวในภาคเศรษฐกิจและสังคมไปด้วยกันทั่วโลก ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น
โปรแกรมนี้จะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2009 ก่อนที่จะไปสรุปในเดือนเมษายน 2010 โดยผู้ได้รับทุนจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกที่ได้รับคัดเลือกผ่านฟุลไบรท์ ในชื่อทุนที่ว่า New Century Scholar research (NCS) จะร่วมกันทำวิจัย โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้รับทุน จะเป็นผู้รับทุนจากสหรัฐอเมริกา ที่จะต้องศึกษา ค้นคว้าวิจัยในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตามที่โปรแกรมวางไว้ และส่วนที่เหลือคือประมาณ 2 ใน 3 จะเป็นผู้รับทุนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่อยู่ในโปรแกรม ผู้ได้รับทุนจากประเทศต่าง ๆ (ไม่ใช่ในส่วนของอเมริกา) จะมีโอกาสได้เข้าร่วมงานสัมมนา จำนวน 3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่จะมีการกำหนดกันไว้ล่วงหน้า
คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้สมัครทุกคนจะต้องมีความรู้ความสามารถ คุณสมบัติ และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ที่มีความเกี่ยวข้องกับทุน New Century Scholar Research และในส่วนบุคคลทุกคนจะต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของงานวิจัยให้ได้
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้ได้รับทุนจะได้รับเงินประมาณ 30,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อการใช้จ่ายในเรื่องการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่าอุปกรณ์ในการวิจัย รวมไปถึงเงินเดือนบางส่วน แต่จะไม่รวมในเรื่องค่าสิ่งอำนวยความสะดวก และค่าอาหารในระหว่างงานสัมมนา
วันหมดเขตรับสมัคร
วันที่ 20 ตุลาคม 2008
สถานที่ติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ตึกไทวา 1 ชั้น 3 21/5 สาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทร. 0-2285-0581 ต่อ 104 วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.fulbrightthai.org
ฟุลไบรท์ (Fulbright) : ชื่อนี้มาจากไหน
คนไทยจำนวนหนึ่ง อาจไม่รู้เลยว่า ชื่อฟุลไบรท์มาจากไหน เราจึงมักจะได้ยินการกล่าวติดตลกว่า ?คนไม่ไบรท์ (bright) สมัครทุนฟุลไบรท์ไม่ได้? แถมเข้าใจเสียอีกว่า คำว่า ?ฟุล? คือ ?Full? ที่แปลว่าเต็ม ซึ่งทำให้นำมาพุดคุยเล่น ๆ ตามประสาคนไทยต่อไปได้อีก ที่จริงแล้ว ชื่อ ?ฟุลไบรท์? นั้นมาจากชื่อของท่านวุฒิสมาชิก เจ วิลเลียม ฟุลไบรท์ (พ.ศ.2448-2538) ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเรียนรู้ระหว่างกัน ท่านวุฒิสมาชิกฟุลไบรท์เติบโตและได้รับการศึกษาในรัฐอาร์คันซอว์ ผู้ซึ่งไม่เคยได้มีโอกาสเห็นเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ ก่อนที่จะได้รับทุน Rhodes Scholarship ในปี 2468 เพื่อไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ประสบการณ์ในการศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด 3 ปี และการเดินทางไปในยุโรปทำให้วุฒิสมาชิกฟุลไบรท์เชื่อมั่นถึงความสำคัญของการมองโลกจากมุมมองของคนนานาประเทศ
จากความฝังใจในเรื่องนี้นี่เอง เมื่อเป็นวุฒิสมาชิกของพรรคเดโมแครต ของรัฐอาร์คันซอว์ในสมัยแรก ท่านจึงได้ผลักดันกฎหมายให้มีการสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยน โดยอาศัยงบฯ ที่ได้จากการขายอุปกรณ์ที่เหลืออยู่ของสหรัฐอเมริกาที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายดังกล่าวลงนามโดยประธานาธิบดีทรูแมน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2489 หลังจากนั้นได้มีกฎหมายฉบับหลังสุดของโครงการแลกเปลี่ยนฟุลไบรท์ ภายใต้พระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนการศึกษาและวัฒนธรรม ปี 2504 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ Fulbright-Hays Act (วุฒิสมาชิกฟุลไบรท์เสนอร่างกฎหมายในวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Wayne Hays จากรัฐโอไฮโอ เสนอร่างกฎหมายในสภาผู้แทนฯ) โดยในฉบับนี้ครอบคลุมถึงกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้อง
ท่านวุฒิสมาชิกฟุลไบรท์เชื่อมั่นว่า หากคนกลุ่มใหญ่ได้อยู่ และเรียนรู้ร่วมกันในอีกประเทศหนึ่งแล้ว เขาน่าจะสามารถเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ชิงชังการฆ่าผู้อื่น รวมทั้งคิดและปฏิบัติตนเพื่อสันติภาพ ข้อเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกเรื่องที่นำเสนอโดยมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ผู้สนใจสามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและกิจกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้โดยขอความกรุณาอ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ชัดเจนด้วย
All the Thai and English articles written and posted by the Thailand-U.S. Educational Foundation (Fulbright) could be used to benefit the academic community. Please give appropriate credit to the author(s) and the Foundation
โดย พรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์)
ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : สุรศักดิ์ (sak1969@yahoo.com)