เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น

เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น

เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

1. ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ (Local Colour) หมายถึงการพรรณาภาพอันใดอันหนึ่งเพื่อนำความคิดของผู้อ่าน ให้ซาบซึ้ง ในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน

2. การวางเค้าเรื่อง (Plot) มีหลักใหญ่ๆอยู่ สองแบบดังนี้

แบบที่ 1 คือเริ่มนำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งที่จุด ก. แล้วพาผู้อ่านเกิดความพิศวงตามเส้น ก. ข. โดยจัดเรื่องให้มีความยุ่งยาก เกิด ความฉงนขึ้นทุกที่จนถึงปลายยอดที่ ข. ซึ่งในภาษาการประพันธ์เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้า ใจ สะเทือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง และจบลงในจุด ค.

แบบที่ 2 เป็นแบบสองซ้อน คือเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วย้อนต้นกล่าวถถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นว่ามีมูลเหตุเป็นมาอย่างไร จากจุด ก. มายังจุด ข. แล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังจุด ค. เช่นเดียวกับแบบ ที่ 1 โดยขมวดปมไปตามระยะทาง ข. ค. สร้างความฉงนสนเท่ห์ จนถึงจุด ค. ซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง และจบลงในจุด ง. โดยเร็ว

3. การจัดตัวละครและให้บทบาท เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสำคัญของเรื่อง ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ แสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น

4. การบรรยายเรื่อง มี 2 วิธี วิธีแรก ให้ข้าพเจ้าหรือผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง อีกวิธีให้บุรุษที่สาม ได้แก่ ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด

5. การเปิดเรื่อง เรื่องสั้นไม่ควรเปิดเรื่องให้อืดอาดยืดยาว มีวิธีเปิดเรื่องดังนี้
ก. เปิดเรื่องโดยให้ตัวละครพูดกัน
ข. โดยการบรรยายตัวละคร
ค. โดยการว่างฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ
ง. โดยการบรรยายพฤติการณ์และตัวละคร
จ. เปิดเรื่องโดยขมวดแนวคิด วิธีเปิดไม่บังคับตายตัวตามแต่ผู้เขียน

6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร (Dialogue) ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยว กับตัวละคร

7. ต้องมีความแน่น (Compresion) คือพูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

8. ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน คือก่อนเขียนต้องจินตนาการลักษณะตัวละครให้ชัดเจนก่อน แล้วเขียนตามที่เห็น จึงจะทำให้คนอ่านเห็น ตามด้วย


9. การให้ชื่อตัวละครและชื่อเรื่อง การตั้งชื่อตัวละคร ควรตั้ชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ ส่วนชื่อเรื่อง ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่าน เกิดความอยากอ่าน โดยใช้คำสั้นๆเพียง 2-3 คำ แต่ให้น่าทึ่ง

10. การทำบท คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียงกับการแสดงละคร ต้องพรรณาถึงกิริยาท่าทาง
อาการรำพึงรำพัน ฯลฯ


ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook