แพร - อลีนา เปี่ยมกุลวนิช 12 Shrewsbury lnternational School
The Young Psychologist-to-be Celebrity
แพร - อลีนา เปี่ยมกุลวนิช / 18 Year
12 Shrewsbury lnternational School
สาวยังก์เซเลบริตี้ว่าที่นักจิตวิทยาคนเก่งที่กำลังจะไปศึกษาต่อที่ UCL (University College London) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แพรบอกว่าอยากเลือกเรียนสาขาเอกจิตแพทย์ และโทจิตวิทยาด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อความรอบด้าน แล้วเพราะอะไรแพรถึงได้สนใจจิตวิทยากันนะ...
" แพรเริ่มสนใจจิตวิทยาตั้งแต่ตอน Year 10 (ม.4) ค่ะ แพรเรียนเป็นวิชาเลือก แพรสนใจตรงที่มันไม่ได้เรียนเพื่อรู้เกี่ยวกับคนบ้าอย่างเดียว แต่สามารถปรับใช้กับศาสตร์แขนงอื่นได้ด้วย อย่างพวกโฆษณาที่เราดูในทีวีทุกวันนี้มันก็มีแบบทั้งคนชอบดูและไม่ชอบดู สามารถเข้าไปอยู่ในภาคธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ได้ ว่าทำไมคนถึงชอบลงทุนกับสิ่งนั้น สิ่งนี้ หรือกับเรื่องการตลาดก็ได้ ได้หมดเลยค่ะ แพรคิดว่าจิตวิทยาเป็นเบสิกของทุกวิชาแต่ก็จะมีศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย แบบที่จบออกมาก็เป็นหมอจิตวิทยา
" ในหนังสือเรียนจะมีหัวข้อ Case Study ต่างๆ ให้เราไปศึกษาเพิ่ม แล้วแพรก็ไปศึกษาในห้องสมุด เคสที่แพรสนใจเป็น Clinical Psychology ค่ะ มีอยู่อันหนึ่งเขาจะทดลองว่าคนเราจะรู้ได้ยังไงว่าคนไหนเป็นบ้า หรือเป็นโรคทางประสาท จิตแพทย์ก็จะมีตำรารวมโรคและอาการต่างๆ ทางจิตอยู่เล่นหนึ่ง ซึ่งข้อมูลของตำราเล่นนี้มันเป็นอะไรที่เก่ามาก ประมาณ 50 ปีมาแล้ว แล้วเขาก็ใช้หลักในตำราเล่มนี้ตรวจอาการของอาสาสมัคร 8 คนที่จิตปกติปรากฏว่าทุกคนถูกส่งตัวเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า แล้วก็ออกมาไม่ได้ด้วย คนที่ดูแลคนป่วยทางจิตในโรงพยาบาลบ้าเขาก็จะไม่คุยกับคนไข้นะ จะให้ยากินอย่างเดียว คนที่ไม่ได้บ้าเขาก็ไม่อยากกินยา จนสุดท้ายเขาต้องทำตัวเองให้ดูเหมือนคนบ้า แล้วก็ค่อยๆ ทำตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หมอถึงจะให้ออกจากโรงพยาบาลได้กรณีศึกษานี้ก็เลยทำให้ตำราเกี่ยวกับอาการทางจิตในอเมริกามีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเลยค่ะ
"เสน่ห์ของการเป็นจิตวิทยาคือ มันสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันเลยค่ะ ช่วยให้แพรมองสิ่งต่างๆ ได้รอบด้านขึ้นว่าทำไมคนๆ นี้ถึงมีพฤติกรรมแบบนี้แล้วก็ทำให้เราเข้ากับคนอื่นได้ง่าย รู้ว่าควรวางตัวแบบไหนในสถานการณ์แบบไหนเข้าใจคนอื่นมากขึ้นด้วยค่ะ และจิตวิทยาก็เป็นอะไรที่เกี่ยวกับเราโดยตรง เป็นความจริงเสมอ และเป็นปัจจุบันตลอดค่ะ
Trendy Tips by Pear : Memory Test
- ในทางจิตวิทยาจะมีทริคการอ่านหนังสือให้จำเข้าหัวได้ด้วยค่ะ แพรว่าก็ช่วยได้นะค่ะ อย่างเวลาที่อ่านหนังสือสอบ Memory Test จะมีด้วยกัน 3 ระดับค่ะ
1. อ่านแต่คำผ่านๆ ก็จะจำได้แค่บางช่วงบางตอน
2. ถ้าเราเริ่มอ่านแล้วเห็นภาพ ได้ยินเสียงหรือคิดความหมายของคำที่อ่านไปด้วยเราก็จะเริ่มจำเรื่องราวได้ดีขึ้น
3. ถ้าเราอ่านแล้วสามารถนำคำที่เราอ่านมาแต่งเป็นเรื่องในหัวได้ หรือโยงคำนั้นเข้ากับความจำบางอย่างในสมองเราได้ ก็จะจำเรื่องราวได้ทั้งหมด แต่แบบนี้ยากมากค่ะ
-การทำ Mind Map เพื่อลำดับความคิดช่วยให้คิดอย่างเป็นระบบได้ ถ้าแพรนึกอะไรได้แพรก็จะเขียนเป็นคีเวิร์ดลงในกระดาษก่อนเลยแล้วค่อยเอามาโยงกับ Main ldea ที่หลัง
-อย่าหยุดนิ่งที่จะหาความรู้ใส่ตัว เพราะใครจะรู้ว่าวันใดวันหนึ่งในอนาคต ความรู้ที่เคยอ่านมาอาจจะช่วยเราได้ก็ได้ค่ะ