ทำไมต้องเรียกฮอตดอก[หมาร้อน]

ทำไมต้องเรียกฮอตดอก[หมาร้อน]

ทำไมต้องเรียกฮอตดอก[หมาร้อน]
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฮอตดอก แปลตามตัวว่า "หมาร้อน" แต่ไส้กรอกประกบด้วยขนมปังที่เรียกว่าฮอตดอกนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหมา และไม่ได้เป็นอาหารที่คนอเมริกันคิดค้นขึ้นมาอย่างที่เรามักจะเข้าใจ

ประวัติของฮอตดอกเริ่มตั้งแต่สมัยบาบิโลเนียเมื่อ ๓,๕๐๐ ปีที่แล้วมีลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ชาวโรมันเรียกอาหารประเภทนี้ว่า Salsus ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า Sausage หรือไส้กรอกในภาษาอังกฤษนั่นเองในสมัยยุคกลาง เมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น

ไส้กรอกของประเทศแถบเมดิเตอเรเนียนจะมีลักษณะแข็งและแห้งเพื่อไม่ให้ไส้กรอกบูดเสียได้ง่ายในอากาศร้อนแถบนั้น ส่วนไส้กรอกของสก็อตแลนด์นิยมยัดไส้ด้วยข้าวโอ๊ต มากกว่าจะใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัว ไส้กรอกที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดประเภทหนึ่งในเยอรมนี คิดค้นขึ้นโดยชาวเมืองแฟรงเฟิร์ต จึงมีชื่อเรียกว่าแฟรงเฟอเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แฟรงค์ มีขนาดหนา นุ่ม ใส่เครื่องเทศและรมควันอย่างดีมีรูปร่างโค้งเล็กน้อย คล้ายรูปร่างของสุนัขดัชชุนด์ จนบางคนเรียกไส้กรอกประเภทนี้ว่า ไส้กรอกดัชชุนด์ เล่ากันว่าผู้คิดไส้กรอกประเภทนี้เลี้ยงสุนัขดัชชุนด์ไว้หนึ่งตัว จึงเกิดความคิคว่าไส้กรอกที่มีรูปร่างเหมือนสุนัขตัวโปรดนี้จะเป็นที่นิยมของตลาดด้วย

ชาวยุโรปที่อพยพไปสหรัฐอเมริกา ได้นำไส้กรอกแฟรงเฟอเตอร์ไปด้วย ไส้กรอกที่ประกบด้วยขนมปังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอาหารว่างยอดนิยมระหว่างดูกีฬา ในปี 1906 นักวาดการ์ตูนชื่อ โทมัส ดอร์แกน ได้แรงบันดาลใจจากรูปร่างที่โค้งงอคล้ายสุนัขดัชชุนค์ของไส้กรอก และจากเสียงพ่อค้า"เห่า" ตะโกนเรียกคนซื้อ จึงได้วาดรูปสุนัขดัชชุนด์ราดด้วยมัสตาร์ดประกบด้วยขนมปัง และเขียนบรรยายใต้รูปว่า "ซื้อหมาร้อน ๆ จ้า" ("Get your hot dogs! )

 

เล่ากันว่าดอร์แกนไม่สามารถสะกดคำว่า ดัชชุนด์ได้ถูกต้อง จึงใช้คำว่าหมา (dog) แทน ปรากฏว่าคำว่าฮอตดอกกลายเป็นคำที่ติดปากคนอเมริกันทั่วไป จนเลิกเรียกไส้กรอกด้วยคำอื่น ๆ และยังทำให้ชาวโลกคิดว่าฮอตดอกเป็นอาหารที่คนอเมริกันคิดขึ้นมาอีกด้วย

 


ที่มา 108 ซองคำถาม
รูปภาพ wiki

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook