โพลน่าเชื่อแค่ไหน

โพลน่าเชื่อแค่ไหน

โพลน่าเชื่อแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมัยนี้การเลือกตั้งบ่อยเพราะรัฐธรรมนูญเน้นความสำคัญของการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองบริหารประเทศ และน่าสังเกตว่า สิ่งที่ติดตามเข้ามาด้วยเกือบตลอดเวลาในการเมืองใหม่ คือการจัดทำโพลหรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โพลได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเช่นกันว่า เอียงหรือไม่ มีหลักการที่จะสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ได้จริงหรือไม่

ในวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ เราก็ย่อมคิดว่าโพลไม่ไช่ตัวเลขที่จะลอยมาจากไหนก็ได้ แต่ต้องมีกระบวนวิธีที่จะทำให้โพลเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ความเชื่อทางการเมืองอย่างหนึ่ง

โพล หมายถึงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน คำว่า poll นั้นแปลว่า หัว หรือ head ซึ่งก็คือการถามแบบเจาะจงเป็นรายหัวนั่นเอง ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนแต่ละคนว่ามีความคิดเห็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองหรือประเด็นใดๆ ก็ตาม อย่างไรวิธีการของการทำโพล คือการเลือกประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาจำนวนหนึ่ง โดยเลือกจากความหลากหลายของประชากรทั้งเพศ อายุ อาชีพ ฐานะ ที่อยู่ และอื่นๆ เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด เหล่านี้เป็นวิธีเก็บตัวอย่าง อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเกณฑ์แต่ละเกณฑ์ต้องออกมาจากการทำวิจัยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งทั้งสิ้น

เราจึงหวังให้โพลช่วยสะท้อนความคิดเห็นต่างๆ ออกมา เพื่อให้เห็นว่าทางเลือกของส่วนรวมนั้น มีได้หลากหลายทางในปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเจาะลึกลงไปอีกก็จะเห็นว่า ทางเลือกแต่ละอย่างมีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นนั้นๆออกมา และนั้นก็คือข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างสูงต่อการตัดสินใจในนโยบายของส่วนรวมหรือบ้านเมืองที่จะกระทบต่อทุกๆ คนครับ

โพลจึงไม่ใช่ความเชื่อที่เลื่อนลอย แต่คือการถามใจย้อนหลังหรือล่วงหน้าโดยใช้กระบวนวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทำให้วิทยาศาสตร์กับระบอบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กันได้ในที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook