มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)

มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)

มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Naresuan University (NU)

ก่อตั้ง: พ.ศ. 2533
ต้นไม้ประจำสถาบัน: ต้นเสลา
สีประจำสถาบัน: สีเทา-แสด
จำนวนคณะ: 17 คณะ 2 วิทยาลัย
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 34,078 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 10,000-30,000 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์:
วิทยาเขตพิษณุโลก 99 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โทร. 0 5526 1000-4
วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
โทร. 0 5448 4222
เว็บไซต์: www.nu.ac.th

"ด้วยอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้พระราชทานความเป็นไท ความสงบผาสุกแก่ปวงชนชาวไทย มน. จึงมุ่งเน้นที่จะทำให้สังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา"

ประวัติ
มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มต้นจากการเป็น "วิทยาลับวิชาการศึกษาพิษณุโลก" เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 13 ปี โดยเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งแรกที่ 4 รองจาก ประสานมิตร ปทุมวัน และบางแสน ตามลำดับ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่ นักศึกษารุ่นแรกจึงต้องถูกฝากให้ไปเรียนยังวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน และวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน แห่งละ 60 คน และกลับมาเรียนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกตามปกติในปีต่อมา

ต่อมาในปี 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ของวิทยาลัยวิชาการศึกษาในขณะนั้นจึงได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยด้วย โดยเป็นวิทยาเขตหนึ่งของ มศว. ซึ่งมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร และในปี 2522 มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตกระทรวงมหาดไทยใช้ที่ดินบริเวณทุ่งหนองอ้อ ปากคลองจิก เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค

จนกระทั่งปี 2527 มศว. วิทยาเขตพิษณุโลกจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 107 ตอนที่ 131 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปีของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่แผ่นดินไทย อีกทั้งยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีประสูติกาลและจำเริญวัยที่เมืองพิษณุโลก มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันกำเนิดมหาวิทยาลัย ส่วนชื่อสถาบัน "นเรศวร" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในปี 2532

มหาวิทยาลัยนเรศวรกลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือตอนล่างตั้งแต่นั้นมา โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนครบทุกแขนง ยกเว้นสัตวแพทย์ ในตัวมหาวิทยาลัยมีการจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ด้วยมีการถูกระบุในแผนที่ท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหอศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าเป็นที่แสดงผลงานศิลปะกว่าร้อยชิ้นของศิลปินที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย อาทิ ประเทือง เอมเจริญ และชวลิต เสริมปรุงสุข และมีนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชุมชนภาคเหนือตอนล่างอีกด้วย

สัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์เป็น "พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในท่าประทับนั่ง" พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคารหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง
นากจากนี้ยังมีตราสัญลักษณ์ รูปช้างศึกอยู่ในโลห์กลมแบบโบราณ ตอนล่างรูปช้างศึกมีอักษรชื่อมหาวิทยาลับนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง
สีประจำมหาวิทยาลัยคือ "สีเทา-แสด" โดย สีเทา หมายถึง สีของสมอง แปลว่า ความคิดหรือปัญญา สีแสด หมายถึง สีของคุณธรรมและความกล้าหาญ และสีแสดยังเป็นสีผสมระหว่าง สีแดง หมายถึง สมเด็จพระนเรศวร แปลว่า ความกล้าหาญ และ สีเหลือง หมายถึง พระพุทธชินราช แปลว่า คุณธรรม

มีอะไรเรียนบ้าง
วิทยาเขตพิษณุโลก
1.คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เกษตรศาสตร์
ภูมิศาสตร์
การจัดการทรัพยากรดิน
เทคโนโลยีชีวภาพ
พืชสวน
อารักขาพืช
อุตสากรรมเกษตร
2. คณะทันตแพทยศาสตร์
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
ทันตแพทยแพทยศาสตร์
3. คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
นิติศาสตร์
นิติศาสตร์และระบบสารสนเทศ
4. คณะพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
พยาบาลศาสตร์
International Programme in Nursing Science
5. คณะแพทยศาสตร์
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
แพทยศาสตร์
6. คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
บริบาลเภสัชกรรม
7. คณะมนุษยศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
ดุริยางคศาสตร์ไทย
ดุริยางคศาสตร์สากล
นาฏศิลป์ไทย
พม่าศึกษา
ภาษาจีน
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาไทย
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
8. คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การจัดการธุรกิจ
การประชาสัมพันธ์
การสื่อสารมวลชน
สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
การท่องเที่ยว
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
การบัญชี
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์
9. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
คณิตศาสตร์
เคมี
ชีววิทยา
ฟิสิกส์
ระบบสารสนเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สถิติ
10. คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
จุลชีววิทยา
วิทยาศาสตร์การแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรคู่ขนาน)
วิทยาศาสตร์การแพทย์
11. คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมอุตสาหการ
12. คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
ศึกษาศาสตร์-ศิลป์
เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
ศึกษาศาสตร์-วิทย์
13. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
14. คณะสหเวชศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคนิคการแพทย์
กายภาพบำบัด
เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
รังสีเทคนิค
15. คณะสังคมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
จิตวิทยา
ประวัติศาสตร์
พัฒนาสังคม
รัฐศาสตร์
16. คณะสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาธารณสุขศาสตร์
(ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
17. วิทยาลัยนานาชาติ
Bachelor of laws
Bachelor of Business Administration
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการท่องเที่ยว
18. วิทยาลัยพลังงานทดแทน
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)
19. บัณฑิตวิทยาลัย


วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เกษตรศาสตร์
การประมง
เคมี
ชีววิทยา
ภูมิศาสตร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
อุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
นิติศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
การประชาสัมพันธ์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การบัญชี
การจัดการท่องเที่ยว
การจัดการธุรกิจ
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
พยาบาลศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
บริบาลเภสัชกรรม
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
รัฐศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
พัฒนาสังคม (ปกติ และโครงการพิเศษ)
ภาษาจีน
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาธารณสุขศาสตร์ (ต่อเนื่อง 2 ปี)


ค่าใช้จ่าย
อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาของแต่ละหลักสูตรจะแตกต่างกันไป สรุปได้คร่าวๆ ดังนี้คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต บริหารธุรกิจบัณฑิต เศรษฐศาสตรบัณฑิต บัญชีบัณฑิต นิเทศศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต และนิติศาสตรบัณฑิต เหมาจ่ายภาคเรียนปกติภาคเรียนละ 10,000 บาท หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต บริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) และศิลปกรรมบัณฑิตภาคเรียนละ 12,000 บาท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแทพย์ กายภาพบำบัด เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก รังสีเทคนิค และอุตสาหกรรมเกษตร) พยาบาลศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขบัณฑิต ภาคเรียนละ 15,000 บาท หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง) ภาคละ 20,000 บาท ส่วนหลักสูตรนานาชาติ เหมาภาคเรียนละ 30,000 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
- ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นอาคาร 7 ชั้น มีชื่อย่อเรียกกันว่า CITCOM มีคอมพิวเตอร์ให้บริการประมาณ 250 เครื่อง
- ห้องสมุด เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้น 1 จะเป็นศูนย์ หนังสือจุฬาฯ จำหน่ายหนังสือเรียนและหนังสืออื่น ลักษณะเหมือนศูนย์หนังสือจุฬาฯ ในกรุงเทพฯ และมีโรงอาหารอยู่ชั้น 1 ด้วย บริเวณโรงอาหารจะไม่ติดแอร์ ส่วนชั้น 2 เป็นห้องสมุดสำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ชั้น 3 ห้องสมุดสำหรับหนังสือภาษาไทย ในห้องสมุดมีบริการอินเทอร์เน็ต มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 100 เครื่อง
- บริการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นระบบขนส่งมวลชนปลอดมลพิษที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้เป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาในการลดการใช้จักรยานยนต์ โดยให้บริตั้งแต่ 6.30-12.00 น. ทุกวัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นักศึกษาสามารถใช้บริการได้โดยใช้บัตร 30 บาท โรงพยาบาลจะตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยเลย
- กองทุนสวัสดิภาพนิสิต เป็นความห่วงใยของมหาวิทยาลัยต่อสัวสดิภาพนิสิต มุ่งให้ความช่วยเหลือกรณีนิสิตประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย ขณะดำรงสถานภาพนิสิต
- สนามกีฬา และศูนย์สร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย ม. นเรศวรมีบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยการจัดให้มีสนามฟุตบอล ลู่วิ่ง สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามเซปักตะกร้อ สนามวอลเล่ย์บอลชายหาด และสนามเปตอง ตลอดจนสระว่ายน้ำพระสุพรรณกัลยา ซึ่งภายในมีทั้งห้องอบซาวน่าและศูนย์นวดแผนไทย
- โรงอาหาร ควบคุมดูแลโดยหน่วยโภชนาอาหารของมหาวิทยาลัย มีโรงโภชนาคารดังนี้คือ โภชนาคาร 1 อยู่ที่อาคารมิ่งขวัญ และโภชนาคาร 2 อยู่ที่บริเวณด้านหน้าหอพักนิสิตหญิง 7-8 และยังมีชั้นอาหารที่อาคารเรียนรวม
- ไปรษณีย์ ให้บริการทางด้านการเงินทั้งการรับฝากและจ่ายธนาณัติ บริการตั๋วแลกเงิน และบริการรับฝาก EMS พัสดุ และลงทะเบียนในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงบริการ PAY AT POST
- บริการแนะแนวการศึกษาและจัดหางาน เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้นิสิตสามารถใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นิสิตได้เกิดการสำรวจตัวเอง เข้าใจตัวเองจนกระทั่งสามารถลงมือปฏิบัติอย่างเหมาะสมเพื่อการแก้ปัญหาของตนเอง และมีความสารถในการตัดสินใจอย่างฉลาด
- หอพักนักศึกษา ในส่วนของหอพักภายในวิทยาเขตพิษณุโลกมีให้บริการดังนี้
1. หอพักนิสิตใหม่ รับนิสิตชายได้ 2,240 คน และนิสิตหญิง 2,560 คน พักได้ 4 คนต่อห้องสำหรับห้องพัดลม ค่าธรรมเนียม 4,000 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษา ส่วนห้องแอร์ 4,600 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษา บวกค่าสาธารณูปโภค 500 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษา มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน พร้อมมีพนักงานรักษาความปลอดภัยและทีวีวงจรปิดตลอด 24 ชม.
2. หอพักนิสิตหญิง 3-8 ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3,000 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษาปกติ บวกค่าธรรมเนียมคอมพิวเตอร์อีก 500 บาท ต่อเครื่องต่อภาคการศึกษา
นอกจากนั้นยังมีหอพักเอกชนอยู่รอบๆ บริเวณมหาวิทยาลัยอีกมากมาย ทั้งฝั่งด้านหน้ามหาวิทยาลัย ฝั่งประจูสนามกีฬา ฝั่งประตูหลังมหาวิทยาลัย ฝั่งประตูคลองหนองเหล็ก และหมู่บ้านท่าโพธิ์ สามารถตรวจดูรายชื่อหอพักเหล่านี้พร้อมรายละเอียดได้ที่ www.sad.nu.ac.th/Services/dormother.htm

ทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานดูแลให้ความช่วยเหลือสำหรับนิสิตที่ขัดสนด้านการเงินทั้งในรูปแบบทุนการศึกษาแบบให้เปล่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ICL และกองทุนเงินยืมฉุกเฉินไทยช่วยไทย

ชีวิตนักศึกษา
นักศึกษาจะมีความผูกพันกันมากในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนในท้องที่หรือจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมมีน้อย ส่วนเด็กที่มาจากกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะเป็นคณะสายวิทย์ เช่น แพทย์ เภสัช เป็นต้น

และเนื่องจากตัวมหาวิทยาลัยอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร นักศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่กันในมหาวิทยาลัย ยกเว้นแต่จะมีเวลาว่างมากก็จะเข้าไปเดินโลตัส หรือดูหนังที่บิ๊กซี ในตัวเมือง แต่หากเป็นพวกที่ชอบท่องเที่ยวแบบธรรมชาติก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะไม่ไกลจากอำเภอเมือง จะมีน้ำตกที่สวยงามอยู่หลายแห่ง หรือชอบการแค้มปิ้งก็สามารถไปเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook