มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (มจพ.)

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (มจพ.)

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (มจพ.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Chaopraya University (CPU)

ก่อตั้ง : พ.ศ. 2538
ต้นไม้ประจำสถาบัน : ต้นราชพฤกษ์
สีประจำสถาบัน : สีเหลืองทอง
จำนวนคณะ : 7 คณะ
จำนวนนักศึกษา : ประมาณ 985 คน
อัตราค่าเล่าเรียน : หน่วยกิตละ 600 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ : 13/1 หมู่ 6 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โทร 0 5633 4236, 0 5633 4174
เว็บไซต์ : www.cpu.ac.th

ประวัติ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นโดย คุณพ่อจรูญ และคุณแม่หทัย ศิริวิริยะกุลและคณะผู้บริหารในกลุ่มบริษัทธุรกิจในเครือกว่า 20 บริษัท รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงทั้งในวงการราชการ วงการธุรกิจเอกชน และนักวิชาการระดับชาติ เพื่อสนองศรัทธาของชุมชน และความปรารถนาของผู้ปกครอง ศิษย์เก่าชาววิริยาลัย ตลอดจนเยาวชน และประชาชนทั่วภูมิภาคในการสืบสานสู่การศึกษาที่สมบูรณ์แบบ โดยเป็นการต่อยอดการศึกษาจากรากฐานเดิมในการผลิตทรัพยากรบุคคลระดับอนุปริญญาของโรงเรียนในเครือ "วิริยาลัย" ซึ่งเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศคือ โรงเรียนพณิชยการวิริยาลัยนครสวรรค์ และโรงเรียนเทคโนธุรกิจวิริยาลัย นครสวรรค์

สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเป็น "รูปอาร์ม" ภายในประกอบด้วย "รูปเพชรเจียระไนบรรจุอยู่ในรูปโลก" ส่วนบนของรูปโลกมีอักษรย่อชื่อมหาวิทยาลัยภาษาอังกฤษ "CPU" ส่วนล่างของรูปโลกประดับด้วย "ช่อชัยพฤกษ์" โดยให้ความหมายว่า
เพชรเจียระไน หมายถึง บัณฑิตที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า
รูปโลก หมายถึง สังคมโลก
ช่อชัยพฤกษ์ คือ ช่อดอกไม้เกียรติยศที่เตือนใจให้บัณฑิตกระทำแต่ความดี เพื่อเชิดชูไว้ซึ่งเกียรติยศและชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลและมหาวิทยาลัย
"ต้นราชพฤกษ์" ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 9 ไม้มงคลสำหรับพิธีวางศิลฤกษ์ หรือปลูกเป็นไม้มงคลในสถานที่ต่างๆ หมายถึงความเป็นใหญ่ละมีอำนาจวาสนา มีโชคชัย

มีอะไรเรียนบ้าง
1. คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- การบัญชี (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การตลาด (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว

2. คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- วิทยาการคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

4.คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

5. คณะศิลปะศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- ภาษาอังกฤษธุรกิจ

6. คณะรัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

7. บัณฑิตวิทยาลัย

ค่าใช้จ่าย
หน่วยกิตละ 600 บาท รวมๆ ค่าธรรมเนียมแล้วต้องจ่ายประมาณปีการศึกษาละ 30,000 บาท สำหรับคณะบริหารธุรกิจ แต่หากเป็นคณะอื่นๆก็แพงขึ้นแล้วแต่ว่าสาขาที่เรียนนั้นต้องใช้อุปกรณ์มากน้อยเพียงไร

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
* หอสมุดกลาง อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย เป็นอาคารใหม่เพิ่งสร้าง มีทั้งหมด 3 ชั้น มีหนังสือใหม่ๆหลากหลายประเภท เหมาะสำหรับค้นหาข้อมูลประกอบการเรียน
* ศูนย์คอมพิวเตอร์ ตั้งอยู่ใกล้ๆห้องสมุด มีคอมพิวเตอร์ให้บริการสำหรับอินเทอร์เน็ตและทำงานทั่วๆไปประมาณ 50 เครื่อง บริการฟรีเพราะรวมอยู่ในค่าบำรุงแล้วปีละ 1,250 บาท
* โรงอาหารมีแห่งเดียว อยู่ในอาคารสัมมนาคาร ซึ่งอาคารนี้ชั้นบนเป็นห้องประชุม ที่นี่มีร้านอาหารจำนวน 13 ร้าน มีอาหารหลายอย่างให้เลือก เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว
* หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาจัดให้มีหอพักนักศึกษาชาย ซึ่งพักได้ห้องละ 3 คน ภายในห้องมีห้องน้ำในตัว โต๊ะเขียนหนังสือ เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า และพัดลม ส่วนบริการส่วนกลางภายในหอพักมีดังนี้ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ บริการซักรีด เสื้อผ้าฟรีวันละ 1 ชุด บริการอุปกรณ์กีฬา ห้องอ่านหนังสือ ห้องชมโทรทัศน์ ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ค่าไฟฟ้าฟรี 50 ยูนิตต่อเดือน ค่าน้ำฟรีตลอดเทอม และสามารถใช้อินเทอร์เน็ตฟรีในหอด้วย

ทุนการศึกษา
ด้วยทางมหาวิทยาลัยยึดถือหลักว่า "ต้องไม่มีนักศึกษาคนดออกจากมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเพราะความขาดแคลนทางการเงิน" จึงจัดให้มีทุนการศึกษาเพื่อช่วยแบ่งภาระของนักศึกษา เช่น เงินช่วยเหลือ เงินรางวัล ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล และทุนมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ชีวิตนักศึกษา
หากนักศึกษาไม่ต้องการพักหอภายใน ก็มีหอเอกชนตั้งอยู่ด้านนอกมหาวิทยาลัยมากมาย โดยจะตั้งอยู่ในเขตของหมู่บ้านจัดสรร นักศึกษาสามารถเช่าบ้านอยู่หลังละประมาณ 4 คน ราคาประมาณ 1,500-2,500 บาทต่อเดือนต่อหลัง

เวลาว่างโดยเฉพาะในช่วงเย็น นักศึกษานิยมเข้าห้องสมุด แต่ก็มีบางคนที่ทำงานพิเศษหารายได้เช่นที่ Big C หรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ เนื่องจากตารางเวลาการทำงานจะทำเป็นกะ ไม่รบกวนเวลาเรียน บ้างก็จะไปออกกำลังกายที่อุทยานสวรรค์ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ของเมืองนครสวรรค์ อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 9 กิโลเมตร
นักศึกษาส่วนใหญ่ที่นี่จะขี่รถมอเตอร์ไซค์ ถ้านักศึกษาคนใดไม่มีรถส่วนตัวทางมหาวิทยาลัยได้จัดรถรับ-ส่งนักศึกษา (ฟรี) จากมหาวิทยาลัยถึงเมืองนครสวรรค์ โดยรถบริการจะวิ่งรอบเมือง ในช่วงเช้ากลางวัน และเย็น นอกจากนั้นยังมีบริการรถรับ-ส่ง ระหว่างหอพักและตลาด ตั้งแต่เวลา 07.00-21.00 น.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook