รังสียูวี และ ค่า SPF คืออะไร

รังสียูวี และ ค่า SPF คืออะไร

รังสียูวี และ ค่า SPF คืออะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรามักจะได้ยินคำว่ารังสียูวีบ่อยๆ เมื่อพูดถึงรังสียูวีก็มักจะพูดคำคำหนึ่ง นั่นคือคำว่า SPF ในบทนี้จะมาทำความรู้จักกับรังสียูวี และค่า SPF กันให้มากขึ้น

รศ.ดร.พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ อธิบายว่า รังสียูวีเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามปกติคนส่วนใหญ่มักจะชินกับแสงแดด ซึ่งแสงแดดจะมีความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร ส่วนรังสียูวีจะมีความยาวคลื่นอยู่ใน ระหว่าง 200-400 นาโนเมตร หมายความว่ารังสียูวีมีความยาวคลื่นต่อจากความยาวคลื่นแสง 200-400 นาโนเมตร นอกจากนี้รังสียูวียังแบ่งออกเป็นรังสียูวีเอ รังสียูวีบี และรังสียูวีซี โดยแบ่งตามความยาวคลื่น โดยความยาวคลื่น 200-290 นาโนเมตร เรียกว่า รังสียูวีซี ความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตรเรียกว่า รังสียูวีบี และความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตรเรียกว่า รังสียูวีเอ ซึ่งความยาวคลื่นยิ่งสั้นพลังงานยิ่งสูง นั่นหมายความว่ารังสียูวีซีจะมีพลังงานสูงกว่ารังสียูวีบีและรังสียูวีเอ และรังสียูวีเอมีพลังงานต่ำกว่า รังสียูวีบี นั่นคือรังสียูวีเอจะทะลุทะลวงผ่านผิวหนังน้อยกว่ารังสียูวีบี เช่น รังสียูวีเอแค่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น

แต่รังสียูวีบีจะทะลุลงไปถึงบริเวณชั้นผิวหนังแท้และทำให้เกิดผิวไหม้ได้ ที่เรียกว่าแดดเผา (sunburn) รังสียูวีซึส่วนใหญ่จะมาไม่ถึงพื้นผิวโลก เพราะจะถูกดูดกลื่นโดยชั้นบรรยากาศ ดังนั้นบริเวณพื้นผิวโลกจึงมีเฉพาะรังสียูวีเอกับรังสียูวีบีเท่านั้น สำหรับค่า SPF ซึ่งโฆษณาตามครีมกันแดดทั่วๆ ไปจะใช้ป้องกันรังสียูวีบีเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งค่า SPF ที่ปรากฏข้างกล่องครีมกันแดดนั้นหมายความว่าอย่างไร คำตอบคือ SPF = 8 หมายความว่าถ้าผิวหนังของคนเราถูกแสงแดดเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที ก็เกิดรอยไหม้หรือผื่นแดง ถ้าใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 8 หมายความว่าผิวของเราสามารถทนแสงแดดได้เป็น 8 เท่า คือปกติทนได้ 30 นาทีเมื่อใช้ครีมกันแดดนี้ก็จะทนได้นาน 4 ชั่วโมงเป็นต้น

TIPS
การได้อยู่กลางแสงแดดจะทำให้ร่างกายและจิตใจสดชื่น เนื่องจากมีการหลั่งของสาร Endorphin และร่างกายยังต้องการวิตามินดีจากแสงแดดเพื่อเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง โดยเฉพาะในวัยเด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากปริมาณวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นควรได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 15-30 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งในเวลาเช้าหรือบ่ายที่แสงแดดปานกลาง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

กลับหน้าแรกสนุก!
หน้าแรกสนุก! ยังมีอะไรสนุกๆ อีกเยอะ..

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook