ทำไมคนเราต้องฝัน
จิตวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือ 80-90 ปีที่ผ่านมา เขาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิต ไม่ใช่ลางบอกเหตุในอนาคต กลับจะเป็นตัวบ่งชี้ความนึกคิดก่อนฝันเสียด้วยซ้ำ
อย่างทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชาวยิวที่ไปอยู่เยอรมัน แล้วเสียชีวิตที่ออสเตรเลีย ถือเป็นนักจิตวิทยาที่โด่งดังคนหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า
ความฝันเกิดจากจิตใต้สำนึกของคนเรา ซึ่งเป็นแรงผลักดันจาก Id หรือ อิด ซึ่งหมายถึงสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนจิตใต้สำนึกคือความคิด ความรู้สึกที่เราไม่รู้ พูดง่ายๆอีกได้ว่า
ความคิดความรู้สึกที่ไม่รู้คือจิตใต้สำนึก ส่วนที่รู้ก็ไม่เรียกจิตใต้สำนึก ยกตัวอย่างเช่น ช่วงที่เราตื่นอยู่เราไม่ได้คิดถึงฐานะความเป็นอยู่ แต่กลับฝันว่ามีเงินทองร่ำรวยและมีความสุขมาก นั่นแสดงว่าความรู้สึกลึกๆของเราอยากรวยนั่นเอง
ฟรอยด์กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ความฝันอาจเกิดจากความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองตอบ ทำให้เกิดความคับข้องใจหรือเก็บกด จึงระบายออกมาเป็นความฝัน เช่น ตั้งใจว่าอยากไปดูฟุตบอลยุโรปทัวร์นาเม้นต์ต่างๆในสนามจริงๆ ถึงช่วงฮอตๆ เช่น บอลโลก บอลยูโร ก็เกิดความอยากอยู่เรื่อย เลยเก็บเอาไปฝัน
กรณีนี้รวมไปถึงการหลงไหลได้ปลื้มใครสักคน โดยอาจจะนำไปฝันถึงสาวที่ปิ๊งอยู่ก็ได้ ส่วนการทำนายฝันตามตำราน่าจะเป็นศาสตร์คล้ายๆกับการทำนายดวงหรือหมอดู
ที่มา : 108 ซองคำถาม