ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน...

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน...

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน...
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหลืออีกไม่กี่วันก็จะถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2553 แล้ว หลายคนอาจใจจดใจจ่อให้ถึงวันนี้เร็วๆ แต่อีกหลายคนก็อดที่จะใจหายไม่ได้ เพราะวันที่ 2 ตุลาคมเป็นวันครบกำหนด หมดวาระการทำงานของ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องของข้อสอบ จนกลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ในหมู่นักเรียนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ชื่อของผู้หญิงคนนี้ฮอตฮิต ไม่แพ้ ดาราดังหรือนักร้องซูเปอร์สตาร์เลยก็ว่าได้

ถึงแม้ว่ากระแสความดังส่วนใหญ่จะออกมาในแง่ลบ โดนโจมตีอย่างหนัก ก็ต้องนับถือในความกล้าหาญของเธอที่ยังยืนหยัดมาได้จนทุกวันนี้ สนุก!แคมปัส จึงหยิบเรื่องราวของผู้หญิงแกร่งอย่าง ศ.ดร.อุทุมพร มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

ประวัติ

ศาสตราจารย์ ดร. อุทุมพร จามรมาน เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2486 อายุ 67 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการบริหาร สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี คบ. ( เกียรตินิยม ) ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2509
ปริญญาโท คม. ( วิจัยการศึกษา ) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2511
ปริญญาเอก (Ph.D.) (สถิติและวัดผลการศึกษา) University of California at Los Angeles (UCLA) 2515

ประวัติการทำงาน

1. ประสบการณ์สอน (พ.ศ.2516 - ปัจจุบัน)

1.1 งานสอนระดับปริญญาโท และเอก ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- Statistics

- Statistical Inference

- Statistical Designs

- Research Methodology

- Measurement and Evaluation

- Factor Analysis

- Seminar in Research Designs

- Theories of Psychological Scaling

- Psychological Scale Construction

- Ability Testing

1.2 อาจารย์พิเศษ วิทยากรในสถาบันดังต่อไปนี้

- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการอบรมนักวิจัยสังคมศาสตร์ ปี 2520 ถึงปัจจุบัน

- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ที่ปรึกษาโครงการวิจัยและเป็นวิทยากร

- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ อบรมเจ้าหน้าที่

- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน อบรมข้าราชการ

- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการพัฒนาอาจารย์

- มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการพัฒนาอาจารย์

- มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการอบรมนักวิจัยสังคมศาสตร์

- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพัฒนาอาจารย์

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น สอนวิชาระดับปริญญาโท

- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการพัฒนาอาจารย์

- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อบรมเข้มแก่นักศึกษา และโครงการพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัย

- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการพัฒนาอาจารย์

2. ประสบการณ์บริหาร

- รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์ 2524-2528

- นายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2526-2528, 2536-2540

- ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ 2529-2531

- ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบ คณะครุศาสตร์ 2531-2532

- หัวหน้าภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ 2532-2536

- ประธานฝ่ายดำเนินงาน วิทยาลัยการศึกษาทางไกลทางอินเตอร์เน็ต  2546 - 2549

3. ประสบการณ์พิเศษ

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  2546 - ปัจจุบัน

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัย  2547 - ปัจจุบัน

- ประธาน&Learning สมาคมคอมพิวเตอร์ในพระบรมราชูปถัมภ์  2549 - ปัจจุบัน

ประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ

1. ด้านเศรษฐกิจสังคม

หัวหน้ากลุ่มนักเศรษฐกิจสังคม "การศึกษาความเหมาะสมโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย จังหวัดสมุทรปราการฝั่งตะวันออก" ของกรมโยธาธิการ โดยรับผิดชอบในส่วนของการวางแผนการออกสำรวจสอบถามข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคุมดูแบการออกสำรวจวิเคราะห์และแปลผลการสำรวจ (แบบสำรวจจำนวน 2,500 ตัวอย่าง) นอกจากนี้ยังช่วยในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประชากรและการใช้ที่ดิน และศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ (2535 - 2536)

เป็นหัวหน้านักเศรษฐกิจสังคม ในการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย ของจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี สมุทรสาคร กาญจนบุรี และสุขาภิบาลบ้านแพ ซึ่งดำเนินการโดยกรมโยธาธิการ โดยความรับผิดชอบในส่วนของการวางแผนการออกสำรวจสอบถามข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคุมดูแลการออกสำรวจวิเคราะห์และแปลผลการสำรวจ (แบบสำรวจจำนวน 1,200 ตัวอย่าง) นอกจากนี้ยังช่วยในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประชากรและการใช้ที่ดิน และศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดจากการดำเนินโครงการด้วย (2534 - 2536)

เป็นหัวหน้าทีม นักเศรษฐกิจสังคม ทำการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการชลประทานน้ำสงคราม โดยทำหน้าที่ควบคุมการเตรียมระบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจสังคม (900 ตัวอย่าง) ให้คำแนะนำในด้านการออกสำรวจเก็บข้อมูลเศรษฐกิจ และการใช้โปรแกรม "SPSS" ในการประมวลข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านการจัดการที่ดิน การปรับปรุงพื้นที่ชลประทาน การปรับปรุงถนน และการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการ ซึ่งพื้นที่โครงการทั้งหมด 0.5 ล้านไร่ (2533 - พฤษภาคม 2534)

เป็นนักเศรษฐกิจสังคมอาวุโส ในการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ โขง-ชี-มูล โดยช่วยวางแผนการสำรวจการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจสังคม วิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม (แบบสอบถามจำนวน 2,500 ตัวอย่าง) และผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน การโยกย้ายที่อยู่ของชาวบ้าน การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตของประชาชน โอกาสการมีงานทำของประชาชน อันเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร และศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการโยกย้ายประชาชน กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดขึ้น (2532 - 2533)

เป็นนักเศรษฐกิจสังคม ในการประเมินผลทางด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการเขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมในการวางแผนและควบคุมดูแลการสำรวจทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุม 82 หมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยประชากรในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากน้ำในเขื่อน ชาวประมงที่รับปลาในอ่างเก็บน้ำ เจ้าของสถานบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก

แก่นักท่องเที่ยวและประชากร 1,950 ครอบครัว ที่ต้องโยกย้ายที่อยู่กระจายกันไปใน 5 พื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ชาวบ้าน เกษตรกรที่ปลูกฝ้าย อ้อย และอื่นๆ กลุ่มชาวนาที่ทำนาจากน้ำชลประทาน กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ปลูกผัก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้ทำการสุ่มมามากกว่า 1,000 ตัวอย่าง ซึ่งจะพิจารณาถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และการอพยพย้ายถิ่น อันเนื่องจากโครงการโดยเน้นการศึกษาว่าจะปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของผู้ถูกโยกย้ายถิ่นที่อยู่อย่างไร โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างงานและส่งเสริมการปลูกพืชเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว (2531 - 2532)

เป็นหัวหน้าทีมนักเศรษฐกิจสังคม ในการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนน้ำพอง จ.ขอนแก่น ดำเนินการวางแผนและควบคุมการสำรวจทางด้านเศรษฐกิจและสังคม กำหนดเกณฑ์ในการเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งจะเกิดจากการหาวัตถุดิบเพื่อส่งเข้าโรงงาน นอกจากนี้ยังวางแผนและควบคุมดูแลการสำรวจทางเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุมพื้นที่ 12 หมู่บ้าน ซึ่งคาดว่าจะถูกผลกระทบจากโครงการ โดยดูผลกระทบอันเนื่องมาจากการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม มาตรฐานการครองชีพ โอกาสการทำงาน เป็นต้น (2530 - 2531)

เป็นนักเศรษฐกิจสังคมอาวุโส ในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานปลาที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเมือง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UNDP รับผิดชอบในด้านการศึกษาเศรษฐกิจและสังคม ของสะพานปลาที่มีอยู่ ในจังหวัดสงขลา และศึกษากลุ่มคนที่ทำการหักล้างถางป่าในบริเวณโครงการ (2526)

เป็นหัวหน้ากลุ่มศึกษาทางด้านเศรษฐกิจสังคม ของโครงการพัฒนาเมืองหลักจังหวัดในโครงการ คือ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา หาดใหญ่ และสงขลา ซึ่งเป็นโครงการในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย และUNDP รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการสำรวจทางเศรษฐกิจและสังคม และศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการจัดสรรที่ดิน การเวนคืนที่ดิน การโยกย้ายที่อยู่ใหม่ เป็นต้น (2525)

เป็นนักเศรษฐกิจสังคมอาวุโส ในการศึกษาโครงการป้องกันน้ำท่วม น้ำพอง ประกอบด้วยการเพิ่มสันเขื่อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บกักน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม รวมถึงการศึกษาเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในต้นน้ำ ในพื้นที่โครงการเขื่อนหนองไวย รวมถึงความสัมพันธ์ของผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาชนที่อยู่ต้นน้ำกับผลประโยชน์ของเกษตรกรที่อยู่ปลายน้ำ (2524 -2525)

2. ด้านการศึกษา

เป็นที่ปรึกษาโครงการผลิตแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ในเรื่อง การปรับหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การวัด-ประเมินผล ตลอดจนการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ (2539 - ปัจจุบัน)

เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยให้กับกรมวิชากร เรื่องศักยภาพของเด็กไทย ตั้งแต่การสังเคราะห์บทความ และงานวิจัย การออกแบบการวิจัย การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผล นำผลไปใช้ในการวางแผนการสอน จัดทำกิจกรรมการสอน และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ป.6,ม.3 และ ม.6 ทั่วประเทศ (2539 - ปัจจุบัน)

เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการบริหาร และวิทยากร โครงการสร้างแบบทดสอบความถนัดให้กับกรมวิชาการ โดยเริ่มที่การระบุประเภทต่างๆ ของความถนัด การจัดประชุมเพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ การแก้ไขปรับปรุง การจัดทำปรกติวิสัย และการนำแบบทดสอบไปใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ (2536 - 2541)

เป็นที่ปรึกษา โครงการปรับปรุงหลักสูตรสาขาศึกษาศาสตร์ ให้กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2539 - ปัจจุบัน)

เป็นวิทยากร เรื่อง การทำประกันคุณภาพการอุดมศึกษา ร่วมกับวิทยากรของทบวงมหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนำร่อง เรื่องการประกันคุณภาพการอุดมศึกษา สำหรับ 5 สาขา 22 คณะวิชา (2539 - ปัจจุบัน)

เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษา และเป็นบรรณาธิการวารสารสภาวิจัยแห่งชาติ (2541 - ปัจจุบัน)

3. ด้านการวิจัยทางการศึกษา และการวัด-ประเมินผลการศึกษา

เป็นวิทยากรอบรมนักวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยต่างๆ (2520 - ปัจจุบัน)

เป็นที่ปรึกษาการจัดอบรมนักวิจัยการศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยต่างๆ (2520 - ปัจจุบัน)

เป็นผู้บรรยาย (Key note speaker) ให้กับคณะศึกษาศาสตร์ในวาระครบรอบวันสถาปนา เช่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 5 พ.ย. 2541 เป็นต้น

เป็นวิทยากรให้กับ SEMEASE ในเรื่อง การพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนาม ในเรื่องการประเมินผลการเรียน และการพัฒนาคณาจารย์

เป็น reviewer งานวิจัยให้กับสมาคม National Council on Measurement in Education

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ...

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์ pioneer.chula.ac.th/~jutumpor/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook