การสร้างบ้านประหยัดพลังงาน
การสร้างบ้านประหยัดพลังงานควรคำนึงถึงการจัดพื้นที่ใช้สอยในบ้านนอกจากพิจารณาตามความสะดวกของการใช้ความถี่และช่วงเวลาของการใช้สอยควบคู่กับทิศทางของลมและแสงแดด
รูปทรงของบ้าน บ้านที่ประหยัดพลังงานควรมีเส้นรอบรูปที่ น้อยใช้พื้นที่ใช้ สอยเท่าๆกัน สำหรับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย อาคารรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่มีสัดส่วนความกว้างยาวที่เหมาะสม อาจประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยด้านแคบของอาคารหันไปทางทิศตะวันออกและตก นอกจากนั้นตัวบ้านควรมีลักษณะโปร่งโล่งกั้นภายในอาคาร แต่น้อยมีหลังคาลาดเอียงเช่น หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยาและหลังคาที่มีชายคายื่นยาวเพื่อบังแดดและกันฝนได้ดีขึ้น
ผนังและหลังคา จากการที่อุณหภูมิอากาศในเวลากลางวันและกลางคืนไม่เปลี่ยน แปลงมาก วัสดุที่เก็บสะสมความร้อนต่ำหรือฉนวนกับการใช้ผนังโครงสร้างบางเบาจึงเหมาะ สม วัสดุที่เป็นกรอบอาคาร เช่น ผนังหลังคา ให้ใช้วัสดุที่มีค่า การถ่ายเทความร้อนต่ำ หรืออาจประกอบด้วยวัสดุหลายชนิดซ้อนกัน หรือเลือกใช้วัสดุที่ไม่ผิวสะท้อนรังสีความร้อนได้ดี และควรใช้วัสดุสีอ่อนทั้งที่หลังคาและที่ผนัง ภายนอกหลังคาควรมีฝ้าเพดาน และระหว่างหลังคากับฝ้าเพดานมีฉนวนกันความร้อนและมีการระบายอากาศใต้หลังคา
หน้าต่างใช้ กระจกในหน้าต่างที่สามารถทำที่บังแดดให้กระจกได้เท่านั้น และใช้กระจกที่มีคุณสมบัติในการตัดแสง หรือไม่ดูดซึมความร้อนหรือกระจกเคลือบผิวสะท้อนแสงหรือกระจกสองชั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการป้องกันความร้อนเข้าทางหน้าต่างมีดังนี้
* มีช่องแสงและหน้าต่างเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
* ในด้านทิศตะวันออกและตะวันตกของอาคาร ใช้แผงบังแดดนอกอาอาคารซึ่งจะกันแดดและความร้อนได้ดีกว่ากระจกตัดแสง หรือม่านและมู่ลี่ในอาคาร
* แผงบังแดดทางตั้งจะใช้ได้ดีกับอาคารด้านทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก
* แผงบังแดดชนิดทางนอนจะใช้ได้ผลดีกับอาคารด้านทิศใต้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สาระน่ารู้.com