เลือกคณะวิชาอย่างไรดี

เลือกคณะวิชาอย่างไรดี

เลือกคณะวิชาอย่างไรดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีและทางในการตัดสินใจเลือกคณะวิชา รวมถึงมหาวิทยาลัย โดยผู้เรียนควรยึดหลักการที่ว่า ความต้องการและความสนใจการเรียนเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้ที่สำคัญยังควรคำนึงถึงความสามารถและความถนัดของตนเอง

ฉบับที่แล้ว ได้บอกกล่าววิธีและทางในการตัดสินใจเลือกคณะวิชา รวมถึงมหาวิทยาลัย โดยผู้เรียนควรยึดหลักการที่ว่า ความต้องการและความสนใจการเรียนเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้ที่สำคัญยังควรคำนึงถึงความสามารถและความถนัดของตนเอง อย่าทำตามหรือเอาแบบอย่างเพื่อน ชนิดที่ว่า ไปไหนไปด้วยกัน เพราะถึงที่สุดแล้ว การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยไม่มีทางขาดเพื่อนที่รู้ใจอย่างแน่นอน และเมื่อถึงเวลาหลายคนก็มักสนุกและสนิทกับเพื่อนใหม่จนกระทั่งอาจลืมเพื่อนเก่าซึ่งก็มีให้พบเห็นเสมอ

การเลือกเรียนในสาขาวิชาใด ย่อมขึ้นอยู่กับตนเองเป็นสำคัญ และที่สำคัญระบบการเรียนการสอนรวมถึงมาตรฐานของมหาวิทยาลัยมักไม่แตกต่างกันมากนัก และโดยที่เห็นและเป็นอยู่ผู้ที่สำเร็จการศึกษามาก็สามารถเข้าสู่อาชีพทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าอาจมีข้อแตกต่างในเรื่องของรุ่นพี่รุ่นน้องและสีของสถาบันที่มักมีการเชื่อมสายสัมพันธ์ในการทำงานอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ความแตกต่างที่หลายคนคิดระหว่างสถาบันของรัฐและเอกชนก็เช่นเดียวกัน ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ได้สิ่งการันตีว่าคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยรัฐจะประสบความสำเร็จในอาชีพหรือในการทำงานมากกว่าคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเอกชน เพราะถึงที่สุดแล้วมักเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รวมถึงภูมิหลังของผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ มักเกี่ยวข้องกับครอบครัวและวงษ์ตระกูลด้วย แต่ก็มีข้อแม้หรือข้อแตกต่างว่า คนที่เรียนเก่งชนิดที่เก่งจริงและมีจังหวะของชีวิตที่พอเหมาะ พร้อมๆ สถานการณ์และโอกาสเอื้ออำนวยย่อมเป็นส่วนเสริมหรือปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จดังกล่าว

ดังนั้นใครที่คิดว่า ขอให้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย (ปิด) ของรัฐเท่านั้น เรื่องคณะวิชาหรือสาขาวิชาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แนวคิดดังกล่าวข้างต้นขอให้กลับไปคิดหรือทบทวนแนวทางดังกล่าว มีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่คิดทำนองที่ว่า ขอไปตายเอาดาบหน้า เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ซึ่งโดยทั่วไปก็มักพบปัญหาว่า คนที่คิดเช่นนี้มักต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับลักษณะของสาขาวิชาที่ตนเองต้องเรียนเป็นอย่างมาก และคนจำนวนไม่ต้องต้องกลับมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่อีกครั้ง ทำให้ต้องเสียเวลา เสียเงินและก็มักกลายเป็นปมความล้มเหลวของการเรียนไปเลยก็อาจเป็นได้ การเลือกคณะวิชาจึงเป็นเรื่องหลักสำคัญที่ผู้เรียนต้องท่องให้ขึ้นใจว่า เรื่องดังกล่าวจะคิดง่ายๆ ไม่ได้ หากแต่ต้องวางแผนถึงอนาคตหลังการเรียนจบไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างที่สุดและน่าจะถูกต้องที่สุด

ณ ชั่วโมงท้ายๆ กับการตัดสินใจเลือกคณะวิชาในระบบการคัดเลือกฯ ระบบกลาง หลายคนที่ยังคิดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะต้องทำอย่างไรดี ก็คงพอได้คำตอบที่เหมาะสมแล้ว

กระนั้นปัญหามักมีอยู่ว่า ในความหลากหลายสาขาและคณะวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้แล้ว นอกเหนือจากสาขาวิชาและหลักสูตรที่อยู่ในกระแสนิยมแล้ว ทำอย่างไรการเลือกคณะที่ชอบ รักและอยากเรียนจึงจะถึงฝั่งฝันที่ว่านั้นได้ โดยที่ข้อควรรู้และต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องมีหลัการสำคัญ คือ การตัดสินใจควรอยู่บนพื้นฐานความรู้ความสามารถของตนเองเป็นสำคัญ โดยที่พิจารณาทั้งจากผลการเรียนและผลการสอบในระดับช่วงชั้น ซึ่งพอจะเป็นคำตอบได้ว่า แท้จริงแล้วตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความถนัดวิชาใดบ้างและอยู่ในเกณฑ์ใด

คำอธิบายข้างต้น แม้อาจไม่ใช่คำตอบที่ชี้ชัดว่า ด้วยผลการเรียนและผลการสอบระดับช่วงชั้นฯ อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีพอ ที่จะเป็นตัวชี้ถึงโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่โดยเนื้อแท้แล้ว มักสะท้อนผลการเรียนรู้ และความสามารถ หรือสติปัญญาของคนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นผลจากการวัดที่ประเมินจากความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่และมีความพร้อมในการนำไปใช้ทั้งกระบวนการทดสอบและนำผลคะแนนที่ได้ไปใช้ในการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

ในกระบวนการคัดเลือกฯ เข้ามหาวิทยาลัย การตัดสินใจเลือกคณะวิชาย่อมมีปัญหาเสมอว่า คะแนนที่แต่ละคนมีอยู่นั้น ควรนำไปใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด นั่นคือ นำมาซึ่งการผ่านการคัดเลือกฯ ได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในการหลักประกันว่าจะผ่านการคัดเลือกได้ทั้งหมด ด้วยปัจจัยสำคัญมาจากจำนวนผู้เลือกในสาขาวิชาหรือหลักสูตรว่ามีมากน้อยแค่ไหน หากกระแสนิยมในสาขาวิชาหรือหลักสูตรที่เราเลือกมีคนอื่นยื่นความประสงค์แข่งขันกับเราด้วย ผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกย่อมเป็นไปตามจำนวนที่หลักสูตรฯ หรือสาขาวิชารับได้ ซึ่งต้องเรียงลำดับตามคะแนนจากสูงไปหาต่ำ นั่นคือ คนที่ผลคะแนนที่ดีกว่าหรือมากกว่าย่อมเป็นตัวเลือกอันดับแรกและไล่เรียงเป็นลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลือกสาขาวิชาจะเป็นไปตามจำนวนผู้เลือกและจำนวนที่หลักสูตรหรือสาขาวิชารับได้ซึ่งมีจำนวนจำกัด แต่กระนั้นในแต่ละปีการศึกษาก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมได้เช่นกัน นั้นคือ จำนวนผู้เลือกในแต่ละปีการศึกษาอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่โดยหลักแล้วก็มักไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้นสถิตของการเลือกหรือความต้องการในการเรียนในแต่ละสาขาวิชามักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากแต่ประการใด การตัดสินใจเลือกสาขาวิชาหรือหลักสูตรจึงสามารถคาดเดาทิศทาง หรือความสำเร็จในการสมัครคัดเลือกฯ ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมาณการและการตัดสินใจของแต่ละคนเป็นสำคัญ
บทเรียนสำคัญของการสมัครคัดเลือกในแต่ละปีที่เกิดขึ้น ผู้ผ่านการคัดเลือกฯ ซึ่งแม้ว่าจะมีผลคะแนนไม่สูงมากนัก แต่เข้าจริงแล้วผ่านการคัดเลือกฯ ก็ด้วยระบบการคิดและการวางแผน รวมถึงการหาข้อมูลสถิติของจำนวนผู้สมัครฯ ในแต่ละสาขาวิชา รู้จักสู้ หรือหลีกเลี่ยงสาขาวิชาที่อยู่ในกระแสนิยมที่เกินกำลังความสามารถของตนที่จะแข่งขันได้ การรู้จักประมาณตนจึงเป็นหัวใจหลักของการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างสำคัญที่สุดครับ

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ณัฐพงศ์

กด Like เพื่อติดตามเรื่องเด็ดๆ โดนๆ จากทีมงาน Sanook! Campus

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook