สิงคโปร์อนุรักษ์สถานีรถไฟแห่งประวัติศาสตร์
รัฐบาลแดนลอดช่องขานรับกระแสอนุรักษ์และบูรณะสถานีรถไฟที่มี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 2 แห่งที่เพิ่งได้รับสิทธิครอบครองจากมาเลเซียจะให้เป็นโบราณสถาน หลังจากที่ก่อนหน้าภาคประชาชนได้ออกมาเรียกให้รัฐบาลรักษาตึกรามบ้านช่อง เก่าแก่ ก่อนที่จะถูกกลายสภาพให้เป็นคอนโดมิเนียม หรือห้างสรรพสินค้า
สถานีรถไฟที่ว่านี้คือสถานี Tanjong Pagar และสถานี Bukit Timah โดยทางการสิงคโปร์ระบุว่า สถานี Tanjong Pagar ซึ่งเป็นสถานีรถไฟปลายทางที่อยู่ใกล้ใจกลางย่านธุรกิจ โดยสร้างขึ้นตามแบบฉบับของศิลปะ Art deco จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ในขณะที่สถานีรถไฟ Bukit Timah ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างสิงคโปร์-มาเลเซีย ก็จะได้รับการอนุรักษ์ในฐานะเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์สำคัญอันยาวนาน เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้สถานีรถไฟทั้งสองแห่งถูกสร้างขึ้นในช่วงที่สิงคโปร์และมาเลเซียยัง เป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยเส้นทางรถไฟสายนี้เชื่อมระหว่างสิงคโปร์, มาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) และไทย ต่อมาเมื่อสิงคโปร์และมาเลเซียได้แยกประเทศในปี พ.ศ. 2508 แต่มาเลเซียยังยืนยันสิทธิการครอบครองพื้นที่ของสถานีรถไฟและสิ่งปลูกสร้าง ภายในสถานี แม้ตัวสถานีจะอยู่ในอาณาเขตของประเทศสิงคโปร์ก็ตามที เหตุการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างสองฝ่ายตึงเครียดเป็นระยะๆ อยู่เรื่อยมา
อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ทั้งสองประเทศได้ทำข้อตกลงร่วมกันได้โดยมาเลเซียได้ยกสิทธิการครอบครองทั้ง หมดที่เกี่ยวข้องกับสถานีรถไฟทั้งสองแห่งให้แก่สิงคโปร์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการได้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ใน เขตที่มีราคาแพงที่สุดบนเกาะสิงคโปร์เป็นการตอบแทน
ในขณะเดียวกันข้อตกลงดังกล่าวก็สร้างความวิตกกังวลให้ชาวเมืองลอดช่องไม่ น้อยด้วยกลัวว่ารัฐบาลจะปรับโฉมสถานีรถไฟในประวัติศาสตร์ทั้งสองแห่งให้เป็น อาคารสำนักงาน หรือย่านธุรกิจอย่างที่เป็นมา และจากจุดนี้เองประชาชนจึงปลุกกระแสบนโลกออนไลน์ เพื่อร้องเรียน และรณรงค์ให้ทุกคนหันมาอนุรักษ์อาคารโบราณทั้งหลายให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม ต่อไป
Carolyn Seet ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มร้องเรียนและรณรงค์ได้กล่าวหลังจากที่รัฐบาลประกาศให้ สถานี Tanjong Pagar เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ว่า เธอดีใจมาก และหวังว่ารัฐฯจะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชม เธอยังหวังว่าสถานีแห่งนี้จะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ในกรุงลอนดอน
นอกจากนี้ เธอยังแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า สถานีรถไฟ Tanjong Pagar แห่งนี้สามารถเป็นสถานที่ให้ชาวสิงคโปร์ได้หวนระลึกถึงอดีตและเรียนรู้ความ เป็นมาของสิงคโปร์ รวมถึงวิวัฒนาการตั้งแต่การใช้รถลากจนถึงระบบรถไฟที่ทันสมัยไร้คนขับควบใน ปัจจุบัน