นักเสียดสีสังคม แห่งโลกไซเบอร์ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์

นักเสียดสีสังคม แห่งโลกไซเบอร์ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์

นักเสียดสีสังคม แห่งโลกไซเบอร์ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในโลกไซเบอร์เว็บไซต์ที่ชื่อ iHere.tv คงเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่ไม่ใช่สาวก Social Media ขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับเว็บไซต์นี้สักครั้ง เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดจากสิ่งที่เป็นอยู่รอบตัวก็ได้

วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือ ‘จอห์น' จัดอยู่ในหมวดของพิธีกรที่มีวาทศิลป์ดีคนหนึ่งของวงการทีวี คุณอาจจะพบเห็นเขาจากรายการรถโรงเรียน แบงรูม บูมแรง ทางแบง แชนแนล หรือตำแหน่งคอลัมนิสต์ขาประจำจากนิตยสาร ผู้จัดการรายสัปดาห์และจีเอ็ม แต่เก้าอี้ตัวล่าสุดที่เขาสร้างให้กับตัวเองคือเว็บไซต์ iHere.tv ฮิตขนาดไหน ต้องบอกว่าตอนนี้ มียอดผู้ชมทะลุหลักล้านไปแล้ว

"เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ผมกับพี่สาว (จรรยา วงศ์สุรวัฒน์ หรือ โรซี่) คุยกันว่าเราอยากจะลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำเดิม มีความตรงไปตรงมา และอาจจะดิบกว่า (ยิ้ม) บวกกับความวัยรุ่น กระโชกโฮกฮากมากยิ่งขึ้น แต่ทำผ่านสื่อฟรีทีวีอาจจะลำบาก เลยตัดสินใจว่างั้นเรามาทำในอินเตอร์เน็ตไหม เลยเป็นที่มาของการทำ iHere.tv"

จอห์นเล่าถึงจุดเริ่มต้นให้เราฟัง ก่อนจะพูดถึงรายการอื่นๆ ที่ถูกบรรจุอยู่ในเว็บ ของเขา

"จริงๆ ก็เริ่มจากพวกทอล์กโชว์รายการเล็กๆ ก่อน รายการแรกคือ ‘เก้าอี้เสริม' ที่ผมกับพล่ากุ้งจัดด้วยกัน 2 คน และมีรายการ I Cook ที่เป็นรายการทำอาหาร รายการ Good English with โมเม จนปัจจุบันนี้ก็เป็น ‘โมเมพาเพลิน' ให้ความรู้เรื่องการแต่งหน้า ความสวยความงาม ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ทำกันโดยที่ไม่ได้มีผลกำไรอะไรกันสักเท่าไหร่ คือทำกันด้วยความอยากล้วนๆ ครับ (ยิ้ม)"

แต่เพราะ ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร เจ้าตัวเลยต้องมานั่งจับเข่าคุยกับพี่สาวเป็นการด่วน พร้อมๆ กับผุดไอเดียรายการใหม่ที่ชื่อ ‘เจาะข่าวตื้น' เสริมขึ้นมา และรายการนี้เองที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของ iHere เพราะฮิตติดลมบนอย่างคาดไม่ถึง

"พอผ่านมาสักพักหนึ่งผมก็ไปคร่ำครวญกับพี่สาวว่า ด้วยความที่รู้สึกว่าเราค่อนข้างแปลกใหม่กว่าคนอื่น หรือเป็น New Media ทางอินเตอร์เน็ต ทำไมมันยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีกว่านี้ ทำอยู่ 2 ปี มียอดคนเข้าอยู่ประมาณ 4 แสนคลิก ซึ่งใจหนึ่งเราก็เซ็งเหมือนกัน เพราะหมายมั่นปั้นเหมาะว่าของของเรามันก็โอเคนะ สดและเฟรช ไม่เหมือนชาวบ้านด้วย จนวันหนึ่งอยู่ดีๆ ก็คิดตรงกันว่ามีรายการหนึ่งที่อยากจะทำ ซึ่งก็คือ ‘เจาะข่าวตื้น' นั่นแหละ เพราะหลังจากที่คุยกันไปคุย กันมา สรุปว่าอยากทำรายการข่าว เสียดสีการเมือง แต่เกี่ยวกับสังคมโดยรวมด้วย 2-3เทปแรก ก็ยังเหมือนเดิม คนดูก็ยังนิ่งๆ เฉยๆ เพราะเราหยิบเอาเรื่องจิปาถะที่มันเกิดขึ้นทั่วๆ ไปมาพูดกัน

จนมีอยู่เทปหนึ่งเราลองหยิบเรื่องโอเน็ตมาพูด และคิดว่าถ้าเราจะพูดเรื่องข่าวเสียดสีการเมืองหรือสังคม ก็ต้องเอาเรื่องที่มัน Up to Date พอสมควร แล้วมันก็เปรี้ยงขึ้นมา เพราะโอเน็ตมันอยู่ในกระแสพอดี และเป็นเรื่องราวที่คนรุ่นใหม่หรือวัยรุ่นพยายามจะทำความเข้าใจกับมันอยู่ หรือพยายามหาทางออกให้คนมาพูดถึงเรื่องนี้กันหน่อย เชื่อไหมครับว่ายอดคนดูคลิปนั้นอยู่ที่ประมาณ 3-4 แสนกว่าคลิป เราก็ตกใจว่าคลิปเดียวมันมีคนดูเยอะกว่าที่เราทำมา 2 ปีอีก (ยิ้ม) ก็เลยคิดว่าเริ่มมาถูกทางแล้ว เทปถัดมาก็เริ่มทำเรื่องเสื้อเหลืองเสื้อแดง ซึ่งก็ถือว่ากำลังฮอตอยู่ในวีกนั้นพอดี"

พอเริ่มจับทาง ถูก เขาก็ไม่รอที่จะหยิบ ยกเอาประเด็นที่กำลังเป็นกระแสอยู่มาแชร์ผ่านเก้าอี้ของตัวเอง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือสไตล์เฉพาะตัวที่ถูกสื่อออกมาในรูปแบบที่เข้าใจ ง่าย แถมด้วยคำพูดฮิตติดปากที่เจ้าตัวบัญญัติศัพท์ใหม่หลายคำด้วยความไม่ตั้งใจ แต่เรียกว่าโดนใจกลุ่มวัยรุ่นไปเต็มๆ

"เรื่องสคริปต์ จริงๆ เริ่มจากจอห์นกับ พี่สาวแค่ 2 คน จนกระทั่งพี่สาวแต่งงาน (ยิ้ม) แต่หลังจากนั้นก็มีพี่เขย (นัทธพงศ์ เทียนดี) ซึ่งเป็นนักเขียนอยู่แล้ว แต่พี่สาวจะชำนาญเฉพาะทางหน่อย เพราะเขาจบทางด้านเขียนบทมาจากเมืองนอก เราทุกคนจึงช่วยกันเขียนประเด็น จับเรื่องราวนู่นนี่มาพูดคุยและเล่าในภาษาที่เข้าใจง่ายขึ้น จนท้ายที่สุดก็เป็นเจาะข่าวตื้นในสไตล์ของทุกวันนี้ ถามว่ามันเป็นสไตล์ของผมไหม เรียกว่าเป็นสไตล์ของทีมแล้วกัน (ยิ้ม) ผมว่าเรื่องของการเขียนสคริปต์มันคือสมุนไพรที่ดีต่อร่างกาย แล้ววิธีการนำเสนอหรือภาพประกอบ มันก็คล้ายๆ ลูกอมที่มาครอบสมุนไพรนั้นอีกที และ iHere ก็คือแพ็ก-เกจจิ้งที่ห่อเรียบร้อยแล้ว รอแค่ให้คนมาแกะดูแล้วก็ลองเอาไปอม แอมไปสักพักอาจจะพบว่าสมุนไพรนั้นค่อนข้างขมนิดหนึ่ง แต่สุดท้ายแล้วมันดีต่อร่างกายนะ (ยิ้ม)

หลายคนอาจจะมองว่าเจาะ ข่าวตื้นเล่นแต่เรื่องการเมืองหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ เพราะเราพยายามเล่นหลายๆ เรื่องที่มันเกิดขึ้นในสังคม แต่เผอิญเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมก็เป็นเรื่องการเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นการชี้นำหรือนำพาไปสู่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคมด้วย แล้วก็มีคนจำนวนมากที่ติดตามข่าวสารการเมืองแต่ไม่เข้าใจ หรือรู้สึกว่ามันเข้าถึงยาก บางคำที่ฟังแล้วสวยหรูแต่ความหมายมันแฝงไว้ด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวเต็มที่ เลย

ส่วนคำพูดที่เป็นที่ชอบอกชอบใจของน้องๆ แรกเริ่มเลยคือ ‘ดอกเตอร์เลยทีเดียว' ก็มาจากโอเน็ตเทปแรก แล้วก็มี ‘นะฮ้าฟฟ มีใช่มั้ยฮ้าฟฟ' (หัวเราะ) น้องๆ วัยรุ่นก็ชอบกันเยอะ ผมรู้จากการไปถ่ายรายการรถโรงเรียน ฟีดแบ็กดีมาก เพราะส่วนใหญ่ที่ผมไปเจอและเข้าไปคุยเขาดูรายการเจาะข่าวตื้นกันทั้งนั้น ผมคิดว่ามันดียิ่งกว่าที่มีลูกค้ามาสนับสนุน ในรายการเยอะอีก เพราะผมรู้สึกว่ามีลูกค้า เข้ามาสนับสนุนก็ดีเราก็มีรายได้ เว็บเราอยู่ได้ คนในออฟฟิศมีเงินเดือนที่มั่นคง

แต่อีกหนึ่งอย่างที่รู้สึกดีมากๆ คือ ได้รู้ว่าข้อความหรือข่าวสารที่เราส่งต่อไปให้เขาผ่านรายการเรามันถึงเขา และยิ่งไปกว่านั้นมันทำให้คนดูได้คิด ซึ่งมีกลุ่มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กม.ต้น คนทำงาน คุณลุงคุณป้า ที่อายุ 60-70 ก็มี แล้วเขาก็กล้าที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็น กล้าเข้ามาสนทนา แชร์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมของเราให้มากยิ่งขึ้น ผมอาจจะไม่ได้ถึงขั้นลงไปช่วยเหลือคนที่เขาตกทุกข์ได้ยาก แต่ผมก็คิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดมุมมองกว้างๆ ให้เขาไปคิดดูว่ามันมีสิ่งที่มีผลกระทบกับสังคมโดยรวม เรามีสิทธิ์ มีเสียงที่จะแสดงออกเรื่องความคิดเห็น นี่คือสิ่งที่ผม พี่สาว พี่เขย และทีมงานทุกคนใน iHere แฮปปี้มาก (ยิ้ม)"

และถึง แม้ผู้ชมบางกลุ่มจะรู้สึกเหมือนทุกประโยคล้วนเต็มไปด้วยถ้อยคำจิกกัดที่อาจ ไปสะกิดโดนใครต่อใครเข้า แต่ปฏิเสธ ไม่ได้จริงๆ ว่าอารมณ์ขันที่ได้นั้นคือของแถมคุณภาพดีที่ช่วยให้คลายเครียดได้

"จริงๆ ตอนที่ทำรายการเราไม่ได้กะว่าจะทำให้มันขำ เรากะเสียดสี แดกดัน ประชดประชันให้มันเต็มที่มากกว่า ผมมองว่าการที่คนดูหัวเราะมันคงเป็นเหมือนโบนัสที่เขาจะได้ไป อย่างที่บอกไว้ว่าเราใช้ภาษาง่ายๆ ในการสื่อสาร ไม่อยากให้คนดูเครียดเท่านั้นเอง ผมแค่อยากจะบอกว่ารายการของเรามันสร้างความเอนเตอร์เทนให้คุณได้ ให้ความรู้คุณได้ คุณชอบดูมันแล้ว แต่ให้มันฝังอะไรสักอย่างไว้ในความรู้สึกคุณ เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งคุณจะรู้สึกว่าคุณมีบทบาท มีความสำคัญในสิ่งที่มันจะเป็นไปในสังคมและประเทศของเรา"

ฟังเขาพูดถึงตรงนี้ เลยทำให้เราต้องกลับมาคิดกันว่า ทุกวันนี้เรากำลังถูกดูดกลืน ทางความคิดอยู่หรือเปล่า?

"จริงๆ มันเป็นรายการเสียดสีแหละ (หัวเราะ) ซึ่งเราพยายามเสียดสีให้คนรู้สึก จี้จุดที่มันเป็นความจริง เพราะหนึ่งอย่างที่คนไทยจะต้องทำกันให้ได้ก็คือต้องยอมรับความจริงให้เป็น เพราะฟีดแบ็กหนึ่งที่ผมโดนแล้วรู้สึกช้ำมาก และห่วงน้อยกว่าฟีดแบ็กของผู้มีอิทธิพล ที่ผมไปสะกิดเขา คือการที่คนไทยไม่ยอมรับความจริง เวลาผมอ่านคอนเมนต์ สมมติว่ามี 100 คอมเมนต์ ตีว่าสัก 20 คอมเมนต์ที่เข้ามาติว่าทำไมไปซ้ำเติมประเทศไทย ทำไมไปซ้ำเติมสิ่งที่มันบอบช้ำอยู่แล้ว หรือทำไมต้องไปพูดถึงเหตุการณ์นี้อีก ซึ่งทุกอย่างมันคือความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมและมันต้องแก้ ไม่ใช่เกิดแล้วจบ ต้องยอมรับว่าปัญหานั้นกำลังส่งผลกระทบในหลายๆ ทาง

อย่างผมแซวเรื่องที่มีเด็กแถวอีสานใช้ถุง ก๊อบแก๊บตอนที่มีเพศสัมพันธ์ เขาใช้ถุงนะ แต่เป็นถุงก๊อบแก๊บไม่ใช่ถุงยาง ซึ่งไอ้จุดที่แซวหรือจุดที่เสียดสีประชดประชันไปคือการสะกิดว่าวิธีการ รณรงค์หรือวิธีการให้ความรู้ของทางภาครัฐ หรืออะไรก็ตามที่คุณบอกว่ามันมีผล มีเอฟเฟ็กต์ดีเหลือเกิน มันได้ผลแล้วจริงๆ เหรอ? วันวาเลนไทน์ สงกรานต์ ลอยกระทง คุณห้ามไม่ให้เด็กมีเพศสัมพันธ์แทนที่คุณจะบอกวิธีป้องกันปัญหาก่อนที่จะ เกิดเหตุขึ้น"

ไม่เฉพาะเรื่องนี้ แต่มีอีกหลายเรื่องที่เขาพยายามนำเสนอ จนบางกระแสเหมารวมว่าเขาไปอยู่ฝ่ายมีสี

"ส่วนใหญ่ผมไปสะกิดจนหลายคนถามว่าผมเป็นเสื้อแดงหรือเปล่า เพราะเขาบอกว่าผมไปแซวรัฐบาลเยอะ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ เพราะผมรู้สึกว่าด้วยความที่เป็นรัฐบาลเขาควรต้องอยู่ในสปอตไลต์ที่มัน ชัดเจนกว่า เขาทำอะไรดีมันก็คงต้องเสมอตัว แต่ถ้าทำอะไรไม่ดีคุณก็ต้องโดนรุมทึ้งอยู่แล้วว่าทำไมถึงตัดสินใจอะไรอย่าง นี้ออกไป ซึ่งบอกได้เลยว่าผมไม่ได้เป็นสีอะไรทั้งนั้น แต่มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ผมพยายามจะนำเสนอผ่านทางรายการมาตลอดว่า เฮ้ย! เราต้องเปลี่ยนทัศนคติในการออกมาแสดงความคิดเห็น การที่เราไม่เห็นด้วยไม่ได้แปลว่าเราจะต้องถูกจัดเข้าไปอยู่ในสีใดสีหนึ่งนะ

เพราะฉะนั้นผมเลยรู้สึกว่ารายการเรา ไม่ได้ไปโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขนาดนั้น และสิ่งที่เราออกมาพูดเป็นสิ่งที่มาจากสื่อต่างๆ ที่มีให้เห็นอยู่แล้ว แต่คนจะไม่ค่อยเข้าไปอ่าน ไปดูหรือไปฟัง หนังสือพิมพ์เขาก็มีข่าวลงอยู่ นักวิชาการก็เขียนบทความลงตั้งเยอะแยะ แต่บางครั้งอ่านจบปุ๊บมันก็ยังสรุปไม่ได้ว่าจะไปยังไงต่อ หรือเรื่องนี้จะจบยังไง ผมเองด้วยความที่ถูกบ่มมาอยู่แล้วว่าต้องมีการศึกษาข้อมูลจากหลายๆ ที่ ต้องประมวลข้อมูลแล้วค่อยตัดสินใจ ดูว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร เวลาจะออนแต่ละครั้งก็ต้องตรวจแล้วตรวจอีกให้ชัดเจนเพื่อเช็กว่าข้อมูลที่ เราจะนำเสนอมันถูกต้องจริงๆ" นี่คือเป้าหมายที่จอห์นต้องการส่งผ่านถึงคนดูของเขา

แต่ข้อหนึ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ว่า หนุ่มวัย 25 คนนี้ นอกจากกำลังศึกษาอยู่คณะรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว จอห์นยังเป็นลูกชายของ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ นักวิชาการ ด้านรัฐศาสตร์ และ ผศ.แจนนิช เอ็ม วงศ์สุรวัฒน์ ผู้เป็นแม่ ซึ่งเป็นอาจารย์คณะจิตรกรรมที่มหา-วิทยาลัยศิลปากร มีพี่ชาย (วินัย วงศ์สุรวัฒน์) ที่จบเศรษฐศาสตร์จากอเมริกา และพี่สาวอีกคนคือ วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ (ไม่รวมคุณโรซี่) ที่เป็นนักประวัติศาสตร์จบจากต่างประเทศ ขณะนี้เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งหมดนี้คือวัตถุดิบชั้นดีของครอบครัว ‘วงศ์สุรวัฒน์' ที่ผลักดันและต่อยอดให้ iHere.tv ครบรสยิ่งขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

จอห์นเล่าว่าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ครอบครัวเขามีนัดมารวมตัวกันบนโต๊ะอาหาร และใช้พื้นที่นี้ในการแชร์สิ่งรอบตัว ที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่าง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา

"ในวงโต๊ะอาหารบางครั้งก็เป็นจุดเริ่มต้นของข่าวด้วย ว่ามันมีเรื่องอะไรที่น่าจะหยิบมาพูด เราทุกคนจะแชร์ความคิดเห็นกันระหว่างทานอาหาร กินเสร็จปุ๊บเราก็จะไปนั่งต่อกันที่ออฟฟิศ หาข้อมูล เปิดหนังสือพิมพ์ เอามาย่อยทำเป็นสคริปต์ ตรวจสอบ และถ่ายทำ"

ก่อนที่เราจะจบบทสนทนาลงด้วยเวลาจำกัดกับคำพูดทิ้งท้ายสั้นๆ ของจอห์นถึง iHere.tv ว่า

"ไม่ว่าใครก็ตามที่อ่านคอลัมน์นี้อยู่ ถ้าลองคลิกเข้าไปแล้วรู้สึกว่าชอบ ไม่ว่าจะเป็นรายการไหนก็ตาม อยากให้ติชมกันมาหรือแชร์กันต่อได้ เพราะเราก็ขึ้นหราไว้อยู่แล้วว่าถ้าคุณอยากจะติดตามเราก็ส่งไปที่อีเมลได้ เข้าไปที่เฟซบุ๊กของเราก็ได้ กดแชร์ต่อก็ได้ เพราะทุกคลิปเราจะมีช่องให้คุณแชร์ได้

เชิญได้นะฮ้าฟฟ"

กด Like เพื่อติดตามเรื่องเด็ดๆ โดนๆ จากทีมงาน Sanook! Campus

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook