เส้นทางการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
หลังการประกาศผลคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระบบกลางหรือแอดมิชชั่นส์ เสร็จสิ้น หลายคนโล่งอกและดีใจกับประกาศ ในขณะที่เพื่อนบางคนเครียดกับความพลาดหวังด้วยคณะวิชาและมหาวิทยาลัยที่ตนเองอยากจะเข้าเรียนและได้สมัครไว้นั้นไม่มีรายชื่อของตน บางคนทำใจได้ในขณะที่บางคนยังอยู่ในขั้นคิดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะเดินหน้า อย่างไรดี หันไปทางไหนก็ปะหนึ่งว่าโลกมันขะมุกขะมัวกระไรพิกล
ด้วยเหตุ ที่ว่า ความผิดหวังในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยมันสะท้อนอะไรบางอย่างในตัวเอง และก็มากเรื่องมากปัจจัย แต่ที่แน่ๆ ที่หลายคนสับสนก็คือ ความมั่นใจในความสามารถของตนเองที่เคยมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม กล่าวคือ ทั้งกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจดื้อดึงขัดคำบอกกล่าวของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เมื่อความผิดหวังครั้งแรกในการเลือกทางเดินทางของชีวิตครั้งแรกเกิด ความสับสนที่ว่านั้นจึงนำมาซึ่งความเครียดวิตกกังวลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อน
ความวิตกกังวลครั้งนี้ส่วนหนึ่งไม่อาจแยกออกจากความคลางแคลงใจ ว่า เพื่อนๆ คนรู้จักข้างบ้าน หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ ญาติๆ อาจดูหมิ่นดูแคลนว่า เรียนไม่เก่ง หรือเป็นคนขยันเรียนเลยทำให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ และแทนที่จะได้รับความยินดีชื่นชมกลับกลายเป็นเรื่องตรงกันข้ามไป
ปัญหา ที่ว่านี้ คงต้องย้ำเตือนและบอกกล่าวให้เข้าใจว่า การจะผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย (ปิด) ของรัฐนั้นมิใช่เรื่องชี้เป็นชี้ตายอนาคตของใครคนใดคนหนึ่ง เพียงแต่เป็นสิ่งบ่งชี้ความสมเร็จหรือสมหวังในกรณีหนึ่งก็เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นอย่าด่วนสรุปชีวิตตนเองมากจนเกินความพอดีและข้อเท็จจริง ด้วยเหตุที่ว่า ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรวมถึงมหาวิทยาลัยยังมีโครงการรับนักศึกษาใน กรณีอื่นๆ อีก ดังนั้นทุกคนจึงยังคงมีโอกาสไปสมัครคัดเลือกได้ และแม้ว่าบางโครงการจะปิดรับสมัครและทำการคัดเลือกนักศึกษาไปเรียบร้อยแล้ว ก็ตาม หากแต่ก็ยังมีสถาบันหรือมหาวิทยาลัยอีกจำนวนมากที่ยังคงเปิดรับนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งปัจจุบันได้ทำการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรหรือสาขาวิชาต่างๆ ทั้งเหมือนมหาวิทยาลัยปิดของรัฐ และที่แตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนตามความต้องการของตลาดแรงงานในสาขาวิชาชีพ อาทิ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ หรือสัตวศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ไม่นับรวมสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์ที่อยู่ในกระแสความนิยมตลอดกาลอย่าง สาขาวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ เป็นต้น
กระนั้น หลายคนก็อาจคิดหนักกับการที่ต้องตัดสินใจเลือกคณะวิชาหรือหลักสูตรที่เปิด การเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจมีปัญหาด้านมาตรฐานการจัดการหลักสูตร การเรียนการสอนที่ไม่ต้องตามคุณภาพและมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษาหรือ สกอ. ที่ปัจจุบันการเป็นเสือติดดาบคอยควบคุมมาตรฐานวิชาการดังกล่าวอย่างเคร่งคัด และเข้มงวดอย่างที่เป็นข่าวปัญหาการสอนที่ต่ำกว่ามาตรฐานของมหาวิทยาลัย เอกชนบางแห่ง
เหตุกรณีดังกล่าวต้องชี้แจงแถลงไขให้เข้าใจในหลักการพื้น ฐานว่า แท้ที่จริงแล้วการที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะเปิดการสอนการ สอนได้ ต้องได้รับการรับรองหรืออนุญาตจากสภามหาวิทยลัยแต่ละแหน่งก่อน และต้องส่งเรื่องดังกล่าวขอให้ให้ สกอ. รับทราบหลักสูตรมาก่อนจึงจะสามารถเปิดรับนักศึกษาได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ถือเป็นเรื่องสำคัญและมหาวิทยาลัยเอกชนหรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยของรัฐทุก แห่งก็จำเป็นต้องดำเนินการในแนวทางเดียวกัน เพราะมีกฎหมายหรือระเบียบบังคับ เพราะหากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดย่อมไม่อาจได้รับการรับทราบหลักสูตรจาก สกอ.ได้ และนี่คือสิ่งที่เป็นเครื่องการันตีมาตรฐานหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
บท สรุปปัญหาว่าด้วยมาตรฐานการรับรองหลักสูตรของ สกอ. จึงเป็นเรื่องเฉพาะกรณีก่อนการเปิดการเรียนการสอนหรือรับนักศึกษา แต่โดยทั่วไปแล้วในมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดรับนักศึกษามักได้รับการรับทราบ หลักสูตรจาก สกอ. มาแล้วทั้งสิ้น เพราะหากไม่ดำเนินการตามกรณีที่ว่านั้นย่อมถูกตรวจสอบและอาจถูกดำเนินการตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัด และนั่นหมายความว่าย่อมส่งผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์และความก้าวหน้า ของมหาวิทยาลัยดังกล่าวอย่างรุนแรง
ปัญหาที่เกิดขึ้นอันว่าด้วยมาตรฐาน การศึกษาดังกล่าว มักเป็นผลมาจากในแต่ละสาขาวิชาชีพมีองค์กรหรือหน่วยกำกับหรือควบคุม รวมถึงการรับรองมาตรฐานเฉพาะของตนเอง อาทิ สภาการพยาบาล หรือสภาวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบเพื่อรับรองสาขาวิชาของตนเป็น การเฉพาะไม่เกี่ยวกับ สกอ. โดยตรงแต่ประการใด เมื่อเป็นเช่นที่ว่านี้ หากสนใจหรือต้องการจะเข้าศึกษาต่อฯ ก็สามารถสอบถามการรับรองขององค์กรดังกล่าวได้ ทั้งจากมหาวิทยาลัยหรือสภาวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งจะช่วยคลายข้อสงสัยและสร้างความมั่นใจในการเรียนได้
อันที่จริงแล้ว สถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรต่างๆ ในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก เรียกว่าเป็นยุคทองของผู้เรียน ดังนั้นจึงไม่ควรยึดติดแต่เฉพาะสถาบันหรือมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง เหมือนแนวคิดของการศึกษาในอดีต เช่น หากสนใจเรียนด้านนิติศาสตร์ ก็อาจเลือกเรียนได้ทั้งจากมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ทั้งจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งความสำเร็จในอาชีพของบรรดาศิษย์เก่าในปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งทั้งใน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จนถึงระดับหัวแถวของหน่วยงานอย่างอธิบดีหรือปลัดกระทรวงย่อมเป็นเครื่อง การันตีคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า เรียนจบแล้วสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้แน่นอนและสังคมให้การยอมรับในคุณภาพ ของบัณฑิตแน่นอน
ทิ้งท้ายเป็นข้อคิดว่า อย่าตัดสินอนาคตของตนเองเพียงเพราะการผิดหวังการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ หากแต่ความสำเร็จในชีวิตย่อมขึ้นอยู่กับการแสวงหาโอกาสและการสร้างโอกาสให้ กับตนเองเป็นสำคัญ และช่วงเวลาแห่งความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นกับผู้แสวงหาและขยันหมั่นเพียร เสมอ.....
ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ภรณ์
สมัครรับผล Admissions ทาง sms ฟรี (ประกาศผลพรุ่งนี้ 4 พ.ย. 54) คลิกลงทะเบียนด่วน!