สองสถาบันชั้นนำของโลก ร่วมมือเปิดปริญญาเอก

สองสถาบันชั้นนำของโลก ร่วมมือเปิดปริญญาเอก

สองสถาบันชั้นนำของโลก ร่วมมือเปิดปริญญาเอก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ในประเทศสิงคโปร์ จับมือมหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเลม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University หรือ NTU) ในประเทศสิงคโปร์ จับมือมหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเลม (Hebrew University of Jerusalem) ในประเทศอิสราเอล เปิดโปรแกรมร่วมระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Ph.D. programme in Environmental Life Sciences)

มหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเลมเป็นสถานศึกษาชั้นนำของอิสราเอล จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS World University Rankings 2010 เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเลมได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรนอกประเทศเปิดหลักสูตรใหม่ร่วมกันแบบปริญญาเอก 2 สถาบัน

โครงการปริญญาเอกร่วมจะเสริมจุดแข็งของทั้งสองมหาวิทยาลัย โดยเน้นการวิจัยในสาขาที่สำคัญ เช่น จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Microbiology) และวัสดุนาโน (Nanomaterials) เปิดรับสมัครครั้งแรกในเดือนสิงหาคม สามารถสมัครกับสถาบันในประเทศสิงคโปร์และอิสราเอล ผู้เรียนจะได้รับการสอนและข้อแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนทั้งสองมหาวิทยาลัย และจะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยพันธมิตร มีทุนการศึกษาให้อีกด้วย ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาสองใบ

สาขาวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ซึ่งมีมากมายในสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อโรค การฝึกอบรมนักศึกษาปริญญาโทในสาขานี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ชีวการแพทย์ และเภสัชกรรมในสิงคโปร์ เอเชียและประเทศอื่น ๆ

โครงการปริญญาเอกร่วมนี้มีความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้การพัฒนาการศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เรียกว่าวิศวกรรมจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Life Sciences Engineering)

จุลชีววิทยาเป็นการศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การย่อยสลายของสารมลพิษที่เป็นอันตราย รีไซเคิลน้ำที่ใช้แล้ว และการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยสาขาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เปิดสอนโปรแกรมร่วมระดับปริญญาเอกร่วมกับ Imperial College London (อังกฤษ), Karolinska Institutet (สวีเดน), ParisTech-Institut des Sciences et Technologies (ฝรั่งเศส) และ Technische Universität München (เยอรมนี)

สอบถามเพิ่มเติมที่ Edgar Lee Senior Assistant Director Corporate Communications Office Nanyang Technological University โทร. +65 6790 6052 อีเมล์ edgarlee@ntu.edu.sg เว็บไซต์ www.ntu.edu.sg

มหาวิทยาลัยซูโจวในจีน เปิดวิทยาเขตแรกที่ลาว

ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน จีนเป็นประเทศที่มหาวิทยาลัยต่างชาติจำนวนมากต้องการผนึกเป็นพันธมิตรทางการศึกษาและเข้ามาเปิดวิทยาเขตในหลายพื้นที่ของจีน ขณะนี้มหาวิทยาลัยซูโจวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในโครงการ 211 กำลังสวนกระแส เตรียมเปิดวิทยาเขตในต่างประเทศแห่งแรกของจีนแผ่นดินใหญ่ในปีหน้า

มหาวิทยาลัยซูโจว (Soochow University) เป็นมหาวิทยาลัยสหสาขาวิชาที่มีชื่อเสียงในมณฑลเจียงซู มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 100 แห่งจากนานาประเทศ จำนวนนักศึกษาในประเทศจีนประมาณ 50,000 คน แต่ละปีมีนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาต่อประมาณ 1,300 คน จาก 37 ประเทศ

มหาวิทยาลัยซูโจวทำข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศลาวตั้งแต่ปี 2007 และวางรากฐานเพื่อจัดตั้งวิทยาเขตในท้องถิ่นนับแต่นั้น ของสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า มหาวิทยาลัยซูโจวเป็นสถาบันการศึกษาต่างประเทศแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลลาวให้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รายงานอย่างเป็นทางการระบุว่า มหาวิทยาลัยซูโจว วิทยาเขตลาว (Soochow University, Laos หรือ SUL) จะเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเอก 12 สาขา รวมทั้งภาษาและวรรณกรรมจีน เศรษฐกิจและการค้า และวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มรับสมัครนักศึกษาประมาณ 5,000 คนในปีหน้า

ในขั้นแรกมหาวิทยาลัยซูโจวจะส่งนักวิชาการชาวจีนไปยังวิทยาเขตที่ลาว มีแผนจะค่อย ๆ จ้างครูในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น จากสถิติของยูเนสโกในปี 2008 ประเทศลาวมีประชากรรวมมากกว่า 6 ล้านคน แต่ผู้มีวัยอยู่ในเกณฑ์สมัครเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีมีประมาณ 13% เท่านั้น
เว็บไซต์ www.scu.edu.tw

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : จีระนันต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook