โจ๋ มกท คว้าแชมป์หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ปี 54

โจ๋ มกท คว้าแชมป์หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ปี 54

โจ๋ มกท คว้าแชมป์หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ปี 54
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ทีม"บางกอก 2011" ลูก มกท ชนะเลิศแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ชิง แชมป์ประเทศไทย 54 พร้อมเตรียมชิงชัยกับ 16 ทีมอาชีวะศึกษา ในรายการ ABU Robot Contest Thailand 2011 เพื่อคัด เลือกหา 2 ทีมสุดท้ายเป็นตัวแทนประเทศไทยลุยศึกเอเชีย ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 Bangkok

ปิดฉากอย่างสวยงามแล้วสำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2554 การแข่งขันหุ่นยนต์ส.ส.ท. ยุวชน ประจำปี 2554 และการแข่งขัน TPA PLC Competition 2011 ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริม เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.) และ บมจ.อสมท. ซึ่งเป็นเวทีจัดการแข่ง ขันหุ่นยนต์ระดับประเทศและประสบความสำเร็จสู่เวทีการแข่งขันระดับ นานาชาติ

ซึ่งการแข่งขันทั้งหมดมีอยู่ 4 รายการด้วยกัน ประกอบด้วย 1. การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย 2554 ระดับอุดมศึกษา 2. การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ยุวชน 2554 3. การแข่งขัน TPA PLC Competition 2011 และท้ายสุด 4. การประกวดกองเชียร์ โดยผลการแข่งขันปรากฎว่า "ทีม บางกอก 2011" คว้าแชมป์ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย 2554 ระดับอุดมศึกษาจากทั้ง 32 ทีมพร้อมนำโด่งศิษย์น้อง แชมป์เก่า "ทีม Irap mellow" จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ1และรางวัล IPA Robot of the year พร้อมรางวัลกองเชียร์ดีเด่น ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ทีม - เจไดเดอะเพาเวอร์อัพ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตย์ และทีมชมพูพันธ์ทิพย์ Generation จากสถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น นอกจากนี้ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ตกเป็นของทีมลูกเจ้าแม่คลอง ประปา The Limited จากมหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์

ส่วน การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ยุวชน 2554 ที่แบ่งการแข่งขัน ออกเป็น 2 ประเภท ทั้ง การแข่งขันแบบ ROBO Rescue หรือหุ่นยนต์กู้ภัย ผลการแข่งขันปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศการหุ่นยนต์กู้ภัยตกเป็นของทีม AC Rescue จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม สตรีวิทยา2 และทีม Identy รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ส่วน ในรูปแบบการแข่งขัน ROBO Fashion หรือหุ่นยนต์เดินแฟชั่น ผลปรากฏว่า ทีม Inspiration robo จากโรงเรียน วัดศรีสุทธาราม คว้ารางวัลชนะเลิศ ส่วน ทีมUN2โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี คว้า รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทีม AC Fashionโรงเรียนอัสสัมชัญ คว้ารางวัลรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

ด้านการแข่งขัน TPA PLC Competition 2011 ได้แก่ ทีมSazan จากสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น คว้ารางวัลชนะเลิศ ตามด้วยทีม Up2 Meสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอู้เล่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ทีมEE-SKC SENIOR มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตสกลนคร คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ปิดท้ายด้วยรางวัลเทคนิคยอด เยี่ยม ตกเป็นของทีมดงยาง_VMAX #1มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

"ต้อม" ศุภชัย พลับชิด , "อัง"กฤษดา พิลึก และ"เชาว์" เชาวลิต ธรรมทินโน ทีมบางกอก 2011 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ โดยมี อ.อัครพงษ์ เอกศิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เปิดเผยถึงทีเด็ดของทีมที่ สามารถเอาชนะเกมการแข่งขันครั้งนี้ว่าทีมของตนนั้นได้เก็บ ประสบการณ์การแข่งขัน มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา9 ปีแล้ว ที่เคยเป็นแชมป์ระดับนานาชาตที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เป็นรองแชมป์ประเทศไทย 2 ครั้ง จึงได้นำเอาเทคโนโลยีที่คิดค้นมาบวกกับประสบการณ์มาวางแผนการเล่นให้ประสบ ความสำเร็จโดยการจัดเตรียมสมาชิกทีมที่มีทักษะและประสบการณ์ลงแข่ง" อ.อัครพงษ์ เปิดประสบการณ์ของลูกศิษย์

ส่วน"ต้อม" ศุภชัย พลับชิด หัวหน้าทีมบางกอก 2011 เสริมว่า ภายใต้เกมการแข่งขันในคอนเซ็ปต์ "จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ"หรือการนำการทำกระทงเข้ามาเป็นเกมการแข่งขันนี้ ก็ได้มีเวลาเตรียมหุ่นยนต์เพียง1 นาทีก่อนลงสนามจึงใช้ทริคการแบ่งแยกการทำงานแบบ เลือกจุดเด่น จุดด้อยและประสบการณ์ของสมาชิกทีมแต่ละคนเข้ามาบังคับ หุ่น โดยเน้นความแม่นยำของตำแหน่ง เก็บแต้มคะแนนสะสม ทำเวลาให้เร็วที่สุด ขณะที่โจทย์การแข่งขันปีนี้นับว่าเป็นโจทย์ที่ยากพอสมควร แต่ก็แก้ไขปัญหาการสะดุดจุดที่ยากด้วยการตัดสินใจอย่างมีประสบการณ์
"เวลาที่หุ่นกระทงลอย ในแม่น้ำแล้ว ผู้บังคับจะต้องกำหนดจุดเซนเซอร์ก่อนที่จะจุดเทียน แต่เมื่อเกิดปัญหาไม่สามารถจุดเทียนได้ การแข่งขันครั้งนี้เราจึงเปลี่ยนแผนเป็นการเก็บแต้มคะแนนสะสมด้วยการลอย กระทงอีก 1 ใบแทน และใช้ข้อดีของหุ่นยนต์ที่สามารถหมุนได้ 180 องศา ตีวงเลี้ยวซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว แม้จะเสียเปรียบในเรื่องของกล้องส่งสัญญาณภาพที่ ยังไม่ชัดเจน แต่ก็สามารถผ่านมาได้ด้วยการวางแผนการแข่งขัน โดยใช้การตัดสินใจที่ฉับพลันในการเก็บแต้มดังกล่าว"

ท้ายนี้ตัว แทนทีมบางกอก 2011 ยังบอกอีกว่า ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาในเรื่องของโปรแกรม และตำแหน่งความแม่นยำให้ดี พร้อมกับเก็บประสบการณ์จาก การแข่งขันครั้งนี้ไปฝึกซ้อมก่อนจะแข่งขัน ABU Robocon Contest 2011 ร่วมกับ 16 ทีมจากระดับอาชีวะศึกษาทั่วประเทศ เพื่อหาทีมตัวแทนประเทศไทย 2 ทีม ในวันที่ 11-12 มิถุนายน 2554 ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี หลังจากนั้น ผู้ชนะทั้ง 2 ทีมจะเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขันต่ออีกครั้งในรายการ ABU Asia - Pacific Robot Contest 2011 Bangkok ในวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ) ซึ่งถ้าถ้ามีโอกาสเป็นตัว แทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในระดับนานาชาติ ก็จะทำให้ดีที่สุด.

 

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ โจ๋ มกท คว้าแชมป์หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ปี 54

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook