นิเทศ จุฬาฯ คณะฮ็อต ดาราฮิต

นิเทศ จุฬาฯ คณะฮ็อต ดาราฮิต

นิเทศ จุฬาฯ คณะฮ็อต ดาราฮิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Sanook!Campus- เชื่อว่ามีน้องๆ จำนวนไม่น้อยเลย ที่มีความหวังและความฝัน ที่จะเข้าไปศึกษาต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ได้ ซึ่งคณะนี้ถือเป็นคณะยอดฮิตและคะแนนสูงเป็นอันดับต้นๆของการแอดมินชั่นเลยก็ว่าได้ ด้วยชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน บวกกับรุ่นพี่ที่จบออกมาต่างประสบความสำเร็จ ทำให้คณะนิเทศ จุฬาฯ เป็นที่หมายปองของน้องๆที่รักในศิลปะและงานในวงการสื่อสารมวลชน...

สำหรับพี่ๆดาราที่จบจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีมากมายหลายคนอาทิเช่น...

แอ๊ฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ นางเอกสาวหน้าหวาน

 

ก้อย รัชวิน วงษ์วิริยะ นางเอกสาวหน้าใส

 

โอปอล์ ปาณิสรา พิมพ์ปรุ ดีเจและพีธีกร คนดัง

 

กาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ นักข่าวและพิธีกร มากความสารถ

 

เต๋อ-ฉันทวิทย์ ธนะเสวี พระเอกมาดเท่ห์

 

ที่กำลังศึกษาอยู่

ผึ้ง กัญญา ลีนุตพงษ์ นางเอกคลื่นลูกใหม่

 

อเล็กซ์ เรนเดล นักแสดงคนดังแห่งวิก 3

 

แอริน สิรีภรณ์ ยุกตะทัต นางร้าย อารมณ์ดี

 

ทั้งนี้ ยังมีเหล่าดารา คนดังที่จบคณะนี้อีกมากมาย เช่น มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล(ผู้กับกับภาพยนต์), อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส, ชาม ไอยวริญท์ โอสถานนท์, ตุ๊ยตุ่ย พุทธชาด พงศ์สุชาติ ฯลฯ

ประวัติคณะนิเทศจุฬาฯ

คณะนิเทศศาสตร์เป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณริมถนนพญาไท เปิดทำการสอนครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2508 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า "แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์" ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็น "คณะนิเทศศาสตร์"

ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์มีอาคารเรียน 2 หลัง มีห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการในการผลิตสื่อต่าง ๆ ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 70 ท่าน มีนิสิตที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษาประมาณ 1,200

คนทุกปีจะมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย ประมาณปีละ 150 คน หลักสูตรภาษาอังกฤษ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร ประมาณปีละ 100 คน และระดับบัณฑิตศึกษาประมาณปีละ 235

พระบิดาแห่งนิเทศศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมปราชญ์ รอบรู้ศิลปะวิทยาทุกด้าน ทรงได้รับยกย่อง ในฐานะผู้ริเริ่มนำวิทยาการสมัยใหม่ มาสู่คนไทย และได้ทรงปรับเปลี่ยนพิธีการต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า พระองค์ทรงสนพระทัยด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ การใช้การสื่อสารในหลายช่องทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ชาติไทยรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก พระองค์ทรงใช้กุศโลบายทางด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารโน้มน้าวใจให้ประเทศตะวันตกเชื่อถือในตัวพระองค์ และสยามประเทศ ว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเจริญ รุ่งเรืองมาช้านานมีวัฒนธรรม ที่ดีงามและสามารถปรับตัว เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกได้ พระองค์ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของภาษาอังกฤษได้สนับสนุน ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะรู้เท่าทันชาติตะวันตก และเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สำคัญ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เปิดการสื่อสารระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับราษฎร โดยทำเป็นประกาศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน อันเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารไปจากดั้งเดิม

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควรที่จะจัดวันเทิด พระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคมของทุกปีซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพ ในฐานะที่พระองค์ ได้ทรงริเริ่มวิชาการทางนิเทศศาสตร์ไทย โดยเฉพาะทางด้านการพิมพ์ พระองค์เปรียบดั่ง "บิดาแห่งนิเทศศาสตร์ไทย" ที่ทำให้วิชาการทางนิเทศศาสตร์ไทยเจิญงอกงามรุ่งเรืองมาตราบเท่าทุกวันนี้

ผู้ให้กำเนิดคณะนิเทศศาสตร์ :ศาสตราจารย์ บำรุงสุข สีหอำไพ

ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง "แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์" โดยแรกเริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการแผนกอิสระฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์จนถึงปี พ.ศ. 2517 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2522 จากนั้นท่านรับราชการมาจนเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2535

ศาสตราจารย์บำรุงสุขเป็นคนที่ทุ่มเทให้กับงาน คณะนิเทศศาสตร์เปรียบเสมือน "บ้าน" ที่ท่านเพียรก่อสร้างรากฐาน เพื่อให้บ้านน้อยหลังนี้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยในปีการศึกษา 2508 อันเป็นปีที่แผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ก่อตั้งขึ้นมานั้น ท่านได้ร่างหลักสูตรการเรียนการสอนที่รวบรวมอาจารย์ชื่อดังในสาขาวิชานั้นๆมาประสิทธิประสาทวิชาความรู้แก่นิสิต

ท่านจึงเป็นเสมือน "พระผู้สร้าง" อย่างแท้จริงที่ชาวนิเทศศาสตร์พึงรำลึกถึงอยู่เสมอ ภายหลังการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ได้ก่อตั้ง "มูลนิธิบำรุงสุข สีหอำไพ" เพื่อเป็นการรำลึกถึงครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ โดยมีเป้าหมายให้มูลนิธิเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์แก่สังคมสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ

Sanook!Campus- สำหรับน้องๆที่อยากเข้าศึกษาในคณะนี้ ขอให้ตั้งใจอ่านหนังสือให้มากๆ ที่สำคัญอย่าเรียนตามเพื่อนหรือเรียนเพราะความเด่นดัง ขอให้รักและชอบงานด้านนี้จริงๆ

เรื่องโดย : ทีมงาน Sanook!Campus


<น่ารักแบบไม่เลือกคณะ รวมภาพดาราวัยทีนในชุดนักศึกษา...น่ารักอ่ะ>



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook