เรียนแพทย์ดีอย่างไร
จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า วิชาชีพที่มั่นคงเป็นอันดับหนึ่งคือ ศัลยแพทย์ และ อันดับสองคือ ทันตแพทย์จัดฟัน ได้มีการสำรวจเช่นนี้อีกในหลายๆประเทศ และผลออกมาก็ใกล้เคียงกัน
คณะแพทยศาสตร์ จึงยังเป็นที่หมายปอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้ว่า บางคนเมื่อเรียนจบแล้วจะไม่ได้ประกอบวิชาชีพนี้ เช่น ผันชีวิตไปเป็นนักธุรกิจ พิธีกรรายการโทรทัศน์ นักบิน ผู้พิพากษา นักการเมือง ฯลฯ แต่ภาพพจน์ของความเป็นแพทย์ ก็ยังคงติดตัวไปตลอดชีวิต ด้วยมุมมองจากสังคมที่ให้เกียรติ นับถือ และยกย่อง หลายๆคนใช้ปริญญาแพทยศาสตร์เป็นใบเบิกทางในการประกอบวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ที่ต้องการเป็นผู้พิพากษา สามารถสอบในสนามเล็ก ซึ่งง่ายกว่า การไปสอบแข่งกับผู้จบปริญญานิติศาสตร์โดยตรงในสนามใหญ่ เพราะปัจจุบันคดีต่างๆ ต้องการความรู้ทางการแพทย์ประกอบทั้งการตรวจดี เอ็น เอ การชันสูตร ผลเลือด ลักษณะบาดแผล ฯลฯ ผู้พิพากษาที่มีปริญญาแพทยศาสตร์บัณทิต จึงได้เปรียบกว่า
คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด ไม่ให้มีการเปิดภาคพิเศษ หรือเพิ่มจำนวนนิสิต นักศึกษา รวมไปถึง จำกัดมหาวิทยาลัยเอกชนที่จะเปิดสอนคณะนี้ ทำให้ในแต่ละปีมีแพทย์จบใหม่เพียงหลักพันคน เมื่อหักลบกับแพทย์ที่เกษียณ จึงถือได้ว่า มีจำนวนเพิ่มน้อยมาก เช่นทันตแพทย์ ทั้งประเทศมีประมาณหนึ่งหมื่นคน เกษียณหรือเลิกทำวิชาชีพนี้ไปแล้วประมาณสามพันคน ดังนั้นจะเหลือทันตแพทย์ เพียง เจ็ดพันคนที่คอยรักษาประชากรถึงหกสิบล้านคน นอกจากนั้น ยังมีชาวต่างชาติจำนวนมาก เข้ามาเพื่อรักษาทางการแพทย์ กับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยถึงสองล้านคนต่อปี โดยชาวต่างประเทศกลุ่มนี้สามารถจ่ายค่ารักษาได้อย่างไม่จำกัด ทำให้เกิดสภาวะสมองไหล จากแพทย์ภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นทุกปี
อนาคตประเทศไทย จะพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของเอเชีย ซึ่งทุกวันนี้ ประชาชนในประเทศต่างๆ เช่นชาวตะวันออกกลางทั้งหมด ที่ไม่ชอบแพทย์ชาวตะวันตก จะเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งรักษาตัว รวมไปถึงประเทศรายรอบ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ มีความเห็นว่า ระบบการแพทย์ในประเทศไทยมีคุณภาพสูงมาก แต่ราคาต่ำ ดังนั้น เมื่อใดที่รัฐบาลประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ คาดหมายได้ว่า จะมีชาวต่างประเทศมารักษาพยาบาลในเมืองไทย ไม่ต่ำกว่า สิบล้านคนต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศอย่างน้อยหนึ่งแสนล้านบาท แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ จะขาดแคลนแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
แม้ประเทศไทย จะได้เปรียบจากทำเลทางภูมิศาสตร์ คุณภาพของแพทย์ที่สูง ประกอบกับค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำ แต่ แพทย์ชาวไทย ยังมีจุดอ่อนที่ภาษา การสื่อสารกับคนไข้ชาวต่างชาติ เป็นไปด้วยความยากลำบาก โรงพยาบาลบางแห่งถึงขนาดต้องจ้างเจ้าหน้าที่ของสถานทูตในแต่ละประเทศ มานั่งประจำในโรงพยาบาลเพื่อทำหน้าที่เป็นล่าม
ด้วยเหตุนี้ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเปิดหลักสูตรแพทย์ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านภาษา โดยให้คะแนนสอบเข้าสำหรับวิชาภาษาอังกฤษถึงร้อยละ 20 ดังนั้นถือว่าเป็นโอกาสดีสำหรับนักเรียนที่เก่งภาษาอังกฤษ แล้วต้องการเรียนคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งมีจำนวนรับถึง 44คน
แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนควรจะทำคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สูงด้วย ทาง Tutorsom.com จึงได้เปิดสรุปคอร์สฟิสิกส์ เคมี ในวันที่ 6และ 7สิงหาคมสำหรับช่วยติวนักเรียนที่จะสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 13 - 14สิงหาคมนี้ ซึ่งเมื่อรวมคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ เข้ากับ วิชาภาษาอังกฤษ จะมีน้ำหนักคะแนนถึง ร้อยละ 65ทำให้นักเรียนมีโอกาสสอบได้คณะแพทย์สูงมาก
สำหรับนักเรียน ที่รอสอบเข้าแพทย์ ของ กสพท. ซึ่งมีจำนวนรับ 1,400 คน ควรให้ความสำคัญกับวิชาเฉพาะแพทย์ ที่มีน้ำหนักคะแนนถึงร้อยละ 30 (ในขณะที่คะแนนรวมต่ำสุดในการสอบเข้าอยู่ที่ 58) และวิชานี้ นักเรียนจากทุกโรงเรียนมีโอกาสได้คะแนนเท่ากัน วิชาเฉพาะแพทย์ จึงถือว่า เป็นคะแนนที่ทำให้นักเรียนที่เรียนไม่เก่งมาก แต่ต้องการเรียนแพทย์ มีโอกาสสูงขึ้น
ข้อมูลโดย : ทันตแพทย์สม สุจีรา www.Tutorsom.com, http://unigang.com/
ภาพประกอบจาก : Photos.com