ทุนสหภาพยุโรปให้ทำวิจัยกว่า 50,000 ล้านยูโร
สหภาพยุโรป (EU) เสนอที่จะให้ทุนวิจัยโครงการ Seventh Framework Program 7 (FP7) ซึ่งเป็นโครงการล่าสุดและได้รับการจัดสรร เงินทุนจำนวน 50,500 ล้านยูโร สำหรับปี ค.ศ. 2007 - 2013 เพื่อการพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีของนักวิจัยชาวไทยร่วมกับนักวิจัยจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งนักวิจัยไทยสามารถมีส่วนร่วมในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับฝ่ายสหภาพยุโรป
โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่ปี 2007-2013
โดยมีหัวข้องานวิจัยร่วมดังนี้ 1. Health 2. Food, Agriculture and Biotechnology 3. Information and Communication Technologies 4. Nanosciences, Nanotechnologies, Materials and new Production Technologies 5. Energy 6. Environment (including climate change) 7. Transport (including Aeronautics) 8. Socio-economics science and Humanities 9. Security 10. Space
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของหัวข้องานวิจัย ความร่วมมือ และกำหนดระยะเวลาในการเปิดรับสมัครหัวข้องานวิจัยได้ทางเว็บไซต์ http://cordis.europa.eu/fp7/home_en.html
และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงบรัสเซลล์ อีเมลล์ junpen@most.go.th เบอร์โทรศัพท์ (332)6750797
ข้อมูลเกี่ยวกับ FP7
1. โครงการ Framework Programme (FP) ของอียู มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของอียู ด้วยการวิจัยและพัฒนา FP7 ซึ่งเป็นโครงการล่าสุดและได้รับการจัดสรร งปม. จำนวน 50,500 ล้านยูโร สำหรับปี ค.ศ. 2007 - 2013 โดยแบ่งเป็น 4 กรอบ ดังนี้
1.1 Cooperation - แบ่งเป็น 10 สาขาวิจัยย่อย เช่น อาหาร เกษตร ประมง สิ่งแวดล้อม พลังงาน ICT และ สังคมศาสตร์ โดยอียูจะออก Work Programme ทุกปีในแต่ละสาขา ซึ่งจะระบุตาราง การทำงานและประกาศหัวข้อวิจัยให้เสนอ (Call for Proposal) โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้สมัครไทยจะต้องหาผู้วิจัยร่วม และมีองค์กรวิจัยยุโรปอย่างน้อย 1 องค์กร เข้าร่วมด้วยในลักษณะ consortium ส่งข้อเสนอให้แก่ EU พิจารณาคัดเลือกตามขั้นตอน
1.2 Ideas - ไม่มีการกำหนดหัวข้อวิจัยและไม่มีการประกาศ Call for Proposals ผู้ประสงค์จะขอรับทุนวิจัยจะต้องเสนอหัวข้อให้ EUพิจารณาตามขั้นตอน
1.3 Marie Curie (People) - เน้นการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในยุโรปและเชิญชวนให้นักวิจัยชั้นนำที่สนใจจาก ปท. ที่สามร่วมทำวิจัยกับสถาบันวิจัยในยุโรป
1.4 Capacities - เน้นให้ทุนงานวิจัยที่สนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำวิจัยในยุโรป ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและกำหนดการสำหรับปี ค.ศ. 2012 ได้ที่ http://ec.europa.eu/research/ participants/portal/page/home
2. โอกาสของไทย: ไทยสามารถขอรับทุนตามเงื่อนไขของแต่ละด้านและแต่ละ Call for Proposals โดยผู้ขอรับทุนอาจมาจากภาคการศึกษาวิจัย ภาคเอกชน ภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรระหว่าง ปท. หรือเป็นปัจเจกบุคคล (สำหรับ People และ Ideas) โดยนักวิจัยไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการเข้าร่วมเท่าเทียมกับนักวิจัยจากยุโรป ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของผลงานขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้วิจัยที่เข้าร่วม ที่ผ่านมา องค์การและนักวิจัยไทยจำนวนประมาณ 100 กว่าองค์กร/คน ได้สมัครขอรับทุน FP7 โดยได้รับทุนจำนวน 34 องค์กร/คน สำหรับ 29 โครงการ