เคล็ดลับในการฝ่าด่านความขี้เกียจ

เคล็ดลับในการฝ่าด่านความขี้เกียจ

เคล็ดลับในการฝ่าด่านความขี้เกียจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

แม้เราจะมีความขี้เกียจฝังอยู่ในสายเลือด แต่โชคดีที่การเอาชนะความขี้เกียจขึ้นอยู่กับตัวเราเองเป็นสำคัญ ขอแนะนำเคล็ดลับในการเอาชนะความขี้เกียจดังต่อไปนี้

TIP 1 เตรียมกายให้พร้อม

ถ้าคุณรู้สึกว่านอนเท่าไรก็ไม่อิ่ม เหงื่อออกตอนกลางคืน อาหารไม่ย่อย หรือความคิดไม่แล่น ฯลฯ รู้ไว้เถิดว่า เหล่านี้คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงความอ่อนเพลียของคุณ จิลล์ โทมัส ( Jill Thomas )

นักธรรมชาติบำบัด ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Revive: How to Overcome Fatigue Naturally แนะนำวิธีง่ายๆ เพื่อสลัดความอ่อนเพลียและฟิตร่างกายให้พร้อมรับมือกับการทำกิจกรรมต่างๆ ไว้ดังนี้

1. ออกกำลังกายตอนเช้า การเดินเร็วๆ เพียง 20-40 นาทีในตอนเช้าจะช่วยป้องกันความอ่อนเพลียได้อย่างมหัศจรรย์

2. เติมพลังด้วยอาหารเช้า ควรรับประทานอาหารเช้าที่มีเส้นใยสูง โปรตีนต่ำ และไม่หวาน เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ มิฉะนั้นร่างกายจะอ่อนเพลียและรู้สึกหิวเร็วขึ้น

3. กินผักมากกว่าเนื้อ รับประทานผักผลไม้และธัญพืชให้ได้วันละ 3-5 ขีด เพื่อรักษาค่าความเป็นกรดในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างสมดุล ไม่เพลียง่ายๆ

4. ดื่มน้ำสะอาด การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานดีขึ้น คนเราควรดื่มน้ำเปล่าวันละ 1.5-2 ลิตร และควรดื่มน้ำเปล่าสองแก้วตามหลังชาหรือกาแฟหนึ่งถ้วยเสมอ

5. กินไขมันดี กรดไขมันที่จำเป็น ( EFAs ) เช่น โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ฯลฯ มีความสำคัญมากต่อเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลในสมอง และการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็น

 

TIP 2 บันได 8 ขั้นสู่การเอาชนะใจตนเอง

1. ทำด้วยใจรัก จงเป็นตัวของตัวเองและทำสิ่งที่คุณชอบ จำไว้ว่า การทำสิ่งที่ชอบจะนำมาซึ่งพลังงาน ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

2. ลงมือทำตามกฎ 15 นาที "การลงมือทำทันที "(Do It Now) คือยาพิชิตความขี้เกียจที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเบื่อหน่ายแค่ไหน ขอให้คุณลงมือทำสัก 15 นาที จำไว้ว่า ผลงานในช่วง 15 นาทีแรกอาจจะใช้ไม่ได้เลย แต่นี่จะเป็นรากฐานของความสำเร็จ

3. เปิดรับความท้าทาย ลบความคิดที่ว่า "ฉันทำไม่ได้ " ทิ้งไป เพราะความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุดของมนุษย์

4. มองภาพเล็กไว้ก่อน การมองภาพใหญ่หรือการคาดหวังเป้าหมายในระยะยาวอาจทำให้เกิดความย่อท้อได้ง่ายๆ ควรที่จะวางแผนเป็นลำดับขั้นหรือแบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ตนเองจะดีกว่า

5. ติดตามความคืบหน้า การเขียนความก้าวหน้าของคุณลงในสมุดทุกวัน ช่วยให้คุณจดจ่อกับเป้าหมาย และมองเห็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ชัดขึ้น

6. ให้คำมั่นสัญญา บอกให้เพื่อนฝูงหรือคนใกล้ตัวรับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ เพราะการให้คำมั่นสัญญาจะเป็นการผูกมัดตัวเอง อีกทั้งยังทำให้คุณรู้สึกฮึกเหิมและมีกำลังใจมากขึ้นด้วย

7. เป็นผู้ "รอ " ที่ดี เลิกหวังผลแบบทันทีทันใด แล้วหันมาอดทนเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าในอนาคต

8. ให้รางวัลตัวเอง ยอมให้ตัวเองได้หยุดพักเมื่อทำงานเล็กๆ สำเร็จ เพื่อสะสมกำลังไว้ต่อสู้ในระยะยาว


TIP 3 เพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานด้วยหลักอิทธิบาท 4

อิทธิบาท 4 คือธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ เราสามารถนำหลักธรรมแต่ละข้อมาปรับใช้ให้เข้ากับนิสัยของตัวเอง เพื่อช่วยรวบรวมสมาธิและขจัดความขี้เกียจได้

1.ฉันทะ หมายถึง ความรักในงาน รักในจุดมุ่งหมายของงาน มีความพอใจในสิ่งที่มีที่ทำ

2.วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ไม่ล้มเลิกก่อนทำสำเร็จ

3.จิตตะ หมายถึง ความมีใจจดจ่อ เอาใจใส่กับการทำงานเสมอ

4.วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลและเกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สอนไว้ว่า การทำกิจอันใดให้สำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มจากฉันทะหรือความพึงพอใจในงานนั้นก่อนเสมอไป ตัวอย่างเช่น การสร้างสมาธิ เพราะไม่ว่าสมาธิจะเกิดจากหลักธรรมข้อไหน แต่เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว หลักธรรมข้ออื่นๆ จะเกิดขึ้นหนุนเนื่องตามกันมา ฉันใดก็ดี ในกรณีที่คนสองคนทำงานอย่างเดียวกัน คนคนหนึ่งทำงานเก่งกว่า ได้รับความสุขจากการทำงานมากกว่า ในขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เก่งเท่า แต่มีความขยันหมั่นขวนขวายอยู่เสมอ วันหนึ่งเขาก็จะเก่ง จะรู้สึกมั่นใจและเกิดความรักความผูกพันกับงานไม่แพ้เพื่อนคนแรก

คนที่รักงานที่ทำจะสนใจเรื่องปลีกย่อยต่างๆ เช่น เงิน หรือของรางวัล ฯลฯ น้อยลง ตรงกันข้าม ถ้าคนไม่รักในงาน แต่หวังผลสำเร็จของงาน ก็จะหาหนทางหลบเลี่ยงเพื่อให้ตัวเองออกแรงน้อยลง หรือทุจริตเพื่อหวังเงิน วัตถุ ตำแหน่ง ฯลฯ ซึ่งตัณหาเหล่านี้คืออีกตัวการที่ทำให้คนเรา ขี้เกียจนั่นเอง

ที่มา : http://www.pattanakit.net

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook