ใบบัว​บกพัฒนาเป็นชา​เพื่​อสุขภาพ

ใบบัว​บกพัฒนาเป็นชา​เพื่​อสุขภาพ

ใบบัว​บกพัฒนาเป็นชา​เพื่​อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

นักศึกษา มทร.ธัญบุรี วิจัยใบบัวบก พัฒนาเป็นชาพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ

ถ้าพูดถึงอาการช้ำใน เรามักนึกถึงใบบัวบก นั่นเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ใบบัวบกมีสรรคุณทางยามานาน ส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ส่วนของใบและราก รสและสรรพคุณยาไทย จะมีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย โบราณว่าแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้ร้อนใน แก้โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ การบริโภคใบบัวบกภายในประเทศส่วนมากมักจะนำไปทานสด เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือคั้นน้ำ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความกังวลและความเครียดได้ เนื่องจากในใบบัวบกประกอบด้วยวิตามินบี1 บี2 และบี6 ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้นด้วย

แต่เนื่องจากใบบัวบกที่ทานสดนั้นมีความขม เฝื่อน ทำให้รับประทานได้ยาก และมีอายุการเก็บรักษาที่น้อย ซึ่งทางเลือกอื่นในการรับประทานใบบัวบกคือ การอบด้วยลมร้อน นำไปผลิตเป็นชาใบบัวบก เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานและยังคงคุณประโยชน์และสรรพคุณเหมือนเดิม ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย นางสาวกนกภรณ์ เกาะเกตุ นางสาวสุกัญญา กระตุดนาค นางสาวมุจลินท์ จันมณี จากภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมี อาจารย์พฤกษา สวาทสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ทำการศึกษาคุณภาพหลักๆ คุณค่าและสารอาหารของใบบัวบก สภาวะอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ใช้ในการอบแห้งใบบัวบก เปรียบเทียบคุณสมบัติก่อนและหลังอบ

โดยศึกษาจากกระบวนการอบแห้งโดยเครื่องเป่าลมแห้ง เพื่อจะได้นำเอาผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตที่เหมาะสมในการผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูปใบบัวบกแห้งเป็นใบบัวบกสำเร็จรูปสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย พร้อมรับประทาน ซึ่งจากการศึกษาเจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ในการทดลองใช้เครื่องเป่าลมแห้งอบแห้งที่อุณหภูมิ 75,90 และ 105 องศาเซลเซียส ที่ 3 ระดับความเร็วลมคือ 6.53 m/s,8.43 m/s และ8.80m/s ภายในระยะเวลาการอบ 75 นาที เพื่อนำมาเปรียบคุณสมบัติทางกายภาพและประสาทสัมผัสของน้ำใบบัวบกสดและชาใบบัวบกที่ได้จากการอบแห้งที่ปริมาณความชื้นน้อยกว่า 10 % wb พบว่าอุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการอบมีผลกระทบต่ออัตราการทำแห้ง และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสี ในขณะที่ความเร็วลมไม่ส่งผลกระทบต่อค่าดังกล่าวมากนัก

ในการทดสอบทางประสาทสัมผัสนั้นเลือกใช้ใบบัวบกที่อบแห้งที่ทุกอุณหภูมิ ทุกระดับความเร็วลมที่เวลา 45 นาที เปรียบเทียบกับน้ำใบบัวบกสด พบว่าที่ความเร็วลม 8.43 m/s อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส มีสีที่สวยกว่ารดชาดที่ดีกว่า และมีกลิ่นหอมมากกว่าน้ำใบบัวบกสดและชาใบบัวบกที่อบด้วยอุณหภูมิและความเร็วลมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เจ้าของผลงานกล่าวว่า พวกตนหวังว่าผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านี้จะมีผู้ที่สนใจนำเอาความรู้นี้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ภาคประชาชนต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook