กินจั๊งก์มาก สมองคุมปากไม่อยู่

กินจั๊งก์มาก สมองคุมปากไม่อยู่

กินจั๊งก์มาก สมองคุมปากไม่อยู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวที่ห่วงหุ่นไม่สวย หุ่นไม่บางพยายามอด(อาหาร) พยายามกด(อารมณ์อยาก) หลายคนมีวินัยกับตัวเองได้ดีมาก เข้มงวดกับการกินอาหารให้ถูกส่วนไม่หนักแป้งเน้นผักเน้นปลา แต่มีบ้างที่สุดสัปดาห์ออกไปกับก๊วนสนิท การกินอะไรที่หลุดจากเดิม เพื่อเติมความพึงพอใจเป็นสิ่งที่ทำได้ และทำให้ไม่อารมณ์ไม่เครียดตึงเกินไป

แต่ที่น่าตกใจและต้องบอกข่าวให้หลีกเลี่ยงกัน การกินในกลุ่มที่แหวกออกจากการควบคุมของเราหรือปล่อยปากปล่อยท้องให้กินแบบไม่อยู่ในเกณฑ์อย่างเช่นการกินฟาสต์ฟูดส์ แฮมเบอร์เกอร์ที่มีโปรโมชั่นที่แสนจะยั่วใจ หรือการกินไอศกรีมแบบเต็มเหยียด กินช็อกโกแลตแสนหวาน จะทำให้เรากินแบบโต๊ะแตกและหิวมากกว่าที่เคยไปอีกสองสามวัน

บทวิจัยของนักวิชาการออกมาแล้วว่า การกินของพวกนี้กลุ่มที่หนักไปทางนมเนย และของที่ผ่านกระบวนการดัดแปลงที่เรารู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดีต่อสุขภาพแต่ยอมตามใจปากในบางอารมณ์ ผลเสียของมันมีมากตรงที่อาหารเหล่านี้จะส่งความสัญญาณไปที่สมองเราไปปิดสัญญาณเตือนภัยที่คอยบอกเราว่าเราควรกินแค่พอเหมาะกับความต้องการ เหมือนมันไปปิดนาฬิกาที่เราตั้งเวลาไว้ทำให้ปากเรากินเข้าไปมากกว่าปกติที่เราควรจะกิน ผลลัพธ์ก็ อ้ ว น พุ ง อ อ ก นะสิคุณผู้อ่าน

นักวิจัยสรุปออกมาเป็นภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายแบบว่า ถ้าเราไปกินแฮมเบอร์เกอร์ชิ้นโตที่อุดมไปด้วยไขมันดัดแปลง นมเนย เราจะรู้สึกหิว กินมาก กินเท่าไหร่ก็ไม่พอ ติดต่อกันไปอีกสามวัน

ดอกเตอร์เดเบอร์ร่า เคล็ก จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ผู้ทำวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า ปกติร่างกายของเราสมองจะสั่งให้เรารู้สึกอิ่มเมื่อร่างกายได้อาหารพอเพียงต่อความต้องการ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอดเวลา เพราะจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง สารเคมีในสมองของบางคนเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากในช่วงเวลาสั้น ๆ

การศึกษาในอังกฤษกับชาวเมืองไบรตัน มากกว่าสองในสามของกลุ่มตัวอย่าง ดอกเตอร์ให้คำจำกัดความว่ามี จั๊งฟูดส์ยีนส์ อยู่ในตัว ซึ่งทำให้พวกเขาชอบกินอะไรที่หวาน ๆ หลงใหลได้ปลื้มกับการกินของอุดมด้วยนมเนยและลิ้นติดรสหวาน

ในกลุ่มตัวอย่างบางคนการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง(Saturatd Fats) กระบวนการทางเคมีในสมองจะถูกรบกวนทำให้ร่างกายเราไม่รู้ว่าเราหิวมากน้อยแค่ไหนและก็ไม่รู้ว่าต้องกินแค่ไหนถึงจะพอ ซึ่งฮอร์โมนตัวสำคัญนี้ชื่อว่า เลบติน(Leptin)และอินซูลิน(Insulin)

ดอกเตอร์เคล็ก บอกต่ออีกว่า การค้นพบครั้งนี้เราอยากจะให้ข้อเสนอแนะต่อพวกนักกินทั้งหลายว่า หากเรากินอาหารที่หนักไปทางไขมันสูง สมองเราเหมือนถูกทุบด้วยกรดไขมัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถได้รับฮอร์โมนเลบติน และอินซูลิน ส่งผลให้เราไม่ยั้งปาก ไม่รับรู้ว่าร่างกายเราไม่ต้องการอาหารอีกแล้ว ตอนจบก็เดาได้ว่า นางเอกของเรื่องต้องอ้วนเป็นตุ่มแน่นอน

เตือนให้ระวังกันให้มากขึ้นกับอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ใช่เพราะตัวมันเองที่มีแคลอรี่สูงไปทำให้เราอ้วนแบบตรง ๆ แต่วารสารการแพทย์ The Journal of Clinical Investigation ได้มีการวิจัยพบว่ากรดไขมันตัวหนึ่งที่เรียกว่า Palmitic เป็นตัวเก่งตัวหนึ่งที่หลอกการรับรู้ของสมองในเรื่องการกินการอิ่มของเรา และกรดไขมันพาลมิติก ตัวนี้พบได้มากใน เนย ชีส นมและเนื้อวัว

มีผู้ร้ายแล้วก็ต้องมีพระเอก ไขมันที่ดีเสมอก็คือไขมันในน้ำมันมะกอกที่มีแต่ดีกับดีต่อสุขภาพเรา

เรื่องกินแล้วอ้วนไม่อ้วน วันนี้ก้าวหน้าไปถึงคุ้ยลงไปหาที่ต้นตอของยีนส์กันแล้ว เพราะคนที่มียีนส์อ้วน ร่างกายจะโหยหิวอาหารที่มีรสหวานหรือมีไขมันมากกว่าคนปกติทั่วไป ก็ไม่น่าจะแปลกใจมาเพราะว่าใกล้ตัวเราบางคนก็ต้องขาหมูติดมันเท่านั้นหรือไม่กาแฟลาเต้ต้องมีนมข้นหวานพร้อมวิปครีมมันติดปาก เราไม่ต้องมาโทษปากกันอีกแล้ว เรามีจำเลยตัวใหม่ให้เราได้อ้างกัน

ฉันไม่ได้เป็นคนกินเยอะหรอกนะ ฉันดูแลตัวเอง กินพอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ที่อ้วนหนาไม่บางทั้งชาติแบบนี้เป็นเพราะยีนส์ของฉันมันเรียกร้องต่างหาก กรรมพันธุ์ทำให้ฉันไม่ผอม(ท่องกันไว้ติดปาก แล้วออกไปหาอะไรกินกัน)

Never-Age.com

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook