วันหยุดเขื่อนโลก

วันหยุดเขื่อนโลก

วันหยุดเขื่อนโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กำเนิดวันหยุดเขื่อนโลก

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของภาคพลเมือง ที่จะต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับโลก ในการต่อต้านหายนะจากเขื่อน ในเดือนกันยายน ปีพ.ศ.2538 การประชุมประจำปีของขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (MAB) จึงได้มีการเสนอให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนขึ้น หลังจากนั้นในแต่ละภูมิภาค ก็ได้ประชุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนจากแต่ละประเทศในภูมิภาคขึ้น สำหรับในเอเซียการประชุมได้จัดขึ้นที่เขื่อนนาร์มาดา ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ.2539 โดยมีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย

ระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม พ.ศ.2540 องค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาคประกอบด้วยขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (Movement de Atingidos por Barragens-MAB) เครือข่ายหยุดเขื่อนแห่งชิลี (Chile's Biobio Action Group) เครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network-IRN) ขบวนการปกป้องนาร์มาดาแห่งอินเดีย (India's Save the Narmada Movement) และเครือข่ายแม่น้ำแห่งยุโรป (European River Network-ERN) ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนครั้งที่ 1 ขึ้น ณ เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล การประชุมที่เกิดขึ้นทั้ง 4 วัน นอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้เรื่องเขื่อนกันแล้ว ที่ประชุมยังได้ตกลงให้มีคำประกาศคิวริทิบาเพื่อ "ยืนหยัดการมีสิทธิความเป็นมนุษย์และวิถีชีวิตของ ประชาชนผู้ได้รับ ผลกระทบจากเขื่อน" และกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันหยุดเขื่อนโลก" โดยมีคำขวัญที่จะใช้ร่วมกันว่า "น้ำเพื่อชีวิตไม่ใช่เพื่อความตาย"

อ้างอิง

http://www.seub.ksc.net/
http://thaingo.org/

ภาพประกอบ http://www.searin.org/WD.htm

ข้อมูลโดย : สำนักสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook