ม.รังสิต เปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ม.รังสิต เปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ม.รังสิต เปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ม.รังสิต เปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ผลิตบัณฑิตให้พร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หวังผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพด้านภาษา และด้านกฎหมายพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ตอบโจทย์การพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ดร.สุรพล ศรีริทยา ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คณะนิติศาสตร์ และสถาบัน Chinese Business School (CBS) มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกันบริหารจัดการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) โดยคณะนิติศาสตร์จะเป็นฝ่ายกำกับดูแลด้านการประกันมาตรฐานคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งการสอบวัดผลรายวิชา การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ส่วนสถาบัน Chinese Business School (CBS) จะเป็นฝ่ายบริหารจัดการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์หลักสูตร รวมถึงการจัดหาอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษให้มาสอนรายวิชาและเป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการสอบหัวข้อโครงร่าง/กรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) ให้กับนักศึกษา

"นับได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาวิชาการนิติศาสตร์ ในการเปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของวงการวิชานิติศาสตร์เฉพาะทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการผลิตนักกฎหมายเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ด้วย เนื่องจากการเรียนกฎหมายจำเป็นต้องเน้นการอ่านตำราเป็นหลัก ซึ่งการศึกษาด้านกฎหมายนั้นหากเป็นระดับปริญญาตรีสามารถที่จะอ่านตำราทฤษฎีต่างๆ ที่เป็นฉบับภาษาไทยได้ ในส่วนของระดับปริญญาโทนั้น จะเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเปรียบเทียบ นักศึกษาจึงจำเป็นต้องอ่านตำราที่เป็นภาษาต่างประเทศเพื่อหาข้อมูลทำการวิเคราะห์ต่างๆ การพัฒนาหลักสูตรนี้จึงเป็นการขยายโอกาสและต่อยอดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม./LL.M.) ที่สอนด้วยภาษาไทยมาแล้วหลายรุ่นโดยพัฒนาปรับเปลี่ยนเนื้อหารายวิชาให้มุ่งเน้นกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระที่ใช้ภาษาจีนและ/หรือภาษาต่างประเทศอื่นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาเสริม ย่อมก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการศึกษากฎหมายและการวิจัยทางนิติศาสตร์ในระบบพหุภาษา (Multi-lingual Legal Studies and Research) ที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้ด้านกฎหมายในเชิงลึกและสามารถนำองค์ความรู้อย่างบูรณาการไปใช้ประกอบอาชีพได้ต่อไป ด้านการเรียนการสอน ทางหลักสูตรดำเนินการเรียนการสอนเป็นภาษาจีนเป็นหลัก ซึ่งนักศึกษาที่สนใจจะต้องมีพื้นฐานทั้งภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป สำหรับนักศึกษาที่ต้องพัฒนาพื้นความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ จีนและ/หรือภาษาต่างประเทศอื่น ทางหลักสูตรมีการประสานกับทางสถาบันภาษาและคณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเปิดสอนและอบรมพิเศษให้กับนักศึกษา หรือนักศึกษาที่ยังขาดพื้นความรู้ทางด้านทฤษฎีและการวิจัยทางนิติศาสตร์ ทางหลักสูตรได้จัดรายวิชาบังคับให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียน 2 รายวิชา คือ LLM 601 วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์ประยุกต์ และ LLM 602 นิติปรัชญาและทฤษฎีกฎหมายประยุกต์ เพื่อเพิ่มพูนพื้นความรู้ทางทฤษฎีและการวิจัยให้กับนักศึกษา นอกจากนี้ หากนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะนักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยที่ยังขาดพื้นความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศต่างๆ ทางหลักสูตรจึงจัดรายวิชาบังคับให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชา LLM 603 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเปรียบเทียบ ทางหลักสูตรได้ทำการวางแผนเพื่อรองรับให้กับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาได้ซึ่งนับเป็นการเตรียมตัวในเรื่องของพื้นฐานให้กับผู้เรียนในเบื้องต้น และด้วยประสบการณ์ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ได้จัดระบบการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโทนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม./LL.M.) รวมทั้งได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ จนสามารถรับนักศึกษาเข้าเรียนแล้วหลายรุ่น นักศึกษารุ่นที่ 1 ได้สำเร็จการศึกษาแล้วตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และรุ่นต่อๆ ไป อยู่ในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระที่ใกล้จะสำเร็จการศึกษา อีกทั้งหลักสูตรก็ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาหลักสูตรต่อไปในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)" ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook