ก๊าซจากกระเพาะไดโนเสาร์ทำให้โลกร้อน

ก๊าซจากกระเพาะไดโนเสาร์ทำให้โลกร้อน

ก๊าซจากกระเพาะไดโนเสาร์ทำให้โลกร้อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์บรรษัทกระจายเสียงของอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานอ้างผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์อังกฤษระบุว่า ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่อาจเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนในยุคดึกดำบรรพ์ เนื่องจากก๊าซในกระเพาะอาหาร

นักวิทยาศาสตร์คำนวณก๊าซมีเทนที่ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่คอยาว เช่น บรอนโตซอรัสปล่อยออกสู่อากาศพบว่า ประชากรไดโนเสาร์ทั้งหมดจะปล่อยก๊าซดังกล่าวออกสู่บรรยากาศปีละ 520 ล้านตัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเมื่อ 150 ล้านปีที่แล้ว การคำนวณดังกล่าวได้เปรียบเทียบกับวัวในปัจจุบันที่ผลิตก๊าซชนิดนี้ขึ้นสู่บรรยากาศปีละ 50-100 ล้านตัน

ไดโนเสาร์ตระกูลโซโรพอด เช่น บรอนโตซอรัสเป็นสัตว์ขนาดใหญ่มากที่กินพืชเป็นอาหารและอาศัยอยู่บนพื้นดินในยุคเมโซโซอิค นักวิทยาศาสตร์สนใจสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในตัวไดโนเสาร์เหล่านี้ ซึ่งมีบทบาทการเกิดก๊าซเรือนกระจก ที่บดบังไม่ให้รังสีอินฟราเรดจากแสงอาทิตย์สามารถสะท้อนกลับขึ้นสู่อวกาศ ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ระบุว่า โลกเคยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10 องศาเซลเซียสในยุคเมโซโซอิค อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ไดโนเสาร์ไม่ใช่จำเลยเพียงฝ่ายเดียวที่ผลิตก๊าซมีเทนในยุคนั้น แต่ก๊าซดังกล่าวมาจากหลายแหล่งซึ่งเป็นไปได้ที่มีปริมาณมากกว่าปัจจุบันนี้.-สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook