ความจริงของน้ำมันปลา (Omega-3)

ความจริงของน้ำมันปลา (Omega-3)

ความจริงของน้ำมันปลา (Omega-3)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ใครๆ ต่างก็คิดว่า Omega-3 หรือที่เรียกกันว่า "น้ำมันปลา" จะส่งผลช่วยเสริมสร้างระบบเซลล์สมองและระบบประสาท เพิ่มความสามารถแก่เด็กๆ ในการช่วยเรื่องความจำที่ดี และอีกมากมาย แต่จะจริงอย่างที่โฆษณาบอกสรรพคุณกันหรือไม่นั้น ลองมาดูกันดีกว่าว่าการรับประทานน้ำมันปลาแท้จริงแล้วจะมีประโยชน์หรือผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

ในความเชื่อของโฆษณาที่บอกว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยให้พัฒนาสมองเด็กและทำให้ลูกๆ ฉลาดขึ้นนั้น แท้จริงแล้ว สิ่งที่ช่วยสร้างเสริมระบบเซลล์สมองและระบบประสาทมากจาก DHA ซึ่งสามารถเพิ่มความสามารถในการสื่อสารของเด็กทารกจนถึงอายุ 5 ปีเท่านั้นซึ่งเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะช่วยให้กินแล้วจะรู้สึกฉลาดขึ้นมากได้ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการได้รับคุณค่าจากสารอาหารที่ครบถ้วนและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้

สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ที่คิดว่าการกินน้ำมันปลาสม่ำเสมอใช้ในกลุ่มคนที่นำไปช่วยลดไตรกลีเซอไรด์นั้นสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับการได้รับน้ำปลาไปช่วยเพิ่มระดับของ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันที่ดีได้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ยังมีผลไปเพิ่มไขมันตัวร้าย แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL) ให้สูงตามมาด้วยนะซิ การกินน้ำมันปลาในปริมาณมากๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะไข้มันในเลือดสูง

แม้กระทั่งผู้ที่มีความเชื่อว่าน้ำมันปลาจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน แต่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ การกินน้ำมันปลาจึงอยู่ในการควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการกินน้ำมันปลาที่อาจจะส่งผลต่อคุณได้ คือ อาจมีเลือดออก เพราะน้ำมันปลาสามารถลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด จึงส่งผลดีในกรณีโรคหัวใจทำให้เลือดใสขึ้น แต่หากเกิดบาดแผลเลือดอาจจะหยุดได้ยาก นอกจากนี้การกินน้ำมันปลาที่มี Omega-3 มากเกิน 3 กรัมต่อวัน เสี่ยงต่อคนไข้ที่มีระบบเลือดอ่อนแอ เส้นเลือดในสมองตีบ อาจจะมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

หากคุณเป็นคนที่มีความดันต่ำ การรับประทานยาลดความดันควบคู่ไปด้วยควรจะดูแลในผลที่ตามมาของน้ำมันปลาด้วยซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะความดันต่ำ ที่สำคัญการกินน้ำมันปลาอาจจะทำให้คุณได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในปลา ในบางน่านน้ำที่จับปลาเหล่านี้อาจจะมีสารพิษ ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์กินเข้าไปมากๆ ก็อาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook