7 วิธีอ่านหนังสือ อ่านอย่างไรให้ถึงฝัน

7 วิธีอ่านหนังสือ อ่านอย่างไรให้ถึงฝัน

7 วิธีอ่านหนังสือ อ่านอย่างไรให้ถึงฝัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

วิธีการอ่านหนังสือคงจะไม่มีความหมายหากเราไม่รู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราจะต้อง พบในการสอบ พี่นัทยาได้ให้ความรู้สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2556 ว่า "การสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 หรือที่เราเรียกว่าระบบ Admission จะมีการสอบวัดระดับที่เรียกว่า GAT และ PAT เข้ามาเต็มรูปแบบ โดยในปี 2553 นั้นจะมีการใช้คะแนน GPAX(Grade Point Average) หรือเกรดเฉลี่ยรวม 6 ภาคเรียน (ม.4, ม.5, ม.6) จำนวน 20% คะแนน O-NET (Ordinary National Educational Test) 8 กลุ่มสาระ 30% คะแนน GAT (General Aptitude Test) ข้อสอบวัดศักยภาพ จำนวน 10% - 50% และคะแนนPAT (Professional and academic Aptitude Test) ข้อสอบความถนัดทางวิชาการ จำนวน 0% - 40% โดย เราจะทราบคะแนนก่อนที่จะเลือกคณะและมหาวิทยาลัยที่เข้าเรียน ซึ่งต่างจากการสอบเข้าสมัยก่อนที่จะต้องเลือกคณะและมหาวิทยาลัยก่อน แล้วจึงทราบผลคะแนนทีหลัง"


เมื่อ "รู้เขา" แล้วต้อง "รู้เรา" ด้วย จึงจะสามารถพิชิตการสอบและก้าวไปให้ถึงฝัน "การ สอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีต่อ ๆ ไป น้อง ๆ จะต้องเลือกทางเดินในอนาคตตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น การเลือกสายวิชาก่อนจะขึ้นมัธยมปลายและการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับความรู้ ทั่วไปเป็นสิ่งจำเป็นมาก เนื่องจากระบบ Admission การสอบ O-NET วิชาภาษาไทยและสังคมนั้นจะนำคะแนนไปใช้เข้าเรียนคณะต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 5% ดัง นั้นคนที่ต้องการเรียนสาย ศิลป์-สังคม จะลำบากเนื่องจากไม่สามารถใช้คะแนนสังคมเป็นคะแนนหลักได้ สายวิชาที่แนะนำคือ ศิลป์-คำนวณ และ วิทย์-คณิต ซึ่งเป็นสองสายวิชาที่ได้รับความนิยมกันมานาน แต่การเลือกสายตามเพื่อน หรือตามคำแนะนำจากคนอื่น ๆ พี่ไม่แนะนำ เพราะมีพ่อ-แม่หลายคนที่พยายามให้ลูกเรียน วิทย์-คณิต ด้วยเหตุผลที่ว่ามีทางเลือกในรั้วมหาวิทยาลัยได้มากกว่า แต่ปัจจุบันมีบางคณะ เช่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เด็กมัธยมสายวิทย์-คณิต จะสามารถเลือกเรียนได้เพียงคณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์เท่านั้น ดังนั้นเราควรจะหาข้อมูลและศึกษาว่า คณะที่เราต้องการจะเข้าเรียนนั้นจะใช้วิชาอะไรในการสอบ เรียนเกี่ยวกับอะไร เป็นต้น" จากคำแนะนำของพี่นัทยาทำให้เราต้องหันกลับมามองตัวเองว่า "เรา" ชอบในสิ่งใด เราถนัดในด้านใด มากกว่าที่จะเชื่อและทำตามเพียงอย่างเดียว

ทำความเข้าใจกับ "คู่ต่อสู้" และ "ตัวเราเอง" กันพอสมควรแล้ว พี่ นัทยาจึงเข้าประเด็นเรื่องเทคนิคการอ่านที่พี่คนเก่งออกตัวว่า ไม่ใช่เทคนิคที่แปลกใหม่และพิสดารอะไร แต่เป็นประสบการณ์ที่พี่นัทยาได้เรียนรู้และทดลองมาในระหว่างอ่านหนังสือ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย

1. อ่านให้ลึก
การ อ่านของเด็ก ๆ มักจะอ่านเยอะ อ่านกว้าง แต่ไม่ลึก ทำให้ไม่เข้าใจถึงแก่นของเรื่องที่อ่านได้อย่างชัดเจน ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนวิธีการอ่านโดยการทำความเข้าใจกับแก่นของเรื่องที่ อ่าน มากกว่าที่จะอ่านในปริมาณที่มากและรู้เพียงผิวเผิน

2. แปลงร่างหนังสือ
การอ่านหนังสือในแบบเดิมทำให้เกิดอาการเบื่อง่าย การเปลี่ยนบทเรียนตัวอักษรในหนังสือให้กลายเป็นสื่อใหม่ ๆ เช่น เป็นหนังสือเสียง ด้วยการอัดเสียงของตัวเองหรือเพื่อนเป็นข้อความตามบทเรียน หรือการทำเป็นแผนที่ความจำ (Mind Map) เป็นต้น

3. หลีกเลี่ยงเทคโนโลยี
โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และวิทยุ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการอ่านหนังสือ หลายคนมักคิดไปเองว่าเราสามารถฟังเพลง ดูโทรทัศน์ คุยโทรศัพท์ หรือนั่งแชทกับเพื่อนไปพร้อม ๆ กับการอ่านหนังสือได้ แต่ความจริงเมื่อเราทำหลาย ๆ สิ่งพร้อมกัน สมาธิที่ควรมีให้กับการอ่านจะถูกแบ่งไปทำอย่างอื่นด้วย ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่อ่านได้น้อยลง

4. อย่ายุ่งกับ "คาง"
"โชค อิมิเน้นแอร์ เป็นรองก่อนฟันศอกเข้าปลายคาง เอาชนะทีเคโอ เพชรอัศวิน ซีทรานเฟอร์รี่ ชนิดทีเดียวหลับสนิทไปในยกที่ 4" พาดหัวข่าวเด็ดนี้คงเป็นคำตอบว่า ทำไมจึงไม่ควรไปยุ่งกับ "คาง" เนื่องจากประสาทสัมผัสบริเวณคางหากมีการ กดทับ สัมผัส หรือนวด เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง และหากถูกกระแทกแรง ๆ อาจถึงขั้นสลบแบบนักมวยได้เลยทีเดียว ดังนั้นเมื่ออ่านหนังสือควรหลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ, นั่งเท้าคาง หรือเอามือนวดบริเวณปลายคาง เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับและการกระตุ้นประสาทสั่งการ "หลับ" ของร่างกายเราเอง

5. ปรับแสงให้เหมาะสม
จากการวิจัยพบว่า ความสว่างและมืดของไฟมีผลถึง 75% ต่อ การอ่านหนังสือ ไฟที่สลัวเกินไปจะทำให้รูม่านตาต้องขยายเพิ่มมากขึ้นเพื่อรับแสงและไฟที่ สว่างมากเกินไปทำให้รูม่ายตาหรี่เล็กกว่าปกติ หรือบางครั้งต้องหยีตาลงเพื่ออ่านหนังสือ 2 ปัจจัยนี้ทำให้กล้ามเนื้อและประสาทตาเกิดอาการล้า จนไม่สามารถอ่านหนังสือได้นาน มีผลทำให้ง่วง หรือปวดตา (เนื่องจากสายตาต้องการพักผ่อน) ดังนั้นควรปรับแสง หรืออ่านหนังสือในห้องที่มีแสงพอเหมาะจะดีที่สุด

6. อุปกรณ์เสริมไม่ต้อง!
อุปกรณ์เสริมในที่นี้หมายถึง ขนมและของกินทุกประเภท โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนประกอบ 70 - 80% เป็นแป้งและโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีการเผาผลาญก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เมื่อร่างกายรับ CO2 เข้าไปในปริมาณมาก (จากอากาศที่หายใจและการเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์) จะก่อให้เกิดอาการง่วงนอนและหลับได้ เปรียบได้กับคำที่ว่า "หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน"

7. เคล็ดเด็ด เผ็ดพริกขี้หนู
แม้ว่าจะไม่ผ่านการรับรองผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่พี่นัทยาขอยืนยันกับกลเม็ดแก้ง่วงวิธีนี้ นั่นคือ "เคี้ยวพริก""รับรองว่าไม่มีอันตราย ไม่มีผลข้างเคียง แถมมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะพริกเป็นสมุนไพรไทยอย่างหนึ่งเช่นกัน" พี่นัทยายืนยันหนักแน่น เพียงปลายพริกเล็ก ๆ 1 คำ พร้อมน้ำอุ่น 1 แก้ว ความเผ็ดร้อนจะกระจายไปทั่วทั้งปาก เปลือกตาที่เคยปรือ ๆ จะกลับมาสดชื่นดังเดิมแน่นอน

Credit พี่นัทยา เพ็ชรวัฒนา ผู้จัดรายการวิทยุจุฬาฯ (CU Radio)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook