ทรง คืออะไร แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ตัวอย่างประโยค

ผลการค้นหาคำศัพท์

ทรง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

ทรง

  • [v.] keep one
  • s balance
  • [n.] form
  • [syn.] รูปร่าง,แบบ
  • [v.] have
  • [syn.] มี
  • [v.] sustain
  • [syn.] รองรับ

ตัวอย่างประโยคเฮลิคอปเตอร์ทรงตัวอยู่ในอากาศได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกทั้งสองข้าง

หมายเหตุตั้งอยู่ได้

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร

ทรง

  • an element used to form terms of reverence when addressing or speakingof royalty or diety. When it is used before a noun, ทรง has the force of a verb,the term becoming an intransitive verb (which and also be used as an adjective)with a meaning appropriateto the object , as

คำอ่านซง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

ทรง

  • [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย) แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว
  • จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก
  • รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
  • มี เช่น ทรงคุณวุฒิ
  • คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง
  • ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศรทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตรทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ
  • ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์
  • ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึงพระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์หมายถึง พระพรหม
  • ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ
  • ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ทรง

  • [ซง] น. รูปร่าง. ก. ดำรง
  • จำ
  • คงอยู่
  • (รศ.) ใช้สำหรับเจ้านายในการกระทำกิริยาต่างๆ เช่น ทรงศีล คือ รับศีล ทรงธรรม คือ ฟังธรรม ทรงม้า คือ ขี่ม้า ฯลฯ
  • คำกริยาใดไม่เป็นราชาศัพท์ ถ้าจะให้เป็นราชาศัพท์ต้องใช้ ทรง นำหน้า เช่น ทรงเห็น ทรงฟัง ทรงขอบใจ เป็นต้น.
กำลังโหลดข้อมูล