ชื่อสามัญภาษาไทยตะเพียน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCOMMON SILVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Barbodes gonionotus
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านเมืองเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปลาตะเพียนมีลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กอยู่หน้าสุด ลักษณะแตกต่างจากปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือตะเพียนขาวมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นจำนวน 6 ก้าน ชนิดอื่น ๆ มี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหลังมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวเงิน ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ครีบอื่นๆ สีซีดจาง เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำเร็ว เมื่อตกใจจะกระโดดสูงมาก
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบตะเพียนพบตามแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งทั้งในภาคกลางภาคเหนือและอีสาน
อาหารตะเพียนกินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย แพลงก์ตอน ไรน้ำ
ขนาดความยาวประมาณ 8-36 ซ.ม.
รูปภาพ