ทอง คืออะไร แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ตัวอย่างประโยค

ผลการค้นหาคำศัพท์

ทอง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

ทอง

  • [n.] gold
  • [syn.] ทองคำ,กาญจนา,กนก,สุวรรณ,มาศ

ตัวอย่างประโยคบ่อทองที่ชาวบ้านขุดพบ เป็นทองที่มีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างต่ำ

หมายเหตุธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร

ทอง

  • [n. adj.] any more or less yellow metal, namely, gold = ทองคำ,platinum = ทองคำขาว, white metal or white gold = ทองขาว, copper = ทองแดง,brass = ทองเหลือง,bronze = ทองสัมฤทธิ์
  • [n. adj.] gold, that is, made of gold
  • [n. adj.] golden, that is, like gold

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

ทอง

  • น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม เรียกเต็มว่า ทองคํา
  • เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสีเป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม.
  • น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิดB. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด ทองธรรมชาติ ก็เรียก พายัพเรียก ทองกวาว อีสานเรียก จาน
  • ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
  • น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่าทองย่อน ทองย้อย.

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ทอง

  • น. ธาตุแท้อย่างหนึ่ง สีเหลืองสุก เนื้อเหนียว ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ, ทองคำ ก็เรียก
  • ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใบแดงด่าง ๆ คล้ายต้นเงิน
  • ชื่อขนมชนิดหนึ่ง รูปเป็นวงกลมมีน้ำตาลหยอดข้างบน
  • เป็นคำกลางสำหรับเรียกแร่บางชนิดที่หลอมได้ เช่น ทองเหลือง ทองแดง.

ความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ทอง

ชื่อสามัญภาษาไทยทอง

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGOLD FISH

ชื่อวิทยาศาสตร์Carassius auratus

ลักษณะทั่วไปลักษณะของทอง เป็นปลาน้ำจืดที่สวยงาม มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามพันธุ์ ซึ่งมีประมาณร้อยกว่าพันธุ์ เช่น พันธุ์หัวสิงโต ฮอลันดา ตาโปน เล่ห์ ตากลับ เป็นต้น ปลาทองพันธุ์หัวสิงโตถือกันว่าเป็นราชาแห่งปลาทอง จีนเป็นชาติแรกที่เพาะและผสมปลาทองจากต้นตระกูลซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาวในยุคแรกนิยมเลี้ยงกันเฉพาะในหมู่ขุนนางและในราชสำนักเท่านั้น ต่อมาญี่ปุ่นได้นำปลาทองไปเลี้ยงและผสม คัดเลือกพันธุ์เป็นพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย สำหรับประเทศไทยได้นำปลาทองเข้ามาเลี้ยงตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบทองเป็นปลามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน

อาหารทองกินลูกน้ำ ไรน้ำ และตัวอ่อนแมลง

ขนาดมีความยาวแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีความยาวตั้งแต่ 4-45 ซ.ม.

รูปภาพ

กำลังโหลดข้อมูล