ชื่อสามัญภาษาไทยกุ้งหลวง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGIANT FRESHWATER PRAWN
ชื่อวิทยาศาสตร์Macrobrahim roesenbergii
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของกุ้งหลวง เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง ส่วนของหัวและอกอยู่รวมกันมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าลำตัว ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเป็นสินค้าขาออก ทั้งนี้ เพราะชาวต่างประเทศไม่นิยมรับประทานหัวกุ้ง ลักษณะสำคัญของกุ้งชนิดนี้คือ บนเปลือกกุ้งบริเวณหัวส่วนหน้าใกล้กับเบ้านัยน์ตามีหนามเล็ก ๆ ด้านละ 2 อัน กรีค่อนข้างยาว แบนด้านข้าง โดนกรีหนาและนูน ตรงกลางโค้งแอ่นลง ส่วนปลายงอนขึ้นมีหนามคล้ายฟันเลื่อยทั้งด้านบนและล่าง กุ้งก้ามกรามมีลักษณะพิเศษตามชื่อของมัน คือ เพศผู้นั้นจะมีขาเดินคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่และยาวกว่าคู่อื่น ๆ มาก ซึ่งเราเรียกว่า ก้าม
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบกุ้งหลวงปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ฯลฯ แต่โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลองแทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย
อาหารกุ้งหลวงกินไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลงน้ำ ลูกไร ซากสัตว์และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง
ขนาดความยาวประมาณ 13-31 ซ.ม.
รูปภาพ