กุ้งแขกดำ คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมข้อมูลภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ผลการค้นหาคำศัพท์

กุ้งแขกดำ

พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทยความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

กุ้งแขกดำ

ชื่อสามัญภาษาไทยกุ้งแขกดำ

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGIANT TIGER PRAWN

ชื่อวิทยาศาสตร์Penaeus monodon

ชื่อไทยอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปลักษณะของกุ้งแขกดำ คือกุ้งกุลาดำมีหนวดลายจางมากไม่เด่นชัด แก้มอยู่ในแนวระนาบ และสันที่อยู่สองข้างโคนกรี ยาวเกือบถึงฟันกรีอันหลังสุด ซึ่งมีสันแนวข้างเฉียงชี้ไปทางนัยน์ตา นอกจากนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เด่นชัดคือ ลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มมีลายพาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย และสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและขาว่ายน้ำมีขนสีแดง

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบกุ้งแขกดำมีอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย แต่จะพบมากบริเวณเกาะช้าง บริเวณนอกฝั่งจังหวัดชุมพร ถึงนครศรีธรรมราชและทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอันดามัน) บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ต และระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโค

อาหารกุ้งแขกดำกินแพลงก์ตอน หนอน แมลงน้ำ

ขนาดความยาวประมาณ 18-25 ซ.ม.

รูปภาพ

กำลังโหลดข้อมูล