ฉลามหนูหัวแหลม คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมข้อมูลภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ผลการค้นหาคำศัพท์

ฉลามหนูหัวแหลม

พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทยความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ฉลามหนูหัวแหลม

ชื่อสามัญภาษาไทยฉลามหนูหัวแหลม

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWALBEEHM'S SHARP-NOSED SHARK

ชื่อวิทยาศาสตร์Rhizoprionodon acutus

ชื่อไทยอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปลักษณะของฉลามหนูหัวแหลม ในโลกน้ำมีปลาฉลามอยู่ประมาณ 220 ชนิด ครึ่งหนึ่งเป็นชนิดที่หายากหรือแทบจะเรียกว่าหาไม่ได้ ที่พบทั่วไปมีเพียง 12 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สำหรับในเขตน่านน้ำไทยมีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ส่วนมากจะเป็นฉลามขนาดเล็กและไม่ค่อยดุร้าย มีเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นที่ดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ชนิดแรกคือ ฉลามเสือ ที่ชาวประมงเรียกว่า ตะเพียนทอง อีกชนิดหนึ่งก็คือฉลามหัวค้อน ซึ่งไม่ดุเท่าตะเพียนทอง ฉลามเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วกว่า 40 กม. ต่อ ชม. จมูกไวต่อการสัมผัสกลิ่นเป็นพิเศษ เพราะหนึ่งในส่วนสามสมองทั้งหมดจะเป็นส่วนของมันสมองสำหรับสัมผัสกลิ่นโดยเฉพาะในขณะที่ว่ายน้ำ น้ำจะไหลผ่านท่อจมูกลงไป ถ้ามีเลือดของสัตว์อยู่ในน้ำเพียง 1 ส่วนใน 100 ล้านส่วนฉลามจะได้กลิ่นทันที ฟันของมันเป็นสารพิเศษต่างกว่าฟันของสัตว์อื่น แข็งแกร่งไม่มีการผุกร่อน ถ้าซี่ไหนหักจะมีฟันใหม่งอกขึ้นมาแทนที่ ฟันแต่ละซี่จะคมกริบเหมือนใบมีดโกน ขอบฟันหยักเป็นเลื่อย มีฟัน 5 แถวที่เห็น ๆ จะมี 3 แถว อีก 2 แถวซ่อนอยู่ใต้เพดานปาก นอกจากฟันที่คมแล้ว มันยังมีกรามซึ่งมีเรี่ยวแรงอย่างมหาศาล นักวิทยาศาสตร์พบว่ากรามของฉลามที่มีความยาว 2-3 เมตร จะมีแรงขบ 3 ตันต่อตารางเซนติเมตร ฉลามซึ่งดูร้ายที่สุด คือ ฉลามขาว พบในน่านน้ำของประเทศออสเตรเลีย สำหรับฉลามหนูใหญ่เป็นฉลามขนาดเล็กไม่ค่อยดุร้าย มีรูปร่างยาวเพรียวคล้ายกระสวย ความยาวของลำตัวมาก หัวแบนลาดลงไปทางด้านหน้า จะงอยปากยาว ฟันที่ตาค่อนข้างโต มีเยื่อหุ้มตา ปากอยู่ด้านล่าง รูปร่างโค้งคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว มีฟันคม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบเรียบ ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดใหญ่รูปสามเหลี่ยม อันที่สองมีขนาดเล็กเกล็ดมีฐานรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โผล่เฉพาะปลายที่เป็นหนามแข็งและคม เมื่อลูบจะสากมือ ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกับกระโดงหลัง ครีบหางมีขนาดใหญ่ และแยกเป็น 2 ส่วน อันบนมีขนาดใหญ่กว่าอันล่างมาก พื้นลำตัวสีเทาเข้ม ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ สีดำ

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบฉลามหนูหัวแหลมพบในอ่าวไทยบริเวณพื้นทะเลที่เป็นทราย หรือเป็นโคลนแถบชายฝั่งทะเลตื้น ๆ

อาหารฉลามหนูหัวแหลมกินสัตว์น้ำทุกชนิด

ขนาดความยาวประมาณ 35-95 ซ.ม.

รูปภาพ

ดูคำอื่นๆในหมวด ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

กำลังโหลดข้อมูล