ชื่อสามัญภาษาไทยตาแดง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษINDIAN RIVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Chylocheilichthys apogon
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของตาแดง เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวค่อนข้างแบน เกล็ดขนาดใหญ่ หัวใหญ่ จะงอยปากยาวและแหลม ไม่มีหนวด นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้จมูก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด กระโดงหลังสูงมีก้านเดี่ยวเป็นหนามแข็ง และขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางแยกเป็นแฉกลึก ลำตัวส่วนบนสีเขียวอมเหลือง ด้านท้องสีเหลืองนวล โคนหางมีจุดดำขนาดใหญ่ข้างละจุด ครีบต่าง ๆ สีส้ม นัยน์ตาแดง
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบตาแดงพบแพร่กระจายทั่วไปในแม่น้ำ คลอง หนองและบึงตามภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทางภาคกลางเรียกว่า ปลาหนามหลัง ไส้ตัน ตะเพียนทราย ในภาคอีสานบางจังหวัดเรียกว่า แม่กระแด้ง ไส้ตัน พบทางภาคใต้มีชื่อว่า หญ้า ตาแดง
อาหารตาแดงกินหอยน้ำจืดขนาดเล็ก ลูกปลาและพืชน้ำ
ขนาดความยาวประมาณ 7-15 ซ.ม.
รูปภาพ