ชื่อสามัญภาษาไทยบู่ทอง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษMARBLED SLEEPY GOBY
ชื่อวิทยาศาสตร์Oxyeleotris marmoratus
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของบู่ทอง ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหางค่อนข้างแบน ปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย นัยน์ตาเล็กโปนกลมตั้งอยู่ค่อนไปทางบริเวณส่วนหัว ถัดริมปากเล็กน้อยมีรูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาติดกับร่องเหนือริมปาก ครีบหลังมีสองอัน ครีบหางกลมมน เคลื่อนไหวช้าในระดับกลางน้ำ แต่จะปราดเปรียวเมื่ออยู่บนพื้นดินก้นแหล่งน้ำและสามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้อย่างกระทันหัน ตามปกติแล้วในตอนกลางวันปลาบู่จะทรงตัวนิ่งไม่เคลื่อนไหว ทำให้บางท่านเข้าใจว่าปลาหลับ โดยปกติปลาบู่ทรายจะตัวอยู่ในพื้นโคลนหรือพื้นทราย
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบบู่ทองพบแพร่กระจายอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังที่แขวนลอยอยู่ในแม่น้ำทางแถบจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์และอยุธยา
อาหารบู่ทองกินลูกกุ้ง ลูกปลาและหอยเป็นปลาที่กินจุ สามารถกินอาหารหนักเท่ากับน้ำหนักของมันต่อวันและทุก ๆ วัน
ขนาดพบทั่วไปยาว 20-30 ซ.ม. แต่ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 60 ซ.ม. จัดว่าเป็นปลาบู่ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
รูปภาพ