ชื่อสามัญภาษาไทยพะยูน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษDUGONG
ชื่อวิทยาศาสตร์Dugong dugong
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของพะยูน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในอันดับ Sirenia ที่ใกล้ชิดกับช้าง ใบหน้าคล้ายหมู แต่ไม่มีใบหู หัวเล็กไม่มีขนที่หัว คอใหญ่ ตาเล็ก ตัวผู้มีฟันหน้าเป็นงาสั้น 1 คู่ มีฟันสำหรับบดเคี้ยวเอื้อง ติดกันเป็นพืด มีหนวดหรอมแหรม ตามตัวมีขนประปรายในตัวเกิดใหม่ ริมฝีปากบนเป็นแผ่นเนื้อหนาใหญ่และเหลี่ยมทู่ ๆ มีช่องจมูกอยู่สูงขึ้นมา ขาคู่หน้าสั้นเปลี่ยนแปลงไปคล้ายครีบ ดูเผิน ๆ มีลักษณะมือห้อย ไม่มีขาคู่หลัง เพราะไม่ได้ใช้ ในตัวเมียมีนมขนาดเท่านิ้วก้อยยาวประมาณ 20 ซม. อยู่ 2 เต้า อยู่ถัดลงมาจากขาคู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำและเขียวคล้ำ ส่วนท้องสีดำนวลจนถึงเทาปนขาว ครีบหางและขาคู่หน้าสีเทาปนดำ หนวดสีขาวขนที่ลำตัวสีเทาดำ
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบพะยูนใกล้สูญพันธุ์ พบเป็นฝูงเฉพาะที่เกาะลิบง ตรัง พบน้อยมากในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหารพะยูนกินหญ้าทะเลต่าง ๆ
ขนาดความยาวประมาณ 2-3 เมตร
รูปภาพ