ชื่อสามัญภาษาไทยยี่สก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษJULLIEN'S GOLDEN-PRICE CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์Probarbus jullieni
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของยี่สก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่เดิมเชื่อกันว่าถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาชนิดนี้มีเฉพาะแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก และแควน้อย จากการสำรวจพบว่า มีปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำอื่นอีก แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น พบในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายเรียกว่า ปลาเอิน ที่จังหวัดเลย เรียกว่า ปลาชะเอิน ปลายี่สกมีรูปร่างคล้ายกับปลาตะเพียนขาวแต่มีลำตัวยาวกว่า หัวค่อนข้างโตมีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้อยู่คล้องลงในใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดงครีบทุกครีบสีชมพู
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบยี่สกอยู่ตามแม่น้ำที่พื้นเป็นกรวด หินหรือทรายที่จังหวัดหนองคาย ในฤดูวางไข่จะรวมอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30-40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางแม่น้ำโขง ก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะไล่กันเสียงดัง ชาวบ้านเรียกว่า \"ปลาบ้อน\" การผสมพันธุ์เรียกว่า ปลาถือกัน ฤดูวางไข่ต
อาหารยี่สกกินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน
ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กก.
รูปภาพ