สะกาง คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมข้อมูลภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ผลการค้นหาคำศัพท์

สะกาง

พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทยความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

สะกาง

ชื่อสามัญภาษาไทยสะกาง

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSMITH'S BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์Puntioplites protozsron

ชื่อไทยอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปลักษณะของสะกาง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่ต่างสกุลกัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียนขาว ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวและลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านหลังสีคล้ำ แต่ด้านท้องเป็นสีเงิน ลักษณะสำคัญที่แตกต่างกว่าปลาสกุลปลาตะเพียนคือ ก้านครีบเดี่ยวอันสุดท้ายของครีบก้นมีขนาดใหญ่แข็ง และขอบด้านในหยักคล้ายฟันเลื่อย กระโดงหลังของปลากระมังที่พบในแม่น้ำโขง จะมีความสูงสะดุดตากว่าแหล่งน้ำอื่น ๆ

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบสะกางในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม ที่หนองคายและนครพนม เรียก สะกา

อาหารสะกางกินพืชพันธุ์ไม้น้ำอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย

ขนาดความยาวประมาณ 13-15 ซ.ม. และขนาดใหญ่ที่มีผู้พบยาวประมาณ 22-22.5 ซ.ม.

รูปภาพ

ดูคำอื่นๆในหมวด ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ความหมายของ สะกาง จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

สะกาง

  • น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้
  • เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง
  • ตะกาง ก็เรียก.
(อ่านต่อ...)

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

สะกาง

  • น. เหยื่อ, เครื่องล่อ
  • เครื่องดักจระเข้ มีเงี่ยง ๒ ข้าง ใช้ผูกเหยื่อลอยน้ำไว้.
(อ่านต่อ...)
กำลังโหลดข้อมูล