หนามหลัง คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมข้อมูลภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ผลการค้นหาคำศัพท์

หนามหลัง

พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทยความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

หนามหลัง

ชื่อสามัญภาษาไทยหนามหลัง

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษINDIAN RIVER BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์Chylocheilichthys apogon

ชื่อไทยอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปลักษณะของหนามหลัง เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวค่อนข้างแบน เกล็ดขนาดใหญ่ หัวใหญ่ จะงอยปากยาวและแหลม ไม่มีหนวด นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้จมูก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด กระโดงหลังสูงมีก้านเดี่ยวเป็นหนามแข็ง และขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางแยกเป็นแฉกลึก ลำตัวส่วนบนสีเขียวอมเหลือง ด้านท้องสีเหลืองนวล โคนหางมีจุดดำขนาดใหญ่ข้างละจุด ครีบต่าง ๆ สีส้ม นัยน์ตาแดง

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบหนามหลังพบแพร่กระจายทั่วไปในแม่น้ำ คลอง หนองและบึงตามภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทางภาคกลางเรียกว่า ปลาหนามหลัง ไส้ตัน ตะเพียนทราย ในภาคอีสานบางจังหวัดเรียกว่า แม่กระแด้ง ไส้ตัน พบทางภาคใต้มีชื่อว่า หญ้า ตาแดง

อาหารหนามหลังกินหอยน้ำจืดขนาดเล็ก ลูกปลาและพืชน้ำ

ขนาดความยาวประมาณ 7-15 ซ.ม.

รูปภาพ

ความหมายของ หนามหลัง จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ
กำลังโหลดข้อมูล